6 สัญญาณที่บอกว่าคุณสูญเสียการได้ยิน

เผยแพร่ครั้งแรก 28 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
6 สัญญาณที่บอกว่าคุณสูญเสียการได้ยิน

การได้ยินที่เปลี่ยนไปถือเป็นเรื่องปกติที่สามารถพบได้เมื่อเรามีอายุมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงที่ว่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นในชั่วข้ามคืน แต่มันจะค่อยๆ เปลี่ยนไปทีละนิด ดังนั้นการใส่ใจกับสัญญาณเตือนเบื้องต้นจึงเป็นเรื่องสำคัญ คนที่ไม่ได้รับการรักษามีแนวโน้มที่จะตกอยู่ในภาวะซึมเศร้า รู้สึกโดดเดี่ยว และมีปัญหากับความจำหลังจากนั้น สำหรับสัญญาณที่บอกว่าคุณสูญเสียการได้ยินมีดังนี้

1. ฟังเสียงของเด็กได้ไม่ชัด

เมื่ออายุมากขึ้น คอเคลีย (Cochlea) หรืออวัยวะภายในหูที่ช่วยให้เราได้ยินจะเริ่มเสื่อมสภาพ เซลล์ที่ตรวจจับเสียงที่แหลมมักทำงานได้แย่ลงเป็นอันดับแรก สิ่งที่จะตามมาคือ การฟังคนที่มีเสียงแหลมจะเป็นเรื่องที่ยากขึ้น โดยเฉพาะเด็กหรือผู้หญิง นี่จึงเป็นอีกหนึ่งเหตุผลว่าทำไมคุณถึงไม่ได้ยินเสียงเตือนจากไมโครเวฟ หรือเสียงนกร้องตอนพระอาทิตย์ตก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

2. ไม่สามารถตามบทสนทนาได้ทันเมื่ออยู่ในสถานที่ๆ มีเสียงดัง

เมื่อเราอยู่นอกบ้าน เราก็อาจได้ยินเสียงคนคุยตามสถานที่ต่างๆ แต่เมื่ออายุมากขึ้น ความสามารถในการได้ยินเสียงคู่สนทนาพูดท่ามกลางเสียงแทรกจากคนอื่นจะแย่ลง โดยจะไปเปลี่ยนวิธีประมวลเสียงของสมอง ทำให้เป็นเรื่องยากที่เราจะเพิกเฉยต่อเสียงแทรกได้

3. รู้สึกเหนื่อยหลังจากฟังคนอื่นพูด

เมื่อคุณไม่สามารถได้ยินเสียงที่คนพูดทั้งหมด สมองจะพยายามประมวลว่าคนอื่นพูดว่าอย่างไร ซึ่งมันต้องใช้สมาธิเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเมื่อมีหลายคนพูดในเวลาเดียวกัน การต้องใช้ความพยายามอาจทำให้คุณรู้สึกเหนื่อยหลังจากเจอสถานการณ์ดังกล่าว หากคุณมีอาการตามที่เรากล่าวไป การไปพบแพทย์ก็เป็นทางเลือกที่ดี ซึ่งเขาอาจให้เครื่องช่วยฟังมาช่วยอำนวยความสะดวก

4. มองริมฝีปากของคนแทนที่จะมองตา

โดยปกติแล้ว เราจะสบตากับคนที่เราพูด แต่เมื่อประสาทสัมผัสหนึ่งทำงานได้ไม่ดีอย่างเช่นเคย สมองจะพยายามชดเชยโดยใช้ประสาทสัมผัสอื่นๆ มาช่วย ในกรณีนี้ก็คือ การใช้สายตานั่นเอง ซึ่งคุณมีแนวโน้มที่จะมองริมฝีปากผู้พูดเมื่อคุณมีปัญหากับการได้ยิน

5. รู้สึกเหมือนมีบางสิ่งอุดตันอยู่ในหู

การรู้สึกว่ามีบางสิ่งอุดอยู่ในหูนั้นเกิดขึ้นเมื่อมีขี้หู หรือมีน้ำในหูมากเกินไป แต่หากแพทย์ตรวจพบว่าหูของคุณดูโล่ง การไปทดสอบการได้ยินถือเป็นวิธีที่ดี การสูญเสียการได้ยินที่เกี่ยวกับอายุสามารถทำให้คุณได้ยินเสียงไม่ชัด ซึ่งอาจทำให้คุณรู้สึกว่ามีบางสิ่งอุดตันอยู่ภายใน

6. เร่งเสียงโทรทัศน์

รายการโชว์ในโทรทัศน์มีแนวโน้มที่จะผสมบทพูด เอฟเฟกต์ของเสียง และดนตรี เมื่อคุณได้ยินโทนเสียงต่ำดีกว่าโทนเสียงสูง ดนตรีและเอฟเฟกต์ก็จะทำให้คุณได้ยินบทสนทนาไม่ชัด ทำให้คุณต้องเร่งเสียงของทีวีให้ดังขึ้น หากคนอื่นในบ้านบ่นว่าคุณเปิดโทรทัศน์เสียงดังเกินไป บางทีมันอาจถึงเวลาที่คุณต้องไปตรวจหูค่ะ

เมื่อเวลาผ่านไป หูของเราก็จะเสื่อมสภาพ หรือทำงานได้แย่ลงเช่นเดียวกับอวัยวะอื่นๆ การสูญเสียการได้ยินสามารถส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน หากคุณรู้ตัวว่าการได้ยินของตัวเองเปลี่ยนไป คุณก็ควรไปตรวจให้แน่ชัดเพื่อที่จะได้หาทางรักษาต่อไป

ที่มา: https://www.webmd.com/healthy-...


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
What? 6 Signs You Need a Hearing Test - Cold and Flu Center. Everyday Health. (https://www.everydayhealth.com/cold-flu-pictures/what-signs-you-need-hearing-test.aspx)
Hearing loss - Symptoms. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/hearing-loss/symptoms/)
Hearing Loss - What You Need to Know. Drugs.com. (https://www.drugs.com/cg/hearing-loss.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
สูญเสียการได้ยิน (Hearing loss)
สูญเสียการได้ยิน (Hearing loss)

อาการ สาเหตุ และวิธีการรักษาภาวะสูญเสียการได้ยิน

อ่านเพิ่ม
ใส่หูฟังนานๆ ทำให้สูญเสียการได้ยินหรือไม่?
ใส่หูฟังนานๆ ทำให้สูญเสียการได้ยินหรือไม่?

ใส่หูฟัง ควรเปิดเพลงดังแค่ไหน ฟังนานแค่ไหนถึงจะพอดี ไม่เป็นอันตรายต่อหูของคุณ

อ่านเพิ่ม