จัดระเบียบตู้ยาใน 5 ขั้นตอน

5 ขั้นตอนที่ใช้ในการจัดระเบียบตู้ยาสามัญประจำบ้าน
เผยแพร่ครั้งแรก 1 ม.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
จัดระเบียบตู้ยาใน 5 ขั้นตอน

ใกล้จะถึงเวลาบอกลาปีเก่าและสวัสดีปีใหม่กันแล้วนะคะ ในช่วงเวลานี้ หลายครอบครัวก็ถือโอกาสทำความสะอาดบ้านครั้งใหญ่ เป็นเคล็ดเพื่อเตรียมต้อนรับสิ่งดี ๆ ที่กำลังจะเข้ามาในปีหน้า อย่างไรก็อย่าลืมถือโอกาสทำความ “บ้านของยา” หรือ “ตู้ยาสามัญประจำบ้าน” กันด้วยนะคะ

อันที่จริง การเก็บยาอาจไม่ได้จำกัดไว้เฉพาะใน “ตู้” สำหรับเก็บยาเท่านั้น ดังนั้น แม้ว่าครอบครัวของคุณผู้อ่านจะเก็บยาไว้ในกล่องพลาสติก ทั้งแบบมีหูหิ้วและไม่มีหูหิ้ว, กล่องโลหะ เช่น กล่องคุกกี้ที่หลายคนร้องยี้ เวลาจับของขวัญปีใหม่แล้วได้มา (ฮ่า), หรือใส่อยู่ในถุงหูหิ้วจำนวนหลายถุง ที่ได้รับจากโรงพยาบาล, คลินิก และร้านยา แขวนรวม ๆ กันไว้ที่เสาสักต้นในบ้านก็เถอะ (ฮ่า) ก็ไม่ถือว่าผิดกติกานะคะ ที่ควรจะมีการจัดระเบียบอย่างน้อยปีละครั้ง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

 

 จะทำไปเพื่ออะไรคะ

 เพื่อความสะดวกและความปลอดภัยของคนในบ้าน ที่จะสามารถหยิบใช้ได้ง่ายเมื่อต้องการ และไม่ต้องเสี่ยงกับการใช้ยาที่เสื่อมคุณภาพด้วยนั่นเองค่ะ ฟังดูน่าสนใจใช่มั้ยคะ งั้นก็ติดตามต่อได้เลย!

 

 

การจัดระเบียบตู้ยา ใน 5 ขั้นตอน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

 

  1. คัดแยก ยาที่ไม่มีฉลากหรือฉลากลบเลือน

ฉลากยา จะระบุข้อมูลสำคัญที่ช่วยให้เราใช้ยาได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และลดการเกิดอันตรายบางอย่างที่สามารถป้องกันได้

ฉลากยาที่ดี จะต้องให้รายละเอียดแก่ผู้ใช้ได้ว่า ยานี้มีชื่อว่าอะไร, เป็นยาของใคร, ใช้รักษาอาการใด, มีวิธีใช้อย่างไร, ควรใช้ในปริมาณเท่าไหร่, ควรใช้ในเวลาไหน และมีข้อควรระวังอย่างไรบ้าง

ดังนั้น ยาที่ไม่มีฉลากยา หรือว่าฉลากยาลบเลือนหรือฉีกขาด จนไม่สามารถอ่านรายละเอียดดังกล่าวได้ ย่อมจะไม่ปลอดภัย เพราะเสี่ยงที่จะหยิบใช้ยาที่แพ้ หรืออาจใช้ผิดคน, ผิดโรค, ผิดวิธี, ผิดขนาด, ผิดเวลา หรือใช้อย่างไม่เหมาะสม จนทำให้เกิดอันตรายได้นั่นเองค่ะ

หากพบว่ายาที่เก็บไว้ ไม่มีฉลากยา, หรือมีฉลากที่ลบเลือนหรือฉีกขาดไปแล้ว ไม่ต้องเสียดายนะคะ คัดแยกออกมาเพื่อเตรียมกำจัดทิ้งได้เลยค่ะ

 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  1. ตรวจสอบ วันหมดอายุของยา

ในฉลากยาหรือซองยาแบ่งบรรจุ ควรมีการระบุวันหมดอายุให้ผู้ใช้ทราบด้วยนะคะ อาจใช้คำว่า ยาสิ้นอายุ, วันหมดอายุ, Exp. หรือ Exp. Date โดยระบุตัวเลขที่แสดงวัน, เดือน และปีที่ยาจะหมดอายุ แต่หากในฉลากยาระบุเฉพาะเดือนและปี นั่นหมายถึงยาดังกล่าวจะหมดอายุในวันสุดท้ายของเดือนที่ระบุไว้ค่ะ

 

มาดูตัวอย่างการตรวจสอบวันหมดอายุของยากันนะคะ

ตัวอย่าง

วันที่ยาหมดอายุ

15/07/18 ซึ่งก็คือ... 15 กรกฎาคม 2561
AUG 18 ซึ่งก็คือ... 31 สิงหาคม 2561
04/19 ซึ่งก็คือ... 30 เมษายน 2562

 

หากตรวจสอบแล้วพบว่ายาใดหมดอายุไปแล้ว แม้สภาพภายนอกอาจยังดูดีมีสกุล (ฮ่า) แต่ก็ไม่ควรนำมาใช้นะคะ เพราะนอกจากจะไม่รับรองว่าผู้ใช้ จะหายจากการเจ็บป่วยหรือไม่แล้ว ยังอาจเกิดอันตรายต่อตับ, ไต หรืออวัยวะอื่น ๆ ในร่างกายของเราด้วยค่ะ

อย่าเอาสุขภาพของเราหรือคนที่เรารัก ไปเสี่ยงกับยาที่หมดอายุนะคะ

 

  1. สังเกต การเสื่อมสภาพของยา

หากมีการเก็บยาไม่เหมาะสม เช่น เก็บในที่ชื้น, ร้อน หรือแสงแดดส่องถึง ก็อาจทำให้ยานั้น ๆ เสื่อมสภาพก่อนถึงวันหมดอายุได้ค่ะ ดังนั้น จึงต้องมีการตรวจสอบสภาพของยาด้วยว่ามีการเปลี่ยนแปลงของกลิ่น, สี, รส หรือรูปร่าง ไปจากเดิมหรือไม่

 

มาดูลักษณะของยาที่เสื่อมสภาพกันบ้างนะคะ

ประเภทของยา ลักษณะของการเสื่อมสภาพ
ยาเม็ด เม็ดยาจับติดกันหลาย ๆ เม็ดเป็นก้อนเดียว, ขึ้นรา, บิดเบี้ยว, แตกหัก, เยิ้มเหลว หรือมีตัวยาละลายซึมออกมา, สีของเม็ดยาซีดจาง เข้มขึ้น เปลี่ยนสี หรือมีรอยด่างดำ
ยาผง ผงยาชื้น, เยิ้มเหนียว, จับตัวเป็นก้อน, ไม่กระจายตัว, หรืออาจไม่ละลายน้ำ กรณีที่ต้องผสมน้ำก่อนใช้
ยาน้ำใส ตามปกติ ยาน้ำใสจะมีลักษณะเป็นเนื้อเดียวกัน ไม่แยกชั้นหรือตกตะกอนแม้ตั้งทิ้งไว้นาน ๆ แต่หากเสื่อมสภาพ อาจมีการเปลี่ยนสี / กลิ่น / รส, หรือมีการแยกชั้น ตกตะกอน หรือตกผลึก
ยาน้ำแขวนตะกอน และยาน้ำแขวนละออง ตามปกติจะเป็นน้ำขุ่น อาจตกตะกอนหรือแยกชั้นเมื่อตั้งทิ้งไว้สักครู่  แต่เมื่อเขย่าก็จะกลับเข้าเป็นเนื้อเดียวกันได้ง่าย ในกรณีที่เสื่อมสภาพ อาจเกิดการเปลี่ยนสี / กลิ่น / รส, หรืออาจแยกชั้นหรือตกตะกอนถาวร ไม่สามารถเขย่าผสมให้เป็นเนื้อเดียวกันได้
ยาขี้ผึ้ง และยาครีม ตามปกติจะเป็นเนื้อเดียวกันสม่ำเสมอ หากเสื่อมสภาพแล้วอาจมีลักษณะหยาบ, มีการแยกตัว หรือมีน้ำใส ๆ ปนกับเนื้อยา, รวมถึงสีและกลิ่นที่อาจเปลี่ยนแปลงไป

 

แม้ว่าจะยังไม่ถึงวันหมดอายุที่ระบุไว้ในฉลากยา แต่หากพบการเปลี่ยนแปลงลักษณะไปจากปกติ ก็ให้สงสัยไว้ก่อนว่ายานั้นอาจมีการเสื่อมสภาพไปแล้ว และไม่ควรนำมาใช้เช่นกันค่ะ

 

  1. เช็ดถู ทำความสะอาดตู้ยา

เมื่อล้างบางยาที่อยู่ในสภาพไม่พร้อมใช้ไปหมดแล้ว ก็ถึงเวลาทำความสะอาดตู้ยา จะปัด กวาด เช็ด หรือถูอย่างไร อันนี้เชิญตามอัธยาศัยเลยนะคะ (ฮ่า) หรือหากอุปกรณ์ที่ใช้เก็บยามีการชำรุด แตกหัก เสียหาย ก็ควรได้มีการซ่อมแซมหรือเปลี่ยนใหม่ เพื่อให้สามารถ ป้องกันแมลง, ฝุ่นละออง, แสงแดด และความชื้นได้ ยาที่เก็บไว้จะได้ไม่เสื่อมสภาพก่อนวันหมดอายุนั่นเองค่ะ

 

  1. จัดเรียง ให้เป็นระเบียบ เหมาะสม มีอุปกรณ์พร้อมใช้

แยกส่วนยาใช้ภายในและยาใช้ภายนอกออกจากกัน เพื่อป้องกันไม่ให้หยิบมาใช้ผิด ควรจัดเตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็น เช่น ถ้วยหรือช้อนตวงยา, ผ้าพันแผล, พลาสเตอร์, ปรอทวัดไข้, กรรไกรเล็ก ๆ และอุปกรณ์อื่น ๆ ตามความเหมาะสม เพื่อให้พร้อมเวลาที่ต้องการใช้งานด้วยนะคะ

 

 

เทศกาลปีใหม่ ถือเป็นอีกช่วงเวลาหนึ่งที่ลูกหลานผู้พลัดพรากจากบ้าน เพื่อไปศึกษาหรือทำงานอยู่ต่างถิ่น จะได้กลับไปเยี่ยมครอบครัว พ่อ แม่ พี่ น้อง ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา เฮ้อ... จะเยอะไปไหน! (ฮ่า) ถือเป็น “วันพบญาติ” เอิ่ม... ฟังไม่ค่อยรื่นหูนะคะ (ฮ่า) เอาใหม่นะ... ถือเป็น “วันรวมญาติ” นั่นเอง

นอกจากเสื้อผ้า, เครื่องประดับ หรือกระเช้าของขวัญ ที่เรานิยมถือไปฝากญาติสนิท มิตรสหาย คุณผู้อ่านบางท่านอาจสนใจที่จะเลือกซื้อวิตามินและอาหารเสริมไปฝากญาติผู้ใหญ่ เพื่อเป็นการ “ส่งมอบสุขภาพที่ดี” รับปีใหม่ อย่างไรก็ควรต้องระมัดระวังนะคะ ผู้สูงอายุมักมีโรคประจำตัว วิตามินและอาหารเสริมบางชนิดอาจส่งผลเสียต่อโรคหรือยาที่ใช้ หากไม่มั่นใจ ก็ไม่ควรเสี่ยง เพื่อความปลอดภัย ควรปรึกษาแพทย์ผู้รักษาก่อนจะดีกว่าค่ะ

หรือเลือกวิธี “ส่งมอบสุขภาพที่ดี” ด้วยการทำความสะอาดตู้ยาประจำบ้านตามวิธีที่กล่าวไว้ในบทความนี้ เพื่อช่วยให้คนที่เรารักไม่ต้องเสี่ยงกับการใช้ยาที่หมดอายุ, เสื่อมภาพ และไม่มีฉลากชัดเจน ก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจ ...จริงมั้ยคะ

งั้นเริ่มเลยค่ะ... จะรออะไร!


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Storing your medicines. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/ency/patientinstructions/000534.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)