กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

10 ข้อควรปฏิบัติขณะตั้งครรภ์

ข้อควรปฏิบัติแบบง่ายๆ สำหรับสตรีมีครรภ์ สามารถจำและทำได้ทันที
เผยแพร่ครั้งแรก 5 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 14 ม.ค. 2021 ตรวจสอบความถูกต้อง 11 เม.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
10 ข้อควรปฏิบัติขณะตั้งครรภ์

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • คุณแม่ตั้งครรภ์ จำเป็นต้องดูแลตัวเอง และดูแลอีกหนึ่งชีวิตที่อยู่ในท้องด้วย ดังนั้น การทานอาหาร ปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิต ทำจิตใจให้ผ่อนคลาย พื่อความปลอดภัยระหว่างตั้งครรภ์
  • การฝากครรภ์ คือ สิ่งแรกที่คุณแม่ควรทำ เพราะ การฝากครรภ์ช่วยให้แพทย์ และคุณแม่เอง รู้ถึงพัฒนาการ ความแข็งแรงของทารก หากเกิดความผิดปกติในระหวางนี้ จะช่วยให้ตรวจสอบได้ง่ายขึ้น
  • การทานอาหาร เพิ่มแร่ธาตุ วิตามินบำรุงทั้งคุณแม่และทารก ควรเน้นอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ รวมถึงแร่ธาตุอื่นๆ ที่ควรเสริมเพิ่ม เช่น แคลเซียม เหล็ก โฟเลท วิตามิน C, B12 และ วิตามิน D และดื่มน้ำมากๆ
  • การออกกำลังกายเบา ๆ และควบคุมน้ำหนักให้พอดี ลดอาหารประเภทที่มีไขมันมาก ช่วยลดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ขณะตั้งท้อง
  • ดูแพ็กเกจฝากครรภ์ คลอดบุตรที่นี่

การดูแลตัวเองของคุณแม่ที่เพิ่งจะตั้งครรภ์มีผลมากต่อทารกในครรภ์ค่ะ วันนี้เรามี 10 ข้อที่คุณแม่ควรปฏิบัติเมื่อรู้ว่ากำลังตั้งครรภ์มาฝากค่ะ

10 ข้อควรปฏิบัติขณะตั้งครรภ์

ความจริงแล้วในแต่ละข้อนั้นมีเนื้อหารายละเอียดในแนวลึกอีกมาก แต่สำหรับในวันนี้จะแนะนำข้อหลักๆ ดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  1. ฝากครรภ์อย่างเหมาะสม ให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญคอยดูแล เพื่อคอยให้คำแนะนำที่ดี ติดตามการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ให้เป็นปกติและเฝ้าระวังปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการตั้งครรภ์

  2. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อช่วยให้ทั้งแม่และลูกมีสุขภาพที่ดี แข็งแรง ควรเน้นอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ รวมถึงแร่ธาตุอื่นๆ ที่ควรเสริมเพิ่ม เช่น แคลเซียม เหล็ก โฟเลท วิตามิน C, B12 และ วิตามิน D อันได้แก่ นม ไข่ กุ้ง ปลา เป็ด ไก่ เนื้อหมู ผักสด และดื่มน้ำมากๆ ทั้งนี้ควรจะปรึกษาแพทย์เพิ่มเติมด้วย

  3. ออกกำลังและบริหารร่างกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อช่วยลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ คุณแม่สามารถเดิน เล่นกีฬาประเภทว่ายน้ำ กัมตัวบริหารโดยการเอานิ้วแตะเท้าก็ทำได้ โดยท่าการออกกำลังกายควรจะปรึกษาแพทย์ก่อน ไม่ควรออกกำลังกายหนักจนเกินไป

  4. ควบคุมน้ำหนักตัวให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่ได้มาตรฐาน การเพิ่มขึ้นของน้ำหนักอย่างค่อยเป็นค่อยไปจะดีและปลอดภัยกว่า  นอกจากนั้นยังง่ายในการลดน้ำหนักภายหลังการคลอด ดังนั้นเพื่อไม่ให้น้ำหนักตัวเพิ่มมากจนเกินไป คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงอาหารหวานจัด และอาหารที่มีไขมันมาก

  5. งดสูบบุหรี่อย่างเด็ดขาด และหลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีควันบุหรี่ เพราะควันบุหรี่มีผลต่อทารกในครรภ์สูง

  6. งดดื่มเหล้าและแอลกอฮอล์ทุกชนิด เพราะอาจทำให้ทารกในครรภ์ผิดปกติ น้ำหนักน้อย และตัวเล็ก

  7. ระวังการใช้ยา หากเจ็บป่วยไม่ควรหายามากินเองเป็นอย่างยิ่ง แม้ว่าจะเป็นไข้หรือปวดท้องเพียงเล็กน้อยก็ตาม ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเพราะยาบางชนิดมีผลต่อเด็กทารกในครรภ์ค่ะ

  8. หลีกเลี่ยงสารพิษและมลภาวะไม่ว่าจะเป็นเสียง แสง อากาศ ควรหาที่พักที่มีความร่มรื่น อากาศถ่ายเทสะดวก

  9. หลีกเลี่ยงภาวะการติดเชื้อ หากติดเชื้อใดๆ จะต้องรีบรักษาให้หายโดยเร็วที่สุด เพราะการติดเชื้อของแม่อาจส่งผลต่อทารกในครรภ์ได้เช่นกัน

  10. พักผ่อนอย่างเพียงพอ อย่ายกของหนักหรือทำงานหนักเกินไป

2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศิริราช, คู่มือการปฏิบัติตัวในขณะตั้งครรภ์ (https://bit.ly/2uYz8pY)
เสบียง ศรีวรรณบูรณ์, การปฏิบัติตนระหว่างตั้งครรภ์ (http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=175), 10 กรกฎาคม 2553

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่

เรื่องง่ายๆ ที่คุณแม่ทุกคนต้องใส่ใจเพราะอัตราการเต้นของหัวใจสัมพันธ์กับความปลอดภัยของลูกน้อย

อ่านเพิ่ม
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ภาวะถุงน้ำคร่ำอักเสบ (Chorioamnionitis)
ภาวะถุงน้ำคร่ำอักเสบ (Chorioamnionitis)

ภาวะติดเชื้อในมดลูกจัดเป็นภาวะที่รุนแรง

อ่านเพิ่ม