โรคบิด มี 2 ชนิด คือ โรคบิดอมีบา และ โรคบิดแบซิลารีย์

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
โรคบิด มี 2 ชนิด คือ โรคบิดอมีบา และ โรคบิดแบซิลารีย์

โรคบิด ความหมายทั่ว ๆ ไป หมายถึง โรคท้องร่วงที่มีอาการปวดบิดท้อง ถ่ายบ่อยจะรู้สึกปวดท้องมาก อุจจาระที่ถ่ายมีเนื้ออุจจาระเพียงเล็กน้อย ส่วนมากเป็นมูกอาจมีเลือดปนด้วย ในรายที่รุนแรงอาจมีเลือดออกมาได้

โรคบิดมี 2 ชนิด คือ

  1. โรคบิดอมีบา (บิดมีตัว)
  2. โรคบิดแบซิลารีย์ (บิดไม่มีตัว)

โรคบิดอมีบา (บิดมีตัว)

a17.gif เกิดจากปาราสิต ชื่อ แอนตามีบา ฮิสโตลิติกา (Entamoeba histolytica) ซึ่งเป้นโปรโตซัวลำไส้ที่พบบ่อยในเขตร้อนและโดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนาที่ระบบการสาธารณสุขยังไม่ดีพอ โรคบิดอมีบาติดต่อโดยการกิน การสุขาภิบาลของครอบครัวไม่ดี เช่น การไม่มีส้วมที่สุขลักษณะ อาชีพเกษตรกรรมอันเป็นลักษณะทั่วไปของประเทศกำลังพัฒนา ทำให้ต้องออกจากบ้านไปทำไร่ทำนาไกลไม่สะดวกจะกลับบ้านเพื่อถ่ายอุจจาระ ส่วนใหญ่จะอาศัยสุมทุมพุ่มไม้กำบังและถ่ายตามพื้นดิน เมื่อมีฝนตกน้ำฝนจะชะเอาอุจจาระลงไปเจือในแหล่งน้ำกินน้ำใช้ การใช้อุจจาระแทนปุ๋ยทำให้เชื้ออมีบาอาจติดอยู่บนใบผักและผักนั้นถูกนำไปปรุงอาหาร กินแบบดิบ ๆ หรือครึ่งสุกครึ่งดิบ การสุขศึกษาส่วนบุคคลไม่ดีใช้มือที่สกปรกปรุงหรือเสริฟอาหารทำให้โรคระบาดได้ การเก็บอาหารไม่ถูกสุขลักษณะทำให้แมลงวันหรือแมลงสาบที่ไปตอมอุจจาระมาแล้ว เกาะตอมอาหารการกินทำให้อาหารมีเชื้อบิดเจือปนได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท



ลักษณะของโรค ในช่วง 1-2 วันแรก ของโรคนี้จะมีการถ่ายบ่อย ลักษณะอุจจาระมีเนื้ออุจจาระมากอาจเละหรือเหลวเป็นน้ำแต่ไม่มีมูก ท้องไม่ปวดมากอาจรู้สึกตัวร้อนไม่สบายเพียงเล็กน้อย หรือไม่มีเลย วันต่อมาจะมีอาการปวดบิดมากขึ้น อุจจาระเป็นมูก เนื้ออุจจาระน้อย อาจมีเลือดปนได้ อุจจาระเป็นมูกปนเลือด

โรคบิดแบซิลารีย์ (Bacillary dysentery)

a17.gif เกิดจากบักทีเรียชนิดแบซิลัส (Bacillus) ตระกูลซิเกลล่า (Shigella) ย้อมติดสแกรมลบ ติดต่อโดยการกินอาหารหรือน้ำที่มีตัวเชื้อเจือปนอยู่ การปบเปื้อนนี้อาจมาจากแมลงวันหรือมือของผู้ปรุง หรือเสริฟอาหารหรือมือผู้บริโภคเอง เชื้อบิดซิเกลล่าทำให้เกิดการอักเสบของลำไส้ใหญ่ เป็นโรคติดต่อสำคัญในสถาบันที่มีเด็กอยู่กันอย่างยัดเยียด

ลักษณะของโรค มักจะมีอาการไข้ ปวดท้องรุนแรงอาจมีอาเจียนด้วย ในวันแรกอุจจาระจะเป็นน้ำเนื้ออุจจาระสีเขียวปนเหลือง ต่อมาจะมีมูกปน เป็นมูกเหนียวและมีเลือดปน ปวดบิดท้องบ่อยและมักถ่ายครั้งละเล็กน้อย วันหนึ่ง ๆ อาจถึง 20 ครั้ง ผู้ป่วยอาจมีไข้สูงมากและชักเหมือนอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคนี้อาจหายเองได้ในราว 10 วัน โดยการปวดบิดท้องจะค่อย ๆ ลดลง ไข้ค่อย ๆ ลดลงและการถ่ายจะน้อยลงเรื่อยจนหายเป็นปกติ
การวินิจฉัยโรค ทำได้จากประวัติของอาการและอาการแสดง การเพาะเชื้อจากอุจจาระของผู้ป่วย โรคนี้ควรจะต้องตรวจดุอุจจาระสด ๆ ด้วย เพื่อแยกโรคบิดอมีบา



การรักษา โรคบิดแบซิลารีย์มีอาการไข้และปวดบิดรุนแรงมาก การถ่ายบ่อยอาจทำให้ผู้ป่วยเสียน้ำ และเกลือแร่ไปมาก และอาจถึงตายได้ จึงควรปรึกษาแพทย์แม้ว่าโรคนี้อาจหายเองได้ก็ตาม จึงควรปรึกษาแพทย์แม้ว่าโรคนี้อาจหายเองได้ก็ตาม การรักษาเบื้องต้นสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการขาดน้ำและเกลือแร่รุนแรงคือการให้ดื่มสารละลายเกลือแร่โปรดอ่านเรื่อง “การดื่มสารละลายเกลือแร่ในโรคท้องร่วง”

การป้องกัน

  • รักษาความสะอาดของอาหาร
  • การตรวจผู้ปรุงหรือเสริฟอาหาร
  • ไม่มีวัคซีนป้องกันโรค

5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Amoebiasis. World Health Organization (WHO). (https://www.who.int/ith/diseases/amoebiasis/en/)
Amebiasis (amebic dysentery). New York State Department of Health. (https://www.health.ny.gov/diseases/communicable/amebiasis/fact_sheet.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)