5 ปัญหาสำหรับคุณพ่อมือใหม่เมื่อภรรยาเริ่มตั้งครรภ์

รู้ล่วงหน้า ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับคุณพ่อคุณแม่เมื่อมีลูก การเตรียมรับมือก่อนมีลูก
เผยแพร่ครั้งแรก 5 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 12 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
5 ปัญหาสำหรับคุณพ่อมือใหม่เมื่อภรรยาเริ่มตั้งครรภ์

ตั้งแต่ภรรยาเริ่มตั้งครรภ์จนกระทั่งคลอดลูกออกมา ล้วนแต่ส่งผลกระทบถึงสามีหรือว่าที่คุณพ่อด้วยกันทั้งนั้น จากการวิจัยพบว่า ว่าที่คุณพ่อมักจะมีปัญหาในการปรับตัวในระหว่างที่ภรรยาตั้งท้องได้เช่นเดียวกับผู้ที่ตั้งครรภ์เอง และจะมีต่อเนื่องไปจนคลอด ดังนั้นว่าที่คุณพ่อจึงต้องทำความเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงทั้งทางสรีระ จิตใจและอารมณ์ ซึ่งจะช่วยให้ทั้งสองฝ่ายสามารถปรับตัวเข้าหากันได้อย่างเป็นปกติสุข

1. กลัวการมีเพศสัมพันธ์

ถือว่าเป็นสุดยอดความกังวลใจของคุณพ่อมือใหม่มากที่สุดเมื่อภรรยาตัวเองเริ่มตั้งครรภ์ ความวิตกกังวลว่าจะเป็นอันตรายต่อลูกในท้อง ซึ่งเป็นความรู้สึก (ไปเอง) ของทั้งคุณพ่อและคุณแม่มือใหม่หลายๆ คู่เลยทีเดียว รวมถึงความรู้สึกทางเพศของคุณพ่อมือใหม่หลายคนที่อาจจะเปลี่ยนไป เนื่องจากรูปร่างของภรรยามีการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น ความจริงแล้วการมีเพศสัมพันธ์ในช่วงที่ภรรยากำลังตั้งครรภ์นอกจากจะไม่เป็นอันตรายต่อลูกในท้องแล้ว ยังเป็นสิ่งที่กระชับความสัมพันธ์ระหว่างกัน และยังมีรายงานพบว่าความเคลื่อนไหวของมดลูกขณะมีเพศสัมพันธ์เป็นผลดีกับทารก ช่วยให้ทารกสงบอีกด้วย ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงท่าที่ใช้ด้วย ไม่ควรใช้ท่าที่ต้องมีการกดทับหรือกระแทกหน้าท้องหรือบริเวณท้องโดยตรง และควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งหากต้องการมีเพศสัมพันธ์หากมีประวัติ หรือ กำลังเกิดภาวะแท้งคุกคาม หรือ ภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

2. มีอารมณ์หงุดหงิดง่ายกว่าปกติ

มีรายงานหลายฉบับที่ยืนยันตรงกันว่า สามีจำนวนมากมีการเปลี่ยนแปลงร่างกายและจิตใจเช่นเดียวกับภรรยา เช่น เกิดอารมณ์ซึมเศร้า บางคู่อาจเกิดพร้อมๆ กัน แต่บางคู่อาจเกิดสลับกัน อาการซึมเศร้าหงุดหงิดเป็นภาวะปกติที่พบได้ในสามีที่ภรรยาของตัวเองกำลังตั้งครรภ์ ทางแก้ไขคือเพียงทำความเข้าใจกับมัน และพยายามทำตัวให้สดชื่นกระฉับกระเฉงตลอดเวลา ก็จะช่วยลดปัญหาลงได้มาก นอกจากนี้ยังอาจพาภรรยาไปฝากครรภ์ หรือร่วมกิจกรรมสำหรับหญิงตั้งครรภ์พร้อมๆ กับภรรยา หรือทำความคุ้นเคยกับลูกในท้อง จัดหาสิ่งของเครื่องใช้ให้ทารก เพื่อให้เกิดความรู้สึกที่ดีขึ้นและมีส่วนร่วมมากขึ้น

3. ต้องเจอภาวะอารมณ์ของภรรยาที่เปลี่ยนแปลงบ่อย

เนื่องจากฝ่ายภรรยาที่กำลังตั้งครรภ์จะมีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ตลอดเวลา บางครั้งอาจจะเกิดอาการ "เหวี่ยง" มากไปหน่อยโดยไม่มีสาเหตุ ซึ่งโดยมากจะเป็นในช่วงระยะ 4 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ และบางคนอาจเป็นมากช่วงใกล้คลอด ดังนั้นฝ่ายสามีจึงความทำความเข้าใจและคอยให้กำลังใจภรรยา ปลอบโยนอย่างจริงใจ ก็จะทำให้อาการดีขึ้นอย่างรวดเร็ว

4. อาการแพ้ท้อง

มีรายงานพบว่าร้อยละ 11 - 65 ของสามีที่ภรรยากำลังตั้งครรภ์จะแพ้ท้องตามภรรยาไปด้วย โดยจะแสดงอาการต่างๆ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง อาหารไม่ย่อย ท้องผูก เป็นตะคริว เวียนศีรษะ หน้ามืด เป็นลม อ่อนเพลีย อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย ซึ่งอาจจะเกิดจากความรู้สึกมีส่วนร่วมของสามีต่อภรรยาตัวเอง หรืออาจเกิดจากความเครียดที่ต้องเจอกับภาวะการเปลี่ยนแปลงต่างๆ หรืออาจเกิดจากความรู้สึกผิดที่ต้องให้ภรรยาพบกับความไม่สุขสบายต่างๆ ในการตั้งครรภ์อยู่เพียงคนเดียว อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม คุณสามีก็ควรเตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้และหาทางป้องกันเอาไว้แต่เนิ่นๆ

5. ปัญหาความวิตกกังวลต่างๆ

คุณพ่อมือใหม่มักจะเกิดความกังวลต่างๆ นานา เช่น กังวลว่าตัวเองจะเป็นพ่อที่ดีหรือไม่ แล้วจะเลี้ยงลูกอย่างไรดี ภรรยาจะมีสุขภาพแข็งแรงดีมั้ย ตอนคลอดลูกออกมาลูกจะออกมาแข็งแรงสมบูรณ์ดีหรือไม่ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้สามารถแก้ไขได้โดยศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์และการเลี้ยงลูกให้มากพอ หรืออาจจะปรึกษาคุณหมอที่ไปฝากครรภ์และทำตามคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัด ก็จะช่วยคลายความกังวลไปได้


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Should coitus late in pregnancy be discouraged?, Mills JL, Harlap S, Harley EE, Lancet. 1981;2(8238):136.
Moscrop A. Can sex during pregnancy cause a miscarriage? A concise history of not knowing. Br J Gen Pract. 2012;62(597):e308-10.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่

เรื่องง่ายๆ ที่คุณแม่ทุกคนต้องใส่ใจเพราะอัตราการเต้นของหัวใจสัมพันธ์กับความปลอดภัยของลูกน้อย

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม