6 วิธีช่วยกำจัดกลิ่นเหม็นจากรองเท้า

เผยแพร่ครั้งแรก 19 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
6 วิธีช่วยกำจัดกลิ่นเหม็นจากรองเท้า

รองเท้าเป็นอีกหนึ่งเครื่องแต่งกายที่เราจะขาดไม่ได้เมื่อออกไปนอกบ้าน และด้วยความที่ฝ่าเท้าเป็นบริเวณที่หลายคนมองข้าม หรือไม่ได้สนใจในเรื่องของสุขอนามัยเมื่อเทียบกับอวัยวะอื่นๆ ทำให้รองเท้ามีกลิ่นเหม็นได้ในที่สุด เพราะในบางครั้งรองเท้าด้านในของคุณมีการกักเก็บเหงื่อและเชื้อโรค ซึ่งอาจมีปริมาณมากจนยากที่จะกำจัดออกไป แต่คุณไม่ต้องกังวลเพราะมันมีหลายวิธีที่ช่วยกำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ในรองเท้า สำหรับวิธีที่เราอยากแนะนำมีดังนี้

1. เบกกิ้งโซดา

เบกกิ้งโซดาถือเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์ล้นเหลือ เพราะมันมีความสามารถในการดูดซึมความชื้นและกลิ่นเหม็นในรองเท้า สำหรับวิธีใช้ก็ไม่ยากค่ะ ให้คุณเทเบกกิ้งโซดา 1 ช้อนโต๊ะใส่ในพื้นของรองเท้าแต่ละข้างจนทั่ว และปล่อยทิ้งไว้ข้ามคืน รับรองว่าคุณจะได้รองเท้าคู่ใหม่ที่ปลอดกลิ่นในเช้าวันถัดมา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

2. แป้งทัลคัม

แป้งทัลคัมมีฤทธิ์เหมือนกับเบกกิ้งโซดาตรงที่มันสามารถดูดซึมความชื้น และยับยั้งการเกิดกลิ่นเหม็น ในกรณีที่คุณใช้แป้งทัลคัม คุณมีสองทางเลือกคือ ให้คุณใส่แป้งทัลคัมในรองเท้าแต่ละข้าง ปล่อยทิ้งไว้ข้ามคืน และนำแป้งออกในตอนเช้า หรืออีกวิธีหนึ่งคือ ให้คุณทาแป้งทัลคัมใต้ฝ่าเท้าก่อนที่จะใส่รองเท้า ซึ่งมันจะช่วยลดเหงื่อที่อาจเกิดขึ้นระหว่างวัน วิธีนี้ถือว่ามีประโยชน์และมีประสิทธิผลมาก

3. เสจและลาเวนเดอร์

ทั้งเสจและลาเวนเดอร์สามารถกำจัดกลิ่นเหม็นได้อย่างดีเยี่ยม  เพียงแค่คุณใส่ใบเสจ 2-3 ใบในรองเท้า และดอกลาเวนเดอร์สักเล็กน้อยลงในรองเท้าแต่ละข้าง แล้วนำรองเท้าไปตากที่ระเบียง เพื่อให้อากาศที่สดชื่นช่วยกำจัดแบคทีเรีย คุณก็จะได้รองเท้าคู่ใหม่ที่สดชื่นและพร้อมสำหรับใช้ในวันถัดมา

4. ส้ม เลมอน และเกรปฟรุต

ทั้งเปลือกของส้ม เลมอน และเกรปฟรุตนั้นล้วนแต่มีประโยชน์ค่ะ เพราะมันสามารถช่วยเรากำจัดกลิ่นเหม็นในรองเท้าสำหรับวิธีใช้คือ ให้คุณใส่เปลือกของผลไม้เหล่านี้ลงในรองเท้าทั้งสองข้าง และปล่อยทิ้งไว้ข้ามคืน รับรองว่ารองเท้าของคุณจะมีกลิ่นเหม็นน้อยลง และจะตลบอบอวลไปด้วยกลิ่นของซิตรัสแทน

5. น้ำมันทีทรี

น้ำมันทีทรีถือเป็นน้ำมันที่ช่วยฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิผลมากที่สุดเมื่อเทียบกับน้ำมันหอมระเหยชนิดอื่นๆ คุณสามารถพบน้ำมันชนิดนี้ได้ตามร้านขายของที่ได้จากธรรมชาติหรือร้านขายยา นอกจากมันจะช่วยกำจัดกลิ่นเหม็นในรองเท้าได้แล้ว มันก็ยังใช้เป็นเจลทามือได้อีกด้วย ทั้งนี้ให้คุณหยดน้ำมันทีทรีลงในพื้นรองเท้า 2 ครั้งต่อสัปดาห์ ซึ่งมันจะช่วยกำจัดแบคทีเรียและกลิ่นเหม็นได้ค่ะ

6. หาต้นเหตุที่ทำให้เกิดกลิ่นเหม็น

เราต่างก็รู้ดีว่ากลิ่นเหม็นในรองเท้านั้นเกิดขึ้นเพราะเหงื่อจากฝ่าเท้า แต่ในบางครั้งมันอาจเป็นเพราะแผ่นรองเท้าดูดซึมเหงื่อและกักเก็บมันไว้ ถ้าคุณสังเกตว่ากลิ่นเหม็นไม่ออกไปจากรองเท้าอย่างง่ายดาย คุณก็ควรเปลี่ยนแผ่นรองฝ่าเท้าเป็นประจำ แต่ถ้าคุณไม่สามารถเปลี่ยนแผ่นรองได้ ให้คุณใช้วิธีที่เรากล่าวไปเพื่อกำจัดกลิ่นเหม็นและแบคทีเรีย

วิธีดูแลฝ่าเท้าให้ปลอดกลิ่นเหม็น

  • หลีกเลี่ยงการใส่รองเท้าที่ทำให้นิ้วเท้าชิดกันมากเกินไปทุกวัน เพราะมันไม่ดีต่อสุขภาพเท้าและอาจทำให้เกิดกลิ่นเหม็น
  • เมื่อกลับถึงบ้าน ให้คุณเปลี่ยนรองเท้าและนำรองเท้าไปผึ่งลมนอกบ้าน
  • ไม่ว่ารองเท้าของคุณจะมีคุณภาพดีหรือปานกลาง แต่รองเท้าทุกคู่ล้วนแต่ดูดซับกลิ่น ดังนั้นเราควรหมั่นทำความสะอาดรองเท้าอยู่เสมอ โดยให้คุณแปรงรองเท้าด้านนอกทุกวัน และใช้ผ้าชื้นๆ ที่มีผงซักฟอกเล็กน้อยขัดข้างในรองเท้าเพื่อกำจัดรอยสกปรกและความชื้น
  • หากฝ่าเท้าของคุณมีเหงื่อออกมากเกินไป ให้คุณทาแป้งทัลคัมหรือแป้งเด็กที่ฝ่าเท้า

ที่มา: https://steptohealth.com/7-tricks-eliminate-bad-odor-shoes/


7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
How to stop smelly feet. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/live-well/healthy-body/how-to-avoid-smelly-feet/)
4 Ways You Can Avoid Stinky Feet. Health Essentials from Cleveland Clinic. (https://health.clevelandclinic.org/4-sure-fire-ways-you-can-avoid-stinky-feet/)
Smelly feet: Footwear tips, home remedies, and medical treatment. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/319002)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป