ยาคุมสูตร 24/4

เผยแพร่ครั้งแรก 17 ธ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 ม.ค. 2023 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ยาคุมสูตร 24/4

แนวคิดเดิมในการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม จะให้ผู้ใช้ยาได้รับฮอร์โมนต่อเนื่องกันนาน 21 วัน จากนั้นก็ปล่อยให้ไม่ได้รับฮอร์โมนอีก 7 วัน เพื่อให้เกิดการหลุดลอกของเยื่อบุมดลูก และมีเลือดออกมาเลียนแบบการมีประจำเดือนตามธรรมชาติ จึงนิยมเรียกยาคุมดังกล่าวว่าเป็นยาคุมสูตร 21/7 (21/7 regimen) ตามลักษณะของการได้รับและไม่ได้รับฮอร์โมนในแต่ละรอบของการใช้ยาคุม 1 แผง

ซึ่งยาคุมสูตร 21/7 จะหมายรวมทั้งยาคุมที่มีเม็ดยาฮอร์โมน 21 เม็ด + เม็ดแป้ง 7 เม็ด รวมเป็น 28 เม็ดใน 1 แผง และยาคุมที่มีเม็ดยาฮอร์โมน 21 เม็ดใน 1 แผง โดยที่ไม่มีเม็ดแป้งรวมอยู่ในแผงยาเลย ซึ่งผู้ใช้ยาจะต้องเว้นว่าง 7 วันในช่วงปลอดฮอร์โมนแทนการรับประทานเม็ดแป้งนั่นเอง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อย่างไรก็ตาม การที่มีช่วงปลอดฮอร์โมนนาน 7 วันอาจมีผลต่อประสิทธิภาพในการคุมกำเนิด เพราะบางการศึกษาชี้ว่าในช่วงที่ไม่ได้รับฮอร์โมน แม้จะไม่พบว่ามีไข่ตก แต่ก็อาจมีการเจริญเติบโตของฟองไข่ในรังไข่ได้

อีกทั้งการขาดยาไป 7 วัน ทำให้ระดับฮอร์โมนลดลงจนแตกต่างจากช่วงที่ได้รับฮอร์โมนมาก ความแปรปรวนของฮอร์โมนดังกล่าวอาจทำให้เกิดกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน (Premenstrual syndrome หรือ PMS) ได้แก่ ปวดศีรษะ, เจ็บคัดตึงเต้านม, บวมน้ำ, ซึมเศร้า หรือหงุดหงิดโมโหง่าย ซึ่งรบกวนคุณภาพชีวิตของผู้ใช้ยาเป็นอย่างมาก (รวมถึงคุณภาพชีวิตของผู้คนรอบข้างของผู้ที่ใช้ยาด้วย ฮ่า...)

จึงมีการพัฒนายาคุมกำเนิดสูตร 24/4 (24/4 regimen) ขึ้นมา เพื่อลดระยะเวลาปลอดฮอร์โมนให้เหลือเพียง 4 วัน และยังลดปริมาณฮอร์โมนในยาแต่ละเม็ดลงด้วย (โดยเฉพาะฮอร์โมนเอสโตรเจน)

ดังนั้น จุดเด่นของยาคุมสูตร 24/4 นอกจากจะลดกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือนได้ดี (หลังจากใช้ยาคุมครบ 3 เดือน) และสามารถยับยั้งไข่ตกได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ก็ยังมีผลข้างเคียงจากยาน้อยกว่ายาคุมสูตร 21/7 อีกด้วยค่ะ จึงไม่ค่อยพบปัญหาเรื่องคลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ เจ็บคัดตึงเต้านม บวมน้ำ ฝ้า สิว และหน้ามัน ในระหว่างที่ใช้ยาคุม

อีกทั้งยังพบว่า ผู้ใช้ยาคุมสูตร 24/4 มักจะมีเลือดประจำเดือนออกมาน้อยกว่า และมีระยะเวลาที่เป็นประจำเดือนสั้นกว่าผู้ที่ใช้ยาคุมสูตร 21/7 จึงอาจเป็นทางเลือกที่น่าสนใจในผู้ที่มีปัญหาสืบเนื่องจากการมีประจำเดือน เช่น เลือดออกมากจนเสี่ยงต่อการเกิดภาวะซีด หรือมีอาการปวดประจำเดือนรุนแรง

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากยาคุมสูตร 24/4 มีปริมาณฮอร์โมนน้อยกว่ายาคุมแบบดั้งเดิมส่วนใหญ่ จึงอาจทำให้เกิดเลือดกะปริบกะปรอยได้ง่ายในช่วงที่ใช้ยาคุม 1 – 3 แผงแรก โดยเฉพาะถ้ารับประทานไม่ตรงเวลา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

นอกจากนี้ ผู้ที่มีปัญหาลืมรับประทานยาบ่อย ๆ, น้ำหนักตัวมาก (ตั้งแต่ 70 กิโลกรัมขึ้นไป) หรือต้องรับประทานยาหรือสมุนไพรบางชนิดอยู่เป็นประจำ (ได้แก่ ยาบางตัวในกลุ่มยากันชัก / ยารักษาวัณโรค / ยาต้านไวรัสเอดส์ และสมุนไพรเซนต์จอห์นเวิร์ต) อาจไม่เหมาะกับการใช้ยาคุมสูตร 24/4 เพราะประสิทธิภาพของยาอาจลดลง เสี่ยงต่อการคุมกำเนิดล้มเหลวและตั้งครรภ์ตามมาได้

การเปรียบเทียบยาคุมสูตร 24/4 ที่มีจำหน่ายในประเทศไทยในปัจจุบัน (สิงหาคม 2561)

ยี่ห้อ

มินิดอซ

ไมนอซ

ยาส

ซินโฟเนีย

ภาพตัวอย่าง

ฮอร์โมนเอสโตรเจน ต่อเม็ด

Ethinylestradiol

0.015 มิลลิกรัม

Ethinylestradiol

0.015 มิลลิกรัม

Ethinylestradiol

0.020 มิลลิกรัม

Ethinylestradiol

0.020 มิลลิกรัม

ฮอร์โมนโปรเจสติน ต่อเม็ด

Gestodene

0.060 มิลลิกรัม

Gestodene

0.060 มิลลิกรัม

Drospirenone

3 มิลลิกรัม

Drospirenone

3 มิลลิกรัม

จุดเด่น

  • พบอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ สิว หรือบวมน้ำ ได้น้อยมาก
  • ต้านสิวและการบวมน้ำ
  • พบอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ ได้น้อย
  • พบเลือดออกกะปริบกะปรอยได้มากกว่ายาสและซินโฟเนีย
  • ราคาแพงกว่ามินิดอซและไมนอซ

จุดด้อย

ราคา

170 – 230 บาท

110 – 150 บาท

400 – 450 บาท

320 – 360 บาท

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Cycle control and bleeding pattern of a 24/4 regimen of drospirenone 3 mg/ethinylestradiol 20 μg compared with a 21/7 regimen of desogestrel 150 μg... National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/21721590)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป