5 สิ่งที่พ่อแม่ควรรู้เมื่อลูกอยู่ในช่วงปฐมวัย

เผยแพร่ครั้งแรก 5 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 8 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
5 สิ่งที่พ่อแม่ควรรู้เมื่อลูกอยู่ในช่วงปฐมวัย

ขณะที่ลูกยังอยู่ในวัยแรกเกิดถึงปฐมวัย (แรกคลอด - 6 ขวบ) ถือว่าเป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดสำหรับการดูแล สอน และฝึกนิสัยต่างๆ ให้กับลูก หลายครั้งที่พ่อแม่ทำบางสิ่งบางอย่างโดยที่ไม่คาดคิดว่าสิ่งที่ทำลงไปนั้น จะมีผลต่อลูกในระยะยาว วันนี้เราจะแนะนำสิ่งที่พ่อแม่ควรจะเตรียมตัว และต้องรู้ก่อนที่จะเผลอทำผิดกับลูกโดยไม่ตั้งใจกัน

1. พ่อแม่ควรจะเข้าใจพัฒนาการของเด็กในแต่ละช่วงอายุ

เด็กที่เติบโตขึ้นแล้วมีปัญหา เช่น เป็นเด็กดื้อ, ไม่ยอมกินข้าว (กินแต่ขนมหรือนม), เป็นเด็กก้าวร้าว, หรือแม้กระทั่งติดการอุ้ม ฯลฯ พ่อแม่ต้องเข้าใจก่อนว่า สิ่งเหล่านี้คือผลลัพท์ที่เกิดขึ้นจากสิ่งกระทบต่อเด็ก มันไม่ใช่ความผิดของเด็กทั้งหมดเสมอไป ดังนั้นพ่อแม่ควรจะต้องปรับทัศนคติก่อน หากลูกของตัวเองมีปัญหาอย่าได้โทษหรือเหมาเอาว่าทั้งหมดเป็นความผิดของลูก แต่ขอให้ย้อนกลับมาพิจารณาถึงสาเหตุ และการเลี้ยงดูเป็นอันดับแรกเสมอ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

2. อย่าปล่อยให้ลูกเผชิญปัญหาโดยลำพัง

การแก้ไขปัญหาต่างๆ พ่อแม่ควรจะเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในการแก้ไขด้วย ไม่ใช่การตวาด ว่ากล่าว ให้เด็กปรับปรุงแล้วจบเพียงแค่นั้น เพราะเด็กจะมีความรู้สึกต่อต้าน (เพราะปมในใจของเขายังไม่ได้ถูกแก้ไข) ไม่ว่าจะเป็นการฝึกให้ลูกเข้าห้องน้ำ, อาบน้ำ, ทานอาหาร ฯลฯ พ่อแม่ควรจะรู้ว่า ลูกของตัวเองในช่วงอายุขณะนั้นกำลังต้องการและมีอุปนิสัยอย่างไร

3. อย่าหวังพึ่งบุคคลอื่นในการแก้ไขปัญหามากเกินไป

บางครั้งการเอาปัญหาของลูกไปปรึกษาคุณหมอก็เป็นเรื่องที่ดี แต่พ่อแม่หลายคนเหมือนกับวิตกกังวลมากเกินไปจึงนำทุกเรื่องไปปรึกษาคุณหมอหรือผู้เชี่ยวชาญตลอดเวลา พ่อแม่ที่ดีควรจะศึกษาและค้นคว้าหนทางการแก้ไขปัญหาลูกของตัวเองให้มากก่อนที่จะไปขอคำปรึกษาจากผู้อื่น

4. อย่าเอาตัวเองเป็นไม้บรรทัด

พ่อแม่หลายคนมักจะทำผิดโดยไม่ตั้งใจ โดยการเอามาตราฐานของตัวเอง หรือความคาดหวังของตัวเองเป็นที่ตั้ง เมื่อลูกไม่สามารถทำได้ตามที่ตัวเองตั้งใจไว้ (ทั้งการกระทำ คำพูดต่างๆ รวมถึงวิธีคิด) พ่อแม่หลายคนกลับทำผิดพลาดด้วยการว่ากล่าวลูก หรือดุด่า ตี ฯลฯ ซึ่งพ่อแม่ควรจะเข้าใจให้มากว่า ลูกของตัวเองนั้น ไม่ใช่ตุ๊กตา ลูกของตัวเองนั้นมีความคิด มีสมอง มีวิธีชีวิตที่เป็นตัวของตัวเองแม้ว่าเขาจะยังเป็นเด็กอยู่ก็ตาม พ่อแม่ที่ดีจึงควรที่จะส่งเสริมจุดเด่นของลูก และพัฒนาปรับปรุงจุดด้อยของลูกให้ดีขึ้น ไม่ใช่การบังคับให้ลูกต้องมีจุดเด่นตามที่พ่อแม่ต้องการ

5. อดทนกับลูกให้มาก

ความอดทนของพ่อแม่นั้นแม้ว่าจะมีมาก แต่พ่อแม่ก็ยังเป็นมนุษย์ธรรมดา ความอดทนต่อสิ่งเร้า เช่น ลูกร้องไห้, ความดื้อ ซน ของลูก, กริยาต่างๆ ที่ลูกกระทำต่อพ่อแม่ ซึ่งบางครั้งอาจจะทำให้พ่อแม่โมโห และเผลอตวาด ใช้คำพูดที่รุนแรง หรือใช้ความรุนแรงตอบกลับไป จะทำให้ลูกได้รับผลกระทบ และจำฝังใจไปจนโต ดังนั้นหากรู้ตัวว่าลูกเริ่มกวนใจอาจจะใช้วิธีเดินออกไปสงบสติอารมณ์ก่อนแล้วค่อยกลับมานั่งคุยกันอีกครั้งจะดีกว่า

การเลี้ยงดูลูกจะเป็นสิ่งที่ง่ายและไม่มีปัญหาอะไรหนักใจหากพ่อแม่สามารถเข้าใจ และรู้ถึงปัญหาของเด็กในแต่ละช่วงวัย เมื่อพ่อแม่เข้าใจนิสัยของเด็กในแต่ละช่วงอายุวัยแล้ว การรับมือกับปัญหาต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นก็จะเป็นเรื่องที่ไม่เหนือบ่ากว่าแรงคุณพ่อคุณแม่ไปได้


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
กระบวนการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย (http://www.moe.go.th/moe/th/ne...), 10 มีนาคม 2560
When you feel you might hurt your child (https://raisingchildren.net.au...)
Discipline strategies for children (https://raisingchildren.net.au...)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
10 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับการรังแก
10 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับการรังแก

ทดสอบตัวคุณเองเพื่อดูว่าคุณรู้เกี่ยวกับการรังแกดีแค่ไหน

อ่านเพิ่ม
เมื่อไหร่ที่พ่อแม่ควรขอความช่วยเหลือในการจัดการกับปัญหาพฤติกรรมของลูก?
เมื่อไหร่ที่พ่อแม่ควรขอความช่วยเหลือในการจัดการกับปัญหาพฤติกรรมของลูก?

ระบุสัญญาณเตือนและปัจจัยเสี่ยงของปัญหาทางพฤติกรรมที่รุนแรง

อ่านเพิ่ม