เช็กลิสต์ 20 อาการ คุณเข้าข่ายเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดหรือไม่

เช็กอาการโรคหัวใจและหลอดเลือดกันหน่อย ใน 20 อาการนี้คุณมีอาการไหนบ้าง
เผยแพร่ครั้งแรก 23 ม.ค. 2020 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
เช็กลิสต์ 20 อาการ คุณเข้าข่ายเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดหรือไม่

หัวใจเป็นอวัยวะที่ทำงานตลอดเวลานับตั้งแต่ปฎิสนธิเป็นตัวอ่อนจนกระทั่งเสียชีวิตลง หัวใจทำหน้าที่เหมือนเครื่องปั๊มน้ำของร่างกาย ทั้งสูบฉีดเลือด สารอาหาร และออกซิเจน ไปเลี้ยงเซลล์ต่างๆ ของร่างกาย และรับเลือดเสียจากร่างกายส่งกลับไปฟอกใหม่ที่ปอด

เมื่อไรก็ตามที่หัวใจและหลอดเลือดเกิดความผิดปกติ เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพริ้ว จะส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตในหลายๆ ด้านอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจหัวใจและหลอดเลือดวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 294 บาท ลดสูงสุด80%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

หากอาการรุนแรงมากๆ ก็อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ภายในเวลาไม่นาน เช่น หัวใจล้มเหลว หัวใจวาย กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน

  • ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก พ.ศ.2562 พบว่า โรคหัวใจขาดเลือดเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของคนทั่วโลก คือ ราว 9.2 ล้านคน
  • ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2561 พบว่า คนไทยป่วยด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือด 432,943 คน มีอัตราการเสียชีวิตสูงถึง 20,855 คน หากคิดเป็นวันจะเฉลี่ยวันละ 57 คน หากคิดเป็นชั่วโมง จะเฉลี่ยชั่วโมงละ 2 คน
  • โรคหัวใจและหลอดเลือดเป็น 1 ใน 5 อันดับแรกของปัญหาสุขภาพคนไทย และเป็น 1 ใน 5 อันดับแรกของสาเหตุการเสียชีวิตในกลุ่มผู้เป็นโรคเรื้อรัง

โรคหัวใจและหลอดเลือดมีสัญญาณของโรคหลายๆ อย่างคล้ายกับอีกหลายโรคจึงทำให้หลายคนไม่รู้ตัวว่า “ตนเองกำลังเสี่ยง” ต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด

หากสงสัยว่า คุณเข้าข่ายโรคหัวใจและหลอดเลือด หรือไม่ ลองทำเช็คลิสท์ 20 ข้อต่อไปนี้

  • เจ็บหน้าอกแบบแปล๊บๆ เหมือนเข็มแทง เมื่อออกแรง เปลี่ยนอิริยาบถ เช่น เดินเร็ว วิ่งขึ้นบันได หรือมีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ฉับพลัน เช่น โกรธ ตื่นเต้น บางครั้งแม้แต่ในขณะหยุดนิ่งก็มีอาการเจ็บหน้าอก
  • เจ็บแน่นหน้าอก หรือเจ็บหน้าอกร้าวไปยังบริเวณคอ กราม ไหล่ และแขน
  • เหนื่อยง่าย หายใจถี่กระชั้น หัวใจเต้นเร็ว
  • หายใจเหนื่อยหอบ หายใจไม่ออก
  • มีอาการเป็นลม หน้ามืด วูบ หรือหมดสติ
  • คลื่นไส้อาเจียน
  • มีเหงื่อออกตามร่างกาย
  • มีอาการบวมตามร่างกาย เช่น ขาบวม
  • ชื่นชอบการรับประทานอาหารรสจัด เช่น เค็มจัด หวานจัด
  • ชื่นชอบการรับประทานอาหารมันๆ ของทอด อาหารแปรรูป เบเกอรี่
  • ไม่รับประทานผักและผลไม้
  • ดื่มเครื่องดื่มแอลกฮอล์ปริมาณมากๆ เป็นประจำ
  • สูบบุหรี่ หรือใช้สารเสพติด
  • พักผ่อนน้อย
  • มีความเครียดสูง หรือวิตกกังวลบ่อยๆ
  • ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง อ้วน ไทรอยด์เป็นพิษ
  • ไม่ออกกำลังกาย
  • คนในครอบครัวมีประวัติการป่วยด้วยโรคหัวใจ
  • ผู้หญิงหลังหมดประจำเดือน
  • ผู้หญิงที่รับประทานยาคุมกำเนิด

ถ้าคำตอบของคุณคือ “ใช่” เกิน 5 ข้อ คุณอาจมีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด หรืออาจมีความผิดปกติเกิดขึ้นกับหัวใจได้ แต่จะถึงขั้นเป็นโรคหรือไม่ จำเป็นต้องได้รับการซักประวัติอย่างละเอียด ตรวจสุขภาพหัวใจ ตรวจสมรรถภาพหัวใจ หรือตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ภายใต้การดูแลของแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญ เพื่อหาสาเหตุ ตรวจวินิจฉัย และเข้าสู่กระบวนการรักษาอย่างถูกต้องต่อไป

โรคหัวใจและหลอดเลือดยิ่งตรวจพบได้ไว ยิ่งเริ่มการรักษาได้เร็ว และลดความเสี่ยงเสียชีวิตลงได้มากเท่านั้น

ดูแพ็กเกจตรวจหัวใจ ตรวจสมรรถภาพหัวใจ หรือตรวจคลื่นไฟฟ้า เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android

รวมบทความที่เกี่ยวข้องโรคหัวใจ


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, แนวทางการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด (http://www.thaincd.com/document/file/download/knowledge/โรคหัวใจและหลอดเลือด.pdf), 22 มกราคม 2563.
สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์, อาการโรคหัวใจ (http://www.thaiheart.org/รู้จักหัวใจ/อาการโรคหัวใจ.html), 22 มกราคม 2563.
World Health Organization. The top 10 causes of death (https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/the-top-10-causes-of-death), 23 มกราคม 2563.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)