10 สุดยอดประโยชน์ของผัก ที่หากินได้ง่ายๆในประเทศไทย

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
10 สุดยอดประโยชน์ของผัก ที่หากินได้ง่ายๆในประเทศไทย
a17.gif

 เราทราบกันดีอยู่แล้วว่าการรับประทานผักและผลไม้ดีต่อสุขภาพอย่างมาก เพราะนอกจากจะมีทั้งวิตามินและเกลือแร่ ซึ่งมีส่วนสำคัญช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับร่างกายแล้ว ในผักแต่ละชนิดยังมีสีสันที่แตกต่างกันไปชวนให้ยิ่งน่ารับประทานมากขึ้น ซึ่งสีสันสดใสไม่ว่าจะเป็นแดง เขียว ส้ม ม่วง ขาว เหล่านี้นี่แหละคือสารอาหารสำคัญในการสร้างภูมิต้านทานโรคภัยไข้เจ็บอีกด้วย ส่วนแต่ละสีจะให้คุณค่าทางอาหารต่อผู้บริโภคอย่างเราๆอย่างไร มาดูกันเลยดีกว่า


10 ผักมากคุณประโยชน์มีอะไรบ้าง?

1. ผักชี ช่วยขับลม บำรุงธาตุ ย่อยอาหาร มีน้ำมันหอมระเหย แก้หวัด มีวิตามินเอและซีสูง


2. ถั่วพู มีโปรตีน แคลเซียม ฟอสฟอรัส และสารช่วยย่อยกรดไขมันอิ่มตัว


3. ชะอม ช่วยลดความร้อนในร่างกาย ขับลมในลำไส้ มีเส้นใยคอยจับอนุมูลอิสระ


4. บัวบก มีวิตามินบีสูง ช่วยให้ร่างกายผ่อนคลาย บำรุงสมองและความจำ บำรุงผิวพรรณ ลดอาการอักเสบ


5. มะระ มีแคลเซียม ฟอสฟอรัส เป็นยาระบายอ่อนๆ ถ้านำมาคั้นน้ำดื่มจะช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด


6. ตำลึง มีวิตามินเอสูง ซึ่งดีต่อดวงตา พร้อมเส้นใยจับไนเตรด ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร


7. คะน้า มีแคลเซียมและสารต้านอนุมูลอิสระสูง ป้องกันโรคกระดูกพรุน และมะเร็ง


8. หอมหัวใหญ่ ช่วยลดอาการของโรคหัวใจ ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด



9. ต้นหอม มีน้ำมันหอมระเหย ช่วยบรรเทาอาการหวัด และมีสารฟลาโลนอยด์ช่วยต้านมะเร็ง


10. ผักกาดขาว ช่วยระบบย่อยอาหาร ขับปัสสาวะ แก้ไอ มีโฟเลตสูง ช่วยบำรุงคุณแม่ตั้งครรภ์


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Medicinal plants used with Thai Traditional Medicine in modern healthcare services: a case study in Kabchoeng Hospital, Surin Province, Thailand. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/22366679)
Concealed use of herbal and dietary supplements among Thai patients with type 2 diabetes mellitus. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5569552/)
Clinical Effects of Thai Herbal Compress: A Systematic Review and Meta-Analysis. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4377500/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป