5 ข้อปฏิบัติเพื่อลดการเสียชีวิตแบบเฉียบพลัน (SIDS)

เผยแพร่ครั้งแรก 5 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 8 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
5 ข้อปฏิบัติเพื่อลดการเสียชีวิตแบบเฉียบพลัน (SIDS)

เด็กทารกอาจเสียชีวิตเฉียบพลันได้ในช่วงนอนหลับ ซึ่งการเสียชีวิตแบบเฉียบพลันนี้ทางการแพทย์เรียกว่า ซิดส์ (SIDS : Sudden Infant Death Syndrome) หมายถึงการเสียชีวิตเฉียบพลันในขณะที่เด็กนอนหลับ ซึ่งเกิดจากหลายสาเหตุ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถหาทางป้องกันได้ โดยขอให้ปฏิบติตามดังนี้

1. ให้ลูกนอนหงายบนที่นอนแบนราบ

ความเชื่อหลายคนที่ว่าให้เด็กนอนคว่ำหน้าจะทำให้ศีรษะสวยเมื่อโตขึ้นอาจจะต้องแลกมากับอันตรายที่ประเมินค่าไม่ได้ เนื่องจากว่าการนอนหลับแล้วคว่ำหน้าในเด็กเล็ก อาจจะทำให้เด็กเสียชีวิตได้ เนื่องจากว่าเมื่อเด็กนอนหลับ เด็กอาจจะมีการพลิกหน้าลงและเผลอไปปิดจมูกตนเอง ทำให้ไม่สามารถหายใจได้ค่ะเพราะว่า เด็กยังเล็กเกินกว่าจะขยับคอได้เอง แพทย์จึงไม่แนะนำให้จับลูกนอนคว่ำจนกว่าลูกจะสามารถพลิกตัวได้เอง

2. ให้ลูกนอนในโซนปลอดบุหรี่

มีการศึกษาว่าควันบุหรี่อาจเพิ่มความเสี่ยงของ Sudden Infant Death Syndrome ดังนั้นควรจัดโซนปลอดบุหรี่ให้ทารก รวมทั้งถ้าหากคุณสูบบุหรี่ก็ควรจะแยกนอนกับทารก นอกจากนี้ในช่วงการตั้งครรภ์ก็ควรงดสูบบุหรี่ และหลีกเลี่ยงการสูดดมควันบุหรี่ด้วย

3. แยกที่นอนกับลูกหากคุณดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

หากคุณดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอลล์หรือกินยาที่ทำให้เกิดอาการง่วง อาจพิจารณาแยกเตียงนอนจากทารก

4. ต้องควบคุมอากาศ และอุณหภูมิให้คงที่

ควรที่จะให้ลูกนอนในห้องที่มีอุณหภูมิประมาณ 24-26 องศาเซลเซียส โดยอาจจะติดเทอร์โมมิเตอร์ไว้ใกล้ๆ กับบริเวณหัวเตียงของลูก และต้องไม่ให้ลมจากแอร์เป่าลงมาโดนตัวลูกโดยตรง รวมไปถึงไม่ควรให้ลูกนอนใกล้หน้าต่าง เพราะอาจถูกฝนสาด หรือโดนแดดโดยตรงในเวลากลางวัน หากต้องการรู้ว่าลูกรู้สึกร้อนไปหรือเปล่า ให้ลองคลำบริเวณหน้าท้อง หรือคอด้านหลังดูว่าเย็นไปหรือร้อนไปหรือไม่ หรือดูที่เทอร์โมมิเตอร์ที่วางไว้ใกล้ๆ กับหัวเตียงลูกก็ได้

5. ห้ามหลับพร้อมลูกบนโซฟา หรือให้ลูกนอนหลับบอนโซฟา

บ่อยครั้งที่พ่อแม่อาจจะอุ้มลูกในขณะที่ตนเองนั่งดูทีวีบนโซฟา แล้วก็อาจจะเผลอนอนหลับไปพร้อมกับลูก หรือพ่อแม่ที่ต้องทำงานบ้านในเวลากลางวัน ก็อาจจะให้ลูกนอนเล่นบนโซฟา เมื่อลูกนอนหลับแล้วไม่ทันได้ตรวจสอบให้ดี เพราะโซฟานิ่มและง่ายต่อการที่เด็กจะนอนกดทับจมูก ทำให้หายใจไม่สะดวก รวมไปถึงไม่ควรหลับพร้อมลูกบนโซฟา เพราะคุณอาจจะเผลอปล่อยลูกจากมือทำให้เด็กตกลงมาได้


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Vennemann M, Hense HW, Bajanowski T, et al. Bed sharing and the risk of SIDS: can we resolve the debate? J Pediatr. In press; ePub ahead of print August 21, 2011
Mitchell EA. Recommendations for sudden infant death syndrome prevention: a discussion document. Arch Dis Child. 2007;92(2):155-9.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)