28 วิธีพักสมองสำหรับเด็กที่มีชีวิตยุ่งเหยิง

วิธีการง่าย ๆ ที่จะช่วยให้เด็กกลับมามีสมาธิและมีพลังเต็มที่อีกครั้ง
เผยแพร่ครั้งแรก 20 ก.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
28 วิธีพักสมองสำหรับเด็กที่มีชีวิตยุ่งเหยิง

ในห้องเรียน คุณครูอาจใช้วิธีการพักสมอง เช่น GoNoodle หรือ HOPSports กิจกรรมสั้น ๆ เหล่านี้จะช่วยให้เด็กสามารถเคลื่อนไหวไปรอบ ๆ และเริ่มกระบวนการคิดของสมอง ทำให้พวกเขามีสมาธิกับการเรียนได้ดีขึ้น 

เมื่อกลับมาที่บ้าน คุณก็สามารถใช้วิธีการพักสมองเหล่านี้ได้ในรูปแบบเดียวกัน หากลูกของคุณมีปัญหากับการทำการบ้าน ลองให้พวกเขาทำกิจกรรมต่อไปนี้สัก 1-2 อย่าง พวกเขาจะลดความหงุดหงิดลงและมีสมาธิมากขึ้น นอกจากนั้นยังช่วยให้พวกเขาได้ทำกิจกรรมทางกายอีกด้วย 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

กิจกรรมพักสมองเหล่านี้ควรเป็นกิจกรรมที่เคลื่อนไหวและสนุก แต่ไม่ยาวเกินไปจนเด็กไม่อยากกลับไปทำงาน แม้ว่าที่โรงเรียนมักจะใช้วิดีโอเป็นสื่อแสดงตัวอย่างการเคลื่อนไหว แต่กิจกรรมที่เรากำลังจะพูดถึงต่อไปนี้ไม่จำเป็นต้องใช้จอเลยแม้แต่น้อย มันง่ายมากที่จะทำให้เด็กติดใจกับเกมและไม่กลับไปทำงานของตัวเอง ดังนั้นคุณจึงควรกำหนดเวลาของกิจกรรมเพื่อไม่ให้นานเกินไปจนกินเวลาที่ควรนำไปทำการบ้าน และบอกลูกของคุณตั้งแต่แรกว่าพวกเขามีเวลาพักนานแค่ไหน ซึ่งอาจทำให้พวกเขาสนุกและตื่นเต้นมากขึ้น (เช่นเดียวกับการแข่งขัน) 

กิจกรรมพักสมองภายในบ้าน 

  1. กระโดดเชือกหรือการกระโดดอื่น ๆ ลองท้าให้พวกเขากระโดดให้ได้ตามจำนวนที่คุณต้องการหรือลองดูว่าพวกเขาจะกระโดดได้กี่ครั้งภายในเวลา 60 วินาที
  2. Shadow box
  3. เล่นฮูลาฮูป
  4. เล่นเกม keep-it-up ด้วยลูกบอลชายหาดหรือลูกโป่ง หรือเล่นเกมที่ใช้ลูกโป่งเกมอื่น ๆ
  5. เดินย่ำเท้าภายในบ้าน
  6. วิ่ง กระโดดในห้องโถง (หรือใช้การเคลื่อนไหวในรูปแบบต่าง ๆ รวมกัน)
  7. Shoot (Nerf) baskets
  8. วิดพื้นแข่งกัน
  9. ทำท่าโยคะหรือยืดกล้ามเนื้อ
  10. คลานเลียนแบบท่าทางของหมีหรือเดินเหมือนปูไปกลับในห้อง
  11. กระโดดบนแทรมโพลีนขนาดเล็ก (หรือบนเตียง)
  12. เล่นปิงปอง (คุณไม่จำเป็นต้องมีโต๊ะ ขอแค่ไม้ ลูกบอล และพื้นผิวที่ให้ตีได้ก็พอ)
  13. ตีกอล์ฟลงถ้วยหรือกล่อง
  14. จัดปาร์ตี้เต้น 1-2 เพลงก็พอ
  15. คิดกิจกรรมและสถานที่เขียนใส่กระดาษและใส่ลงในโถ เลือกบางชิ้นขึ้นมาและทำตามนั้น เช่น กระโดดขาเดียว 10 ทีในห้องครัว
  16. ตามล่าหาสมบัติ: บอกให้พวกเขาตามหาบางอย่างที่นุ่มและเป็นสีม่วง หรือบางอย่างที่สามารถเล่นดนตรีได้และนำกลับมาให้คุณ
  17. ทดสอบสมดุล: วางจานกระดาษลงบนศีรษะของลูกและให้พวกเขาเดินข้ามห้อง คุณอาจจะทำให้ยากขึ้นด้วยการเพิ่มสิ่งของต่าง ๆ ลงไปบนจาน เช่น ถุงถั่ว (ง่าย) หรือลูกปิงปอง (ยากขึ้น)
  18. สมมติว่ากำลังเล่นรถไฟเหาะ: นั่งบนเก้าอี้ก่อนเลียนแบบการเล่นด้วยการโน้มไปข้างหน้า ข้างหลัง (เหมือนเวลาลงเขา) เอียงข้าง (เหมือนเวลารถไปเลี้ยงโค้ง) ยกมือขึ้นในอากาศ (เหมือนเวลาลงเนิน) และคุณสามารถปลดเข็มขัดได้หลังจากจบการเล่น
  19. หายใจและเคลื่อนไหว : ให้ลูกของคุณยืนและค่อย ๆ เพิ่มการเคลื่อนไหวต่อการหายใจแต่ละครั้ง คุณอาจยกขาข้างหนึ่งในท่างอเข่าขณะที่หายใจเข้า (ยก) และหายใจออก (วางขา) ทำท่าการเคลื่อนไหวหลาย ๆ ท่าเพื่อทดสอบสมดุลของร่างกายและการควบคุมการหายใจ

กิจกรรมพักสมองนอกบ้าน

  1. เดินไปบริเวณใกล้ ๆ บ้าน ถ้าคุณมีสุนัขอาจจะพามันไปด้วย
  2. ขี้จักรยาน เล่นสกูตเตอร์หรือเล่นสเก็ต
  3. เล่นกับสุนัข
  4. เล่นวิ่งไล่จับกับพ่อแม่ พี่น้อง หรือเพื่อน
  5. เดาะลูกบอล หรือบาสเกตบอล หรือโยนเข้าห่วง
  6. วาดรูปตารางกระโดดและลองเล่น
  7. เล่นชิงช้า กระดานเลื่อน หรือปีนป่าย
  8. เล่นเทนนิสหรือแบดมินตันสั้น ๆ (หรือวอลเลย์บอลกับคู่หรือตีลูกเทนนิสกับกำแพง)
  9. เล่นเกม 7-up

อย่าลืมว่าพ่อแม่สามารถมีส่วนร่วมเล่นในกิจกรรมเหล่านี้ได้เช่นกัน เด็ก ๆ มักจะมีความสุขมากขึ้นหากพ่อแม่เข้าร่วมเล่นด้วย และคุณก็จะได้ออกกำลังกายเล็กน้อยด้วยเช่นกัน


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Catherine Holecko, Brain Breaks for Busy Kids (https://www.verywellfamily.com/brain-breaks-for-busy-kids-1257211)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ลดความกังวลของเด็กในวันแข่งกีฬา
ลดความกังวลของเด็กในวันแข่งกีฬา

รู้สึกไม่มั่นใจในวันแข่งขัน? นี่เป็นวิธีที่สามารถช่วยลดความวิตกกังวลในการเล่นกีฬา

อ่านเพิ่ม
การไอแบบครูปคือะไร?
การไอแบบครูปคือะไร?

ครูป: การติดเชื้อไวรัสที่พบได้บ่อยในเด็ก

อ่านเพิ่ม