กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs

Antiphospholipid Syndrome (กลุ่มอาการต้านฟอสโฟลิพิด)

เผยแพร่ครั้งแรก 13 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที

กลุ่มอาการต้านฟอสโฟลิพิด (Antiphospholipid syndrome) คือกลุ่มความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันทำลายตนเองที่ไปกำจัดสารที่เรียกว่าฟอสโฟลิพิด ซึ่งเป็นสารจำพวกไขมันที่เป็นส่วนประกอบของเซลล์ทั่วๆ ไปทั้งหมดในร่างกาย แต่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายกลับตรวจพบว่าสารฟอสโฟลิพิดของร่างกายนั้นเป็นสิ่งแปลกปลอม จึงส่งแอนติบอดี้ไปทำลายและกำจัดทิ้ง ซึ่งการทำลายดังกล่าวกระตุ้นให้การเกิดการแข็งตัวของเลือดขึ้น ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ตามมา รวมไปถึงภาวะแท้งบุตร

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของกลุ่มอาการต้านฟอสโฟลิพิด

กลุ่มอาการต้านฟอสโฟลิพิด หรือที่รู้จักอีกชื่อหนึ่งว่า กลุ่มอาการฮิวจส์ (Hughe) สามารถเกิดขึ้นในคนทุกเพศทุกวัย แต่จะมีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น หากคุณมีภาวะดังต่อไปนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • เป็นผู้หญิง
  • เป็นโรคระบบภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ หรือโรคพุ่มพวง
  • เป็นโรคติดต่อ เช่น โรคซิฟิลิส โรคไลม์(Lyme) โรคไวรัสตับอักเสบซี โรคติดเชื้อเอชไอวี หรือโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง
  • รับประทานยาบางชนิด เช่น ยาฆ่าเชื้อ Amoxicillin ยากันชัก Phenytoin ยาควบคุมระดับความดันโลหิต Hydralazine หรือยารักษาโรคหัวใจ Quinidine
  • มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคดังกล่าว

อาการและภาวะแทรกซ้อนของกลุ่มอาการต้านฟอสโฟลิพิด

อาการของกลุ่มอาการต้านฟอสโฟลิพิดนั้นขึ้นอยู่กับว่าการแข็งตัวของเลือดเกิดขึ้นที่ตำแหน่งใด ในเส้นเลือดแดงหรือเส้นเลือดดำ

โดยกลุ่มอาการต้านฟอสโฟลิพิดจะสามารถทำให้เกิดปัญหาทางสุขภาพหรือโรคอื่นๆ ดังต่อไปนี้ตามมาได้

  • การแท้งบุตรหรือทารกตายในครรภ์หลายครั้ง
  • ภาวะครรภ์เป็นพิษ (ภาวะที่หญิงตั้งครรภ์มีความดันโลหิตสูง ไตผิดปกติ และบวมน้ำ)
  • ภาวะคลอดบุตรก่อนกำหนด
  • ภาวะทารกน้ำหนักแรกคลอดน้อยกว่ากำหนด
  • เส้นเลือดสมองอุดตัน
  • หัวใจล้มเหลว
  • ปัญหาโรคไต
  • ภาวะเส้นเลือดที่ขาอุดตัน (Deep vein thrombosis: DVT) หรือเส้นเลือดที่ปอดอุดตัน (Pulmonary embolism)
  • ความดันโลหิตที่ปอดสูง (Pulmonary embolism)
  • กระดูกบางส่วนตาย
  • ปวดศรีษะไมเกรน
  • ชัก
  • มีเลือดออกเป็นบางครั้ง

ไม่ใช่ผู้ป่วยกลุ่มอาการต้านฟอสโฟลิปิดทุกคนจะต้องมีปัญหาการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ บางคนอาจไม่เคยมีอาการดังกล่าวหรือไม่เคยมีปัญหาสุขภาพต่างๆ มาก่อน

ในผู้ป่วยบางราย อาจมีอาการหลังจากมีภาวะหรือพฤติกรรมดังต่อไปนี้

  • ภาวะตั้งครรภ์
  • ผ่าตัด
  • สูบบุหรี่
  • ใช้ยาคุมกำเนิด
  • ระดับคอเลสเตอรอลหรือไขมันในเลือดสูง
  • มีช่วงเวลาที่อยู่นิ่งกับที่นาน เช่น มีประวัติเจ็บป่วย ได้รับบาดเจ็บ หรือนั่งเครื่องบินนาน

การวินิจฉัยกลุ่มอาการต้านฟอสโฟลิพิด

กลุ่มอาการต้านฟอสโฟลิพิดนั้นวินิจฉัยได้โดยการทดสอบระดับแอนติบอดีในเลือด ซึ่งจะวินิจฉัยว่ามีความผิดปกติดังกล่าวก็เมื่อตรวจพบแอนติบอดีทั้ง 2 ครั้งในการตรวจเลือด โดยการทดสอบแต่ละครั้งจะทำห่างกันอย่างน้อย 12 สัปดาห์

การรักษากลุ่มอาการต้านฟอสฟอลิพิด

กลุ่มอาการต้านฟอสฟอลิพิดสามารถรักษาได้โดยการใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด ตัวยาจะทำให้หลอดเลือดมีขนาดเล็กลง ซึ่งจะช่วยหยุดการสร้างลิ่มเลือด การรับประทานยาดังกล่าวจะต้องระมัดระวังเป็นอย่างมากในหญิงตั้งครรภ์ แต่ยานี้ก็สามารถช่วยให้หญิงตั้งครรภ์สามารถคลอดบุตรได้สำเร็จได้ นอกจากนี้ ยายังช่วยลดปัญหาที่อาจตามมาได้ เช่น โรคเส้นเลือดอุดตันในสมอง หรืออวัยวะล้มเหลวจากการเกิดกลุ่มอาการต้านฟอสฟอลิพิด


11 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Schreiber, K., Sciascia, S., de Groot, P. et al. Antiphospholipid syndrome. Nat Rev Dis Primers 4, 17103 (2018). https://doi.org/10.1038/nrdp.2017.103. Nature. (Available via: https://www.nature.com/articles/nrdp2017103)
Antiphospholipid syndrome: Symptoms, treatment, and diagnosis. Medical News Today. (Available via: https://www.medicalnewstoday.com/articles/181700)
Antiphospholipid syndrome (APS) - Symptoms, treatments. Versus Arthritis. (Available via: https://www.versusarthritis.org/about-arthritis/conditions/antiphospholipid-syndrome/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
ทำไมมีรอบเดือนแล้วปวดหัวข้างเดียว
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
สวัสดีค่ะ อายุ 25ปี มีอาการปวดตามข้อต่างๆทั้งแขนและขา ข้อนิ้วมือและเท้า ข้อมือ ข้อพับ ข้อเข่า ข้อเท้า อาการปวดไม่รุนแรงแต่รบกวนการใช้ชีวิตประจำวันพอสมควร ไม่ทราบว่าตรงนี้สามารถซื้อยาบรรเทาอาการปวดข้อกระดูกมารับประทานเองได้ไหมคะ หรือควรไปพบแพทย์ไหมคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
สิวขึ้น เจ็บนม ปวดท้องน้อยหายๆปวดๆ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
เวียนหัว ปวดท้ายทอย. ร้อนหน้าวูขวาบ. อายุ42 อยากไปตรวจร่างกาย
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)