กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

สรุปใจความ 4 ข้อ จากพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ฉบับที่ 17 (ล่าสุด)

สรุปใจความพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 17) ประกาศเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2564 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 7 มกราคม 2564 เป็นต้นไป
เผยแพร่ครั้งแรก 25 มี.ค. 2020 อัปเดตล่าสุด 8 ม.ค. 2021 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
สรุปใจความ 4 ข้อ จากพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ฉบับที่ 17 (ล่าสุด)

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 17) ประกาศ ณ วันที่ 6 ม.ค. 2564 ลงนามโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
  • ข้อกำหนดดังกล่าว มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 7 มกราคม 2564 เป็นต้นไป
  • สรุป 4 ข้อกำหนดของ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ฉบับที่ 17 ได้แก่ ยกระดับมาตรการป้องกันโรค ยกระดับ 5 จังหวัดพื้นที่เสี่ยง (จันทบุรี ชลบุรี ตราด ระยอง และสมุทรสาคร) ปราบปรามผู้กระทำผิดที่ทำให้เกิดการระบาดของโรค และโทษสำหรับผู้ติดเชื้อที่จงใจปกปิดข้อมูลการเดินทาง หรือแจ้งข้อมูลเท็จต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรค
  • ผู้ฝ่าฝืนข้อกำหนดซึ่งออกตามมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ย่อมเป็นความผิดซึ่งอาจต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจคัดกรองโรคโควิด 19 (COVID-19)

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือที่เรียกว่า “COVID-19” ในช่วงเดือนธันวาคมที่ผ่านมา รัฐบาลจึงได้ออกพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ฉบับที่ 17 (ฉบับล่าสุด) เพื่อแก้ไขสถานการณ์ดังกล่าว

โดยเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 17) ประกาศ ณ วันที่ 6 ม.ค. 2564 ลงนามโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี โดยมีผลบังคับใช้ตั้งวันที่ 7 มกราคม 2564 เป็นต้นไป

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจโควิด-19 (COVID-19) วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 450 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

สำหรับท่านใดที่ต้องการตรวจคัดกรองโรคโควิด-19 สามารถเข้ารับการตรวจได้ที่คลินิก โรงพยาบาลรัฐ หรือโรงพยาบาลเอกชนที่ให้บริการ ซึ่งมีทั้งการตรวจที่โรงพยาบาล หรือตรวจด้วยระบบ Drive Thru 

สรุป 4 ข้อกำหนดของ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ฉบับที่ 17

1.การยกระดับการบังคับใช้มาตรการป้องกันโรค

ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ และผู้ดูแลรับผิดชอบสถานที่ กิจกรรม หรือกิจการต่างๆ ดำเนินการเพื่อให้ผู้ใช้บริการ ผู้เดินทาง และประชาชนทั่วไปปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคอย่างเคร่งครัด ดังนี้

  • การรักษาระยะห่าง
  • การสวมหน้าการผ้า หรือหน้ากากอนามัย
  • การล้างมือ
  • การตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย
  • การติดตั้งระบบแอปพลิเคชันที่กำหนด 

นอกจากนี้รัฐบาลยังสนับสนุนให้ประชาชนติดตั้งและใช้ระบบแอปพลิเคชัน “หมอชนะ” ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันสำหรับการบันทึกการเดินทางของผู้ใช้งาน ให้ข้อแนะนำในการปฏิบัติตัว หรือข้อมูลสำคัญต่างๆ เช่น พื้นที่เสี่ยง ควบคู่ไปกับการใช้แอปพลิเคชัน “ไทยชนะ”

2.การยกระดับพื้นที่ควบคุมสูงสุดที่จำเป็นต้องมีมาตรการเข้มงวดอยู่

ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบและควบคุมการใช้เส้นทางคมนาคม หรือการใช้ยานพาหนะของประชาชนในการเดินทางเข้าออกเขตพื้นที่สถานนการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ได้แก่ “จันทบุรี ชลบุรี ตราด ระยอง และสมุทรสาคร”

นอกจากนี้ยังให้ผู้ที่อยู่ในเขตพื้นที่ดังกล่าว ติดตั้งและใช้ระบบแอปพลิเคชันหมอชนะ และสำหรับใครที่ต้องการเดินทางออกนอกพื้นที่จะต้องแสดงเหตุผลความจำเป็น โดยแสดงบัตรประชาชน หรือบัตรแสดงตนอื่นๆ ควบคู่กับเอกสารรับรอง* ที่ออกโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เว้นแต่เป็นบุคคลซึ่งได้รับยกเว้น 

ทั้งนี้ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 กระทรวงมหาดไทยกำหนด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจโควิด-19 (COVID-19) วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 450 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

*ดาวน์โหลดแบบฟอร์มเอกสารขอเดินทางข้ามจังหวัด สำหรับพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 5 จังหวัด ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด และสมุทรสาครได้ที่นี่

3.การปราบปรามและลงโทษผู้กระทำผิดอันป็นเหตุให้เกิดการระบาดของโรค

รัฐบาลมีเจตจำนงที่ชัดเจนและเด็ดขาดในการดำเนินการปราบปรามและลงโทษพนักงานเจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่ของรัฐ รวมทั้งบุคคลใดก็ตามที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับขบวนการลักลอบขนย้ายแรงงานต่างประเทศโดยมิได้ผ่านกระบวนการตรวจสอบ การคัดกรองโรค และการกักกันตัวตามมาตรการทางสาธารณสุข รวมทั้งการปล่อยปละละเลย ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ เอื้ออำนวยหรือสมรู้ร่วมคิดให้มีการเปิดบ่อนการพนันขึ้นในพื้นที่ต่างๆ ซึ่งเป็นต้นตอของการระบาดของโรคแบบกลุ่มก้อนจนส่งผลกระทบอย่างรุนแรง ซึ่งได้สั่งการและกำชับให้เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจเร่งตรวจสอบเพื่อนำตัวผู้กระทำความผิดมาดำเนินการลงโทษตามขั้นตอนของกฎหมายแล้ว รวมทั้งจะได้แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อกำกับดูแลการดำเนินการ และเสนอมาตรการป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวนี้อีกต่อไป

ให้ศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง หน่วยงานความมั่นคง และเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ ปฏิบัติการกวดขัน สอดส่องและเฝ้าระวังเพื่อป้องกันการลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย รวมถึงการเปิดให้มีการมั่วสุมลักลอบเล่นการพนัน ซึ่งเป็นต้นเหตุแห่งการระบาดของโรคในครั้งนี้ และให้ดำเนินการตามขั้นตอนทางกฎหมายทั้งทางวินัยและทางอาญาต่อไป

รัฐบาลสนับสนุนการมีส่วนร่วมตรวจสอบของภาคประชาชน หากพบเห็นการกระทำหรือการปล่อยปละละเว้นการกระทำซึ่งเป็นความผิดตามกฎหมาย และส่งผลกระทบเป็นเหตุที่ทำให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคอย่างรุนแรง สามารถแจ้งเบาะแสมาที่นายกรัฐมนตรี ผ่านศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 ทำเนียบรัฐบาล

4.โทษ

ผู้ฝ่าฝืนข้อกำหนดซึ่งออกตามมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ย่อมเป็นความผิดซึ่งอาจต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ผู้ติดเชื้อที่จงใจปกปิดข้อมูลการเดินทางหรือแจ้งข้อมูลเท็จต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อทำให้เป็นอุปสรรคต่อการสอบสวนและควบคุมโรคเป็นผลให้เชื้อโรคแพร่ออกไป อาจเข้าข่ายเป็นการฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ ซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ด้วย

สถานการณ์ COVID-19 ในประเทศไทยและทั่วโลกยังคงมีการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง การดูแลตนเองอย่างระมัดระวังจึงเป็นสิ่งสำคัญ หากจำเป็นต้องเดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยง จะต้องสวมหน้ากากอนามัย หมั่นล้างมือ และอัปเดตข้อมูลการเดินผ่านแอปพลิเคชันหมอชนะ เพื่อประเมินความเสี่ยงของตนเอง

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจคัดกรองโรคโควิด 19 (COVID-19) จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ราชกิจจานุเบกษา, ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 17) (http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/E/004/T_0001.PDF), 7 มกราคม 2564.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
แพทย์ไทยอาจพบสูตรยาต้านเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
แพทย์ไทยอาจพบสูตรยาต้านเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

แพทย์ไทยจากโรงพยาบาลราชวิถี อาจพบวิธีรักษาโคโรนาแล้ว! อ่านข้อมูลอัพเดทจากแพทย์และการแถลงข่าวของกระทรวงสาธารณะสุขได้ที่นี่

อ่านเพิ่ม
สรุปสถานการณ์ COVID-19 ในประเทศไทย
สรุปสถานการณ์ COVID-19 ในประเทศไทย

สรุปสถานการณ์โคโรน่าไวรัส ไวรัสอู่ฮั่น หรือ Covid-19 พร้อมรวบรวมแนวทางการรักษาจากประเทศต่างๆ

อ่านเพิ่ม
“Social distancing” คืออะไร แค่ไหนถึงจะห่างพอ?
“Social distancing” คืออะไร แค่ไหนถึงจะห่างพอ?

มาดูกันว่า Social distancing จะช่วยลดจำนวนผู้ติดเชื้อได้จริงหรือ? แล้วต้องเว้นระยะห่างแค่ไหนถึงจะปลอดภัยจาก COVID-19

อ่านเพิ่ม