5-HIAA

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการตรวจสาร 5-HIAA ทางปัสสาวะ เพื่อวินิจฉัยและติดตามเนื้องอกคาร์ซินอยด์ พร้อมวิธีปฏิบัติเพื่อให้ผลการตรวจแม่นยำยิ่งขึ้น
เผยแพร่ครั้งแรก 6 เม.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
5-HIAA

การตรวจ 5-HIAA โดยเก็บตัวอย่างจากปัสสาวะไปทดสอบ ทำเพื่อวินิจฉัยและติดตามเนื้องอกคาร์ซินอยด์ มีอาการแบบไหนจึงควรเข้ารับการตรวจ ควรเก็บปัสสาวะตัวอย่างอย่างไรจึงให้ผลการตรวจที่แม่นยำ ผลการตรวจที่ออกมาหมายความว่าอย่างไร หาคำตอบได้จากบทความนี้

ชื่ออื่น: HIAA, Serotonin Metabolite

ชื่อทางการ: 5-Hydroxyindoleacetic Acid

จุดประสงค์ของการตรวจ 5-HIAA

การตรวจ 5-HIAA ในปัสสาวะทำเพื่อช่วยวินิจฉัยและติดตามการรักษาที่เกี่ยวกับเนื้องอกคาร์ซินอยด์ ซึ่งเป็นกลุ่มเซลล์ประสาทต่อมไร้ท่อ (Neuroendocrine) เนื้องอกที่พบอาจเป็นเพียงเซลล์เติบโตช้าที่ไม่มีเชื้อมะเร็ง หรือมีเชื้อมะเร็ง ส่วนใหญ่ราว 2 ใน 3 มักก่อตัวขึ้นในระบบทางเดินอาหาร เช่นในไส้ติ่ง ส่วนที่เหลือมักเกิดขึ้นในปอด แต่อวัยวะอื่นก็อาจเกิดได้เช่นกัน

เมื่อไรที่ต้องตรวจ 5-HIAA?

ผู้ควรไปตรวจ 5-HIAA คือผู้มีอาการที่บ่งชี้ถึงการมีเนื้องอกคาร์ซินอยด์ ดังนี้

อย่างไรก็ตาม แพทย์อาจตรวจ 5-HIAA เป็นช่วงๆ เพื่อติดตามประสิทธิผลของการรักษาในคนที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีเนื้องอกคาร์ซินอยด์ และรักษาเนื้องอกคาร์ซินอยด์ที่หลั่งสารเซโรโทนิน

วิธีเก็บตัวอย่างปัสสาวะเพื่อตรวจ 5-HIAA

ให้เก็บตัวอย่างปัสสาวะที่ขับถ่ายออกมาทุกครั้ง ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง เก็บไว้ในสถานที่ที่เย็นและมืด เช่น ตู้เย็น สาเหตุที่ต้องทำเช่นนี้เนื่องจากความเข้มข้นของ 5-HIAA ในปัสสาวะผันผวนตลอดวัน การเก็บปัสสาวะของทั้งวันจะทำให้ตรวจพบการเพิ่มขึ้นของ 5-HIAA ได้ดีกว่าการตรวจสุ่มเพียงเวลาเดียว

วิธีเตรียมตัวเพื่อให้ตัวอย่างปัสสาวะมีคุณภาพ

การเตรียมตัวก่อนเก็บตัวอย่างมีผลต่อความแม่นยำของผลตรวจ 5-HIAA ทั้งนี้อาหารบางชนิด เช่น อะโวคาโด กล้วย สับปะรด พลัม วอลนัท มะเขือเทศ กีวี มะเขือม่วง สามารถเป็นอุปสรรคต่อการวัด 5-HIAA ได้ ดังนั้นผู้จะเข้ารับการตรวจจึงควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารเหล่านี้ เป็นเวลา 3 วันก่อนและระหว่างเก็บปัสสาวะ

นอกจากนี้มียาหลายชนิดที่สามารถส่งผลต่อการตรวจ ผู้ที่จะเข้ารับการตรวจควรปรึกษาแพทย์ก่อนลดหรือหยุดยาชนิดใดก็ตาม

รายละเอียดการตรวจ 5-HIAA

5-HIAA หรือ 5-Hydroxyindoleacetic Acid เป็นสารหลักตัวแรกๆ ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการเมตาบอลิซึม (Primary Metabolite) ของเซโรโทนิน ซึ่งเซโรโทนินเป็นสารสื่อประสาทที่ส่งสัญญาณระหว่างเซลล์ประสาท การตรวจ 5-HIAA นี้จะเป็นการวัดปริมาณของ 5-HIAA ในปัสสาวะ

หลังจากที่ร่างกายใช้เซโรโทนิน เซโรโทนินจะถูกย่อยสลายในตับ จากนั้น 5-HIAA ซึ่งเป็นเมตาบอไลต์ (สารที่เกิดจากกระบวนการเมตาบอลิซึม) ของเซโรโทนินจะถูกขับออกมาพร้อมกับปัสสาวะ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะพบ 5-HIAA ในปัสสาวะเพียงเล็กน้อย แต่หากมีเนื้องอกคาร์ซินอยด์ (Carcinoid Tumors) บางชนิด ร่างกายจะเกิดการเปลี่ยนแปลง โดยอาจผลิตทั้งเซโรโทนิน และ 5-HIAA ปริมาณมาก

เซโรโทนินนั้นอาจหลั่งออกมาอย่างต่อเนื่องหรือเป็นระยะ และสามารถทำให้ปริมาณของ 5-HIAA ในปัสสาวะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

ความหมายของผลตรวจ

  • คนที่ไม่มีอาการ และไม่มีระดับ 5-HIAA สูงเกินปกติ แสดงว่าไม่มีแนวโน้มที่จะมีเนื้องอกคาร์ซินอยด์ชนิดที่หลั่งเซโรโทนิน
  • คนที่มีอาการบ่งชี้ว่ามีเนื้องอกคาร์ซินอยด์ อีกทั้งระดับยัง 5-HIAA สูงอย่างมีนัยสำคัญ แสดงว่ามีความเสี่ยงที่จะมีเนื้องอก แต่ยังต้องตรวจวินิจฉัยต่ออีกด้วยการเก็บชิ้นส่วนของเนื้องอกในร่างกายไปตรวจ และติดตามผลการตรวจที่ผิดปกติเป็นประจำ
  • คนที่มีอาการบ่งชี้ว่ามีเนื้องอกคาร์ซินอยด์ และความเข้มข้นของ 5-HIAA อยู่ในระดับปกติ อาจมีเนื้องอกที่ไม่ได้หลั่งเซโรโทนิน หรือมีเนื้องอกที่เพียงหลั่งเซโรโทนินเป็นช่วงๆ
  • สำหรับคนที่อยู่ในช่วงติดตามการรักษาเนื้องอกคาร์ซินอยด์ การลดลงของระดับ 5-HIAA แสดงว่ามีการตอบสนองต่อการรักษาที่ดี ในทางกลับกัน หาก 5-HIAA มีระดับสูงหรือเข้มข้นมากเกินไปอย่างต่อเนื่อง แสดงให้เห็นว่าการรักษาไม่ประสบผลสำเร็จ

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับการตรวจ 5-HIAA

มียาหลายชนิดสามารถส่งผลต่อการตรวจ 5-HIAA โดยยาที่สามารถเพิ่มระดับของ 5-HIAA ได้แก่ ยาพาราเซตามอล คาเฟอีน ยาเอฟีดรีน ยาไดแอซิแพม นิโคติน กลีเซอริลไกวอะโคเลต (เป็นส่วนผสมที่พบได้ในยาแก้ไอบางชนิด) และฟีโนบาร์บิทัล

ส่วนยาที่สามารถลด 5-HIAA ได้แก่ ยาแอสไพริน เอทิลแอลกอฮอล์ อิมิพรามีน เลโวโดปา กลุ่มยาต้านเศร้า (Monoamine Oxidase Inhibitor (MAOI)) เฮปาริน ไอโซไนอาซิด เมทิลโดปา และยากลุ่มไตรไซคลิก

อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์ก่อนลดหรือหยุดรับประทานทานยาชนิดใดๆ ก็ตามที่รับประทานเป็นประจำอยู่

ที่มาของข้อมูล

labtestsonline, 5-HIAA (https://labtestsonline.org/tests/5-hiaa), 14 January 2019.


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
5-HIAA urine test. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/ency/article/003612.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป