3 วิธีออกกำลังกายสลายไขมันสำหรับผู้หญิง ให้หน้าท้องแบนราบ

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
3 วิธีออกกำลังกายสลายไขมันสำหรับผู้หญิง ให้หน้าท้องแบนราบ

การมีรูปร่างที่สวยเพรียว ปราศจากไขมันส่วนเกินตามส่วนต่างๆ โดยเฉพาะหน้าท้อง ย่อมเป็นความปรารถนาหลักของผู้หญิงทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี้ หากสาวๆ คนไหนที่กำลังเผชิญกับปัญหารูปร่างอ้วนเผละ อยากสลายไขมันออกจากร่างกายและแก้ปัญหาพุงพลุ้ยให้หมดไป 3 วิธีออกกำลังกายเหล่านี้พร้อมแล้วที่จะช่วยตอบสนองความต้องการของคุณให้เป็นไปได้ดั่งใจ

1. วิ่งจ๊อกกิ้งสลับกับการเดิน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

[caption id="" align="aligncenter" width="600"]

วิ่งจ๊อกกิ้ง[/caption]

วิธีการออกกำลังกายมีด้วยกันหลายแบบ และการวิ่งจ๊อกกิ้งรวมถึงการเดินก็นับเป็นการออกกำลังกายที่ทำได้อย่างง่ายดาย อุปกรณ์ที่นอกจากรองเท้าวิ่งดีๆ สักคู่และสถานที่ออกกำลังกายที่แวดล้อมไปด้วยบรรยากาศสดชื่นแล้ว นอกนั้นก็ไม่มีอะไรมาก แต่กลับทำให้ไขมันส่วนเกินถูกเผาผลาญออกไป ทำให้สุขภาพแข็งแรงและยังช่วยให้หน้าท้องยุบลง เฟิร์มขึ้นได้ง่ายๆ อีกด้วย ดังนั้น หาเวลาว่างๆ ช่วงเย็นมาวิ่งจ๊อกกิ้งสลับกับการเดินไปพร้อมๆ กัน โดยใช้เวลาประมาณ 30 – 40 นาที ทำเช่นนี้สัปดาห์ละ 4 – 5 ครั้ง รูปร่างของคุณจะเริ่มเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดแน่นอน

2. โยคะ

[caption id="" align="alignnone" width="600"]

โยคะ[/caption]

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การเล่นโยคะเป็นการออกกำลังกายแบบที่ไม่หนักหน่วงเหมือนการเล่นคาร์ดิโอหรือ HIIT หากใครคิดว่าการออกกำลังกายลดหน้าท้องหรือสลายไขมันในร่างกายด้วยการเล่นโยคะนั้นไม่สามารถทำได้ บอกเลยว่าคุณกำลังเข้าใจผิด ยิ่งหากใครต้องการลดหน้าท้อง ต้องการเสริมสร้างและจัดเรียงกล้ามเนื้อให้แข็งแรงสวยงาม การออกกำลังกายด้วยการฝึกโยคะนี่แหละที่จะช่วยได้ อีกทั้งยังเป็นวิธีที่จะช่วยสร้างเสริมสมาธิ ช่วยผ่อนคลายความเครียดและปรับจังหวะการหายใจได้เป็นอย่างดี เรียกว่าดีต่อสุขภาพในแบบองค์รวมอย่างยิ่ง อย่างไรก็ดี ใครที่เพิ่งเริ่มต้นฝึกโยคะใหม่ๆ หากต้องการลดสัดส่วนเฉพาะจุด ควรมีครูฝึกเพื่อคอยฝึกสอนท่าที่จะช่วยสลายไขมันส่วนเกินเฉพาะจุดได้อย่างถูกต้องก่อนจะดีที่สุด

3. ท่าแพลงก์

ปัจจุบันท่าออกกำลังกายใหม่ๆ ล้วนได้รับความนิยมในการนำมาฝึกมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะท่าแพลงก์ก็ถือเป็นท่าฝึกที่จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้แก่ร่างกายตลอดทุกสัดส่วน ไม่เว้นแม้แต่หน้าท้องก็จะพลอยมีกล้ามเนื้อและสามารถช่วยสลายไขมันออกไปอย่างได้ผลดีเช่นกัน ขอเพียงหมั่นฝึกท่าแพลงก์เป็นประจำทุกวัน สำหรับใครที่ยังไม่เคยออกกำลังกายด้วยการฝึกท่าแพลงก์นั้น คุณสามารถทำได้ง่ายๆ ดังนี้

[caption id="" align="aligncenter" width="387"]

ท่าแพลงก์[/caption]

วิธีการฝึกท่าแพลงก์

  1. นอนคว่ำลงบนพื้น แขนทั้งสองข้างแนบกับลำตัว
  2. ข้อศอกให้ตั้งขึ้นในลักษณะเป็นแนวตั้งฉาก เท้าสองข้างเหยียดออกตรงไปทางด้านหลัง
  3. ยันร่างกายขึ้นจากพื้น โดยให้แผ่นหลังและเข่ายังคงยืดตรงดังเดิม
  4. ค้างท่าอย่างน้อย 30 วินาที จากนั้นคลายท่าแล้วพักสักครู่ จึงฝึกซ้ำใหม่

การฝึกท่าแพลงก์นี้ หากฝึกเป็นประจำร่างกายจะเริ่มแข็งแรงทนทานกับการค้างท่าได้ยาวนานขึ้น ดังนั้น คุณสามารถเพิ่มระยะเวลาให้นานขึ้นมากกว่า 30 วินาทีได้หรือทำเท่าที่ร่างกายจะไหว โดยทำได้บ่อยครั้งตามที่ต้องการในแต่ละวัน

และนี่ก็คือ 3 วิธีออกกำลังกายที่จะช่วยสลายไขมันในเรือนร่าง ช่วยให้รูปร่างกระชับและมีสุขภาพแข็งแรง และที่สำคัญสำหรับใครที่ปรารถนาการมีหน้าท้องแบนราบ อยากสลายพุงให้ได้ดั่งใจ หมั่นออกกำลังกายดังที่เราแนะนำเป็นประจำ รับรองหน้าท้องของคุณจะแบนราบเซ็กซี่ในเวลาไม่นาน พร้อมๆ กับการมีรูปร่างที่สวยเพรียวขึ้นแน่นอน


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
How to get a flat stomach: 18 tips. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/324636)
How To Lose Belly Fat - 4 Tips for a Flatter Stomach. WebMD. (https://www.webmd.com/diet/features/the-truth-about-belly-fat)
The 30 Best Ways to Get a Flat Stomach. Healthline. (https://www.healthline.com/nutrition/get-a-flat-stomach)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ชีพจรขณะพักคืออะไร
ชีพจรขณะพักคืออะไร

ทำความรู้จักค่าชีพจรที่เหมาะสมในแต่ละวัย และวิธีการวัดชีพจรแบบง่ายๆ ด้วยตัวเอง

อ่านเพิ่ม
ค่าการเต้นของหัวใจสูงสุด - ทำความเข้าใจค่าการเต้นของหัวใจสูงสุดของคุณ
ค่าการเต้นของหัวใจสูงสุด - ทำความเข้าใจค่าการเต้นของหัวใจสูงสุดของคุณ

ค่าอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุดสำคัญอย่างไร คำนวณค่าของตัวเองอย่างไร และนำไปคำนวณค่าระดับความเข้มข้นในการออกกำลังกายอย่างไร

อ่านเพิ่ม
วิธีการวัดและพัฒนาสมรรถภาพของหัวใจและปอด
วิธีการวัดและพัฒนาสมรรถภาพของหัวใจและปอด

ความทนแทนแบบแอโรบิกของคุณคืออะไร

อ่านเพิ่ม