กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

6 วิธีช่วยควบคุมระดับคอเลสเตอรอลได้อย่างเป็นธรรมชาติ

เผยแพร่ครั้งแรก 5 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
6 วิธีช่วยควบคุมระดับคอเลสเตอรอลได้อย่างเป็นธรรมชาติ

คอเลสเตอรอลเป็นไขมันชนิดหนึ่งที่ร่างกายจำเป็นต้องใช้สำหรับการทำงานของระบบหัวใจและหลอดเลือด การทำงานของตับ และการหลั่งฮอร์โมน แต่หากมีคอเลสเตอรอลสะสมอยู่ภายในร่างกายมากเกินไป มันกลับเป็นอันตรายต่อสุขภาพของเราแทน อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่ากังวลก็คือ ร่างกายมักจะไม่แสดงอาการที่เด่นชัดออกมาให้เราเห็น สุดท้ายแล้วคอเลสเตอรอลก็จะสะสมและก่อตัวเป็นคราบพลัคเกาะตามผนังหลอดเลือดแดง และทำให้เกิดการอุดตัน ส่งผลให้ระบบไหลเวียนเลือดมีปัญหา และเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ ด้วยเหตุนี้การใส่ใจกับปัญหาดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก คุณสามารถควบคุมระดับคอเลสเตอรอลโดยใช้วิธีดังนี้

1. ออกกำลังกายเป็นประจำ

การออกกำลังกายจนเป็นกิจวัตรถือเป็นหนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดที่สามารถช่วยควบคุมระดับคอเลสเตอรอลในคนที่ตกอยู่ในภาวะคอเลสเตอรอลสูง การออกกำลังกายจะช่วยกำจัดไขมันที่สะสมอยู่ภายในหลอดเลือดแดง  ในขณะเดียวกันมันก็ช่วยสังเคราะห์ไขมันชนิดดี และลดเปอร์เซ็นต์ของไขมันในร่างกาย ทั้งนี้คุณควรสละเวลาให้กับการออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาที เป็นเวลา 3 ครั้งต่อสัปดาห์

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
สูตรอาหารเสริม รวมสารสำคัญ 9 ชนิด สำหรับ เบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูง ความดัน ไขมัน

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

2. จำกัดการทานอาหารที่มีคอเลสเตอรอล

แม้ว่าตับจะมีหน้าที่สร้างคอเลสเตอรอล แต่เราก็ยังสามารถได้รับไขมันชนิดนี้จากการทานอาหาร ดังนั้นมันจึงเป็นเรื่องสำคัญที่คุณควรรู้ว่ามีอาหารชนิดใดที่มีคอเลสเตอรอลและจำกัดการทานให้เหมาะสม สำหรับอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง เช่น ไส้กรอก อาหารทอด อาหารชนิดใดๆ ก็ตามที่มีไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์  ฯลฯ รวมถึงหลีกเลี่ยงการทำอาหารโดยใช้น้ำมันพืชที่มีการเติมออกซิเจนลงไป

3. ทานอาหารที่มีกรดไขมันโอเมกา 3

กรดไขมันโอเมกา 3 เป็นไขมันชนิดหนึ่งที่ช่วยควบคุม และกำจัดคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีออกจากหลอดเลือดแดง แต่กลับไปเพิ่มคอเลสเตอรอลชนิดดีแทน และที่สำคัญคือ กรดไขมันโอเมกา 3 ช่วยรักษาระดับของพลังงานในร่างกายให้เหมาะสมและต่อสู้กับการอักเสบ อย่างไรก็ตาม ร่างกายของเราไม่สามารถผลิตกรดไขมันโอเมกา 3 ได้ แต่เราสามารถพบสารอาหารชนิดนี้ได้ในอาหารหลายชนิด ตัวอย่างเช่น ปลาน้ำเย็น เมล็ดแฟล็กซ์ เมล็ดเจีย งา เมล็ดดอกทานตะวัน ถั่ว ปลายข้าวสาลี อาหารทะเล บรอกโคลี กะหล่ำปลี ฯลฯ

4. ทานอาหารที่มีไฟเบอร์

ไฟเบอร์ที่ละลายน้ำได้ถือเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อการลดการดูดซึมของคอเลสเตอรอลในลำไส้ และลดการสะสมของคอเลสเตอรอลในเลือด นอกจากไฟเบอร์จะมีบทบาทสำคัญต่อกระบวนการย่อยอาหารแล้ว มันก็ยังจำเป็นต่อการทำงานของหัวใจและระบบหมุนเวียนโลหิต สำหรับอาหารที่พบไฟเบอร์ได้มาก เช่น ธัญพืชเต็มเมล็ด ผัก ผลไม้ เมล็ดพันธุ์ ถั่ว สาหร่าย พืชหัว ฯลฯ

5. ทานอาร์ติโชค (Artichoke)

ด้วยความที่อาร์ติโชคเป็นแหล่งของไฟเบอร์และสารแอนตี้ออกซิเด้นท์ ทำให้มันกลายเป็นหนึ่งในสุดยอดอาหารแนะนำที่ช่วยควบคุมคอเลสเตอรอล นอกจากนี้มันยังมีสาร Cinarina ที่ไปขัดขวางการสังเคราะห์คอเลสเตอรอล ในขณะที่สาร Luteolin สามารถช่วยกำจัดการก่อตัวของไขมันในหลอดเลือดแดง ยิ่งไปกว่านั้น อาร์ติโชคยังมีคุณสมบัติช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์ และลดการคั่งน้ำในร่างกาย

6. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่

คนที่สูบบุหรี่ทุกวันมีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจากการมีคอเลสเตอรอลสูงมากกว่าคนที่ไม่ได้สูบบุหรี่ ทั้งนี้บุหรี่มีสารพิษมากกว่า 19  ชนิด ที่จะไปขัดขวางการทำงานภายในร่างกาย ซึ่งหมายความรวมถึง การไปลดคอเสสเตอรอลชนิดดี นอกจากนี้สารพิษในบุหรี่ยังส่งผลต่อระบบหมุนเวียนโลหิต และการสะสมของไขมันในผนังหลอดเลือด

จากที่กล่าวไป คุณจะเห็นได้ว่าคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีถือเป็นภัยเงียบ หากไม่ควบคุมคอเลสเตอรอลให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม มันก็สามารถทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมา อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าตอนนี้คุณจะมีคอเลสเตอรอลอยู่ในระดับที่สูงหรือไม่ แต่การนำวิธีที่เราแนะนำข้างต้นไปปรับใช้จะช่วยควบคุมคอเลสเตอรอลได้อยู่หมัด


6 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Lower your cholesterol. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/live-well/healthy-body/lower-your-cholesterol/)
How to lower cholesterol naturally without medication. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/325113)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป