กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

ใบกระท่อม

ใบกระท่อมคืออะไร อาการผู้เสพ โทษและสถานบำบัดเมื่อต้องการเลิกเสพ
เผยแพร่ครั้งแรก 17 ม.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 28 มิ.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
ใบกระท่อม

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ใบกระท่อม เป็นพืชเสพติด ซึ่งมีฤทธิ์เป็นยาชูกำลังที่ทำให้ผู้เสพมีกำลังวังชามากขึ้น ไม่ง่วง คลายความเหนื่อยล้าได้ดี มักถูกใช้เสพในหมู่ผู้ใช้แรงงาน คนขับรถบรรทุก
  • ผู้เสพใบกระท่อมมักจะเสพโดยใช้การเคี้ยว หากไม่ได้เคี้ยวบ่อยก็จะไม่ติด แต่หากเคี้ยวในปริมาณมาก และต่อเนื่องทุกวัน ก็มีโอกาสที่จะติดใบกระท่อมได้
  • อาการลงแดงเมื่อไม่ได้เสพใบกระท่อมนั้น สามารถส่งผลกระทบต่อร่างกายได้หลายด้าน เช่น ไม่มีแรง ปวดเมื่อยตามตัว และกระดูก เกิดอาการซึมเศร้า นอนไม่หลับ กระวนกระวาย ความดันโลหิตสูงขึ้น
  • การมีใบกระท่อมไว้ครอบครองถือเป็นสิ่งผิดกฎหมาย ถึงแม้ในขณะนี้ ใบกระท่อมจะอยู่ในขั้นตอนการถอดถอนจากบัญชียาเสพติด แต่ผู้ที่ครอบครองใบกระท่อมจะมีโทษทางกฎหมาย ทั้งจำคุก หรือปรับเงิน
  • ผู้ใช้ใบกระท่อมมักใช้สารเสพติดชนิดนี้เพื่อให้มีกำลังวังชา จะได้ทำงานได้ยาวนานมากขึ้น แต่ความจริงแล้ว วิธีฟื้นฟูพละกำลังที่ดีที่สุด คือ รักษาสุขภาพให้แข็งแรง พักผ่อนให้เพียงพอ และไปตรวจสุขภาพเป็นประจำ
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสารเสพติด

ใครหลายคนคงรู้จักใบกระท่อมอยู่แล้ว เพราะใบกระท่อมถูกนำมาเป็นยาชูกำลัง (ที่ผิดกฎหมาย) ชนิดหนึ่ง ซึ่งช่วยให้ประสิทธิภาพการทำงานหรือขับรถได้ทนทานมากยิ่งขึ้น ช่วยในการคลายความเมื่อยล้า และช่วยในการทนต่อความร้อนได้เป็นอย่างดี 

ปัจจุบันรัฐบาลกำลังพิจารณาที่จะถอดใบกระท่อมออกจากบัญชียาเสพติด เพื่อให้นำไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ เพราะใบกระท่อมนั้น สามารถใช้เป็นยารักษาอาการท้องร่วง ท้องเสียได้ และยังเป็นยาระงับประสาทแบบอ่อนๆ ได้ด้วย 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

แต่ทั้งนี้ก็ยังอยู่ในขั้นตอนของการวิจัย เพราะหากใช้ในปริมาณมากเกินไป อาจส่งผลเสียให้กับผู้ป่วยได้ ไม่ต่างจากการนำใบกระท่อมมาใช้เพื่อการเสพเลยนั่นเอง

ใบกระท่อมคืออะไร?

ใบกระท่อม เป็นไม้ยืนต้นชนิดหนึ่งที่มีขนาดใหญ่พอสมควร มีความสูงอยู่ที่ประมาณ 10-15 เมตร ใบเลี้ยงเดี่ยวเป็นสีเขียว ก้านใบมีทั้งสีแดงและสีเขียว ซึ่งไม่มีความต่างกันมากนัก 

สามารถพบได้ในจังหวัดปทุมธานีมากเป็นพิเศษ ส่วนในภาคใต้จะพบตามป่าธรรมชาติ เช่น ป่าในจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา พัทลุง ยะลา 

ใบกระท่อมมีชื่อเรียกอื่นๆ อีกหรือไม่?

ใบกระท่อมไม่มีชื่อเรียกอื่นๆ นอกจากจะเรียกให้สั้นลงว่า "ใบท่อม" แต่มีการประยุกต์นำใบกระท่อมที่สำหรับเคี้ยวเฉยๆ ไปผสมเป็นเครื่องดื่มที่มีชื่อเรียกว่า "4x100 (สี่คูณร้อย)" ซึ่งมีส่วนผสม คือ ใบกระท่อม ยาแก้ไอน้ำเชื่อม โค้กหรือเป๊บซี่ น้ำเปล่า เอามาต้มผสมกันเป็นเครื่องดื่มชูกำลัง หรือเครื่องดื่มเพิ่มพลัง 

ซึ่งเครื่องดื่มชนิดนี้เป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก สำหรับแรงงานและหมู่นักเรียนที่อาศัยอยู่ในภาคใต้ เนื่องจากมีราคาไม่แพงมาก แต่สามารถสร้างความเคลิบเคลิ้มล่องลอย รวมทั้งยังเพิ่มกำลังวังชาได้ดีไม่แพ้ยาเสพติดชนิดอื่นๆ เลย

สารสำคัญในใบกระท่อม 

ใบกระท่อม ประกอบด้วยสารอัลคาลอยด์ 0.5% ได้แก่ ไมทราไจนีน (Mitragynine) 0.25% ที่เหลือเป็น สเปโอไจนีน (Speciogynine) ไพแนนทีน (Paynanthine) สเปซิโอซีเลียทีน (Speciociliatine) ตามลำดับ ซึ่งชนิดและปริมาณแอลคะลอยด์ที่พบจะแตกต่างกัน ตามสถานที่ และเวลาที่เก็บเกี่ยว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

เคี้ยวใบกระท่อม ทำให้เกิดการเสพติดได้ไหม?

โดยทั่วไปแล้ว การเคี้ยวใบกระท่อมไม่ทำให้เกิดการติดจนต้องเคี้ยวทุกวันแต่อย่างใด แต่หากเคี้ยวในปริมาณมากและเป็นเวลาต่อเนื่องทุกวัน ก็มีโอกาสที่จะติดใบกระท่อมได้ แต่หากเคี้ยวเป็นครั้งคราว หรือเป็นยารักษาโรคบางชนิดที่หายแล้วก็หยุดไป ก็จะไม่ก่อให้เกิดปัญหาใดๆ ทั้งสิ้น

กระท่อมเป็นยาเสพติดหรือไม่?

กระท่อม ถือเป็นพืชเสพติด หรือสารเสพติดที่ได้จากธรรมชาติ เพราะผู้ใช้พืชกระท่อมมีพฤติกรรมการใช้และอาการที่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์สากลในการวินิจฉัยภาวะติดสารเสพติด รวมทั้งมีอาการถอนยาจากใบกระท่อม (kratom withdrawal syndrome) ที่มีลักษณะเฉพาะ 

ภาวะเสพติดกระท่อมมีลักษณะ

ภาวะเสพติดกระท่อม อาจมีร่วมกันหลายข้อ ดังนี้ 

  • มีความต้องการใช้อย่างมาก เวลาเดินทางไปที่อื่นต้องพกพาใบกระท่อมไปด้วย 
  • ไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมการใช้ได้ เคยพยายามเลิกใช้กระท่อมแต่ไม่สำเร็จ ควบคุมตัวเองยากมากที่จะไม่ใช้กระท่อม 
  • มีอาการถอนยา เมื่อลดปริมาณหรือหยุดใช้
  • มีอาการทนต่อฤทธิ์ของกระท่อม (Tolerance) ทำให้ต้องใช้ในปริมาณมากขึ้นจึงได้ฤทธิ์เท่าเดิม
  • มีความหมกมุ่นกับการใช้กระท่อม ต้องหากระท่อมมาเคี้ยวให้ได้ทุกวัน บางคนต้องมีกระท่อมอยู่ในปากตลอดเวลา และมีกังวลใจเสมอว่าจะหากระท่อมมาใช้ได้อย่างไร

ส่วนผสมของใบกระท่อม มีอะไรบ้าง?

การเสพใบกระท่อม ไม่จำเป็นต้องผสมกับอะไรเลย เพียงแค่เคี้ยวเฉย ๆ ก็สามารถใช้ได้ เนื่องจากในใบกระท่อมมีสารชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า "ไมทราไจนีน (Mitragynine)" ซึ่งเป็นสารที่ออกฤทธิ์ในการกดประสาท เป็นสารจำพวกเดียวกับสารที่อยู่ในยาบ้าแอลเอสดี (Lysergic acid diethylamide: LSD) หรือเหล้าแห้ง

เมื่อเสพเข้าไปแล้ว หากมีอาการเมื่อยล้าก็จะหายราวกับปลิดทิ้ง เนื่องจากการออกฤทธิ์กดประสาทให้ไม่รู้สึกเจ็บปวด และยังทำให้ผู้เสพมีจิตใจร่าเริงมากขึ้น

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา

  1. ฤทธิ์แก้ปวดของสาร mitragynine ยังเป็นผลเนื่องจากการลดระดับของสัญญาณการเจ็บปวดไปยังสมองผ่านระบบ noradrenergic system และ serotonergic system และยังช่วยต้านอาการของโรคซึมเศร้า
  2. ฤทธิ์ยับยั้งการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร โดยการทดลองในหนูขาว
  3. ฤทธิ์ต้านอักเสบ (anti-inflammatory effect) มีรายงานการศึกษาคุณสมบัติต้านการอักเสบของสารสกัดเมทานอลของกระท่อม โดยฉีดเข้าช่องท้องของหนูขาว ที่เหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบที่อุ้งเท้าหนูโดยยับยั้งการอักเสบภายใน 3 ชั่วโมงแรก
  4. ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย สารสกัดใบกระท่อมมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียในลำไส้ ซึ่งสารสกัดในชั้นน้ำของกระท่อม มีผลต่อการทำงานของเอนไซม์กลูต้าไธโอน (Glutathione Transferase: GST) ในหนูขาว

โทษของใบกระท่อมตามกฎหมาย

ถึงแม้ว่าจะมีแนวโน้มที่รัฐจะตัดสินใจถอดใบกระท่อมออกจากยาเสพติด ตามพรบ.ยาเสพติด ปี 2522 แต่ ณ ขณะนี้ ใบกระท่อมก็ยังถือว่าเป็นสารเสพติดประเภทที่ 5 ซึ่งยังผิดกฎหมายอยู่ และมีโทษดังต่อไปนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • ผลิต นำเข้า ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี และมีโทษปรับไม่เกิน 200,000 บาท
  • ครอบครองเพื่อจำหน่าย หากไม่ถึง 10 กิโลกรัม จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท แต่หากมากกว่า 10 กิโลกรัมขึ้นไป มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี และมีโทษปรับไม่เกิน 200,000บาท
  • ครอบครอง (อย่างเดียว) มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท
  • เสพ มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท

อาการของผู้ที่ติดใบกระท่อม

เมื่อเสพหรือเคี้ยวใบกระท่อมไปแล้ว 5-10 นาที ใบกระท่อมจะออกฤทธิ์กดประสาทให้ผู้เสพมีความกระปรี้กระเปร่า สดชื่น ไม่รู้สึกอยากอาหาร ไม่รู้สึกเจ็บปวดหรือเมื่อยเนื้อเมื่อยตัว 

แต่หากอากาศครึ้มฟ้าครึ้มฝนเมื่อไร จะเกิดการหนาวสั่นคล้ายกับจะเป็นไข้ หากเสพไปนานๆ จะพบว่าผิวของผู้เสพมีความคล้ำลงจนดูเหมือนผิวแห้ง มีอาการท้องผูก อุจจาระแข็งเป็นก้อนเล็กๆ ทำให้ถ่ายยากกว่าปกติ นอนไม่หลับ คลื่นไส้อาเจียนจากอาการเมาใบกระท่อม

ยิ่งไปกว่านั้น หากผู้เสพเคี้ยวใบกระท่อมเลย โดยไม่ทำการฉีกออกจากก้านใบเสียก่อน ก้านจะตกลงไปอยู่ในลำไส้  ซึ่งไม่สามารถย่อยได้ก็จะกลายเป็นสิ่งสกปรกที่ตกค้างอยู่ในลำไส้ เป็นเหตุให้ร่างกายต้องแสดงกลไกป้องกันตัวด้วยการสร้างผังพืดมาหุ้มก้านใบกระท่อมนั้นไว้ ทำให้เกิดผลข้างเคียงต่างๆ ตามมาอีกมากมาย 

และหากหยุดเคี้ยวใบกระท่อมก็จะส่งผลให้มีปัญหากับร่างกายดังต่อไปนี้

  • ไม่มีแรง อ่อนเพลีย ทำงานไม่ได้
  • ปวดเมื่อยตามตัวและกระดูกส่วนต่างๆ บางรายที่เสพมากเกินไป อาจพบว่าแขนกระตุกเองได้
  • มีอารมณ์ซึมเศร้า เซื่องซึม ไม่พูดกับใคร หรือไม่ก็อาจจะก้าวร้าวไปเลย
  • มีอาการนอนไม่หลับ กระวนกระวาย
  • มีความดันหรืออุณหภูมิร่างกายที่สูงกว่าปกติ

สายด่วนและองค์กรบำบัดยาเสพติด

หากต้องการบำบัดหรือรักษาเพื่อให้ไม่ต้องพึ่งพาใบกระท่อมอีกต่อไป สามารถติดต่อสถานบำบัดตามเบอร์โทรดังนี้ได้เลย

  • สถาบันธัญญารักษ์ สายด่วน 1165
  • บ้านพิชิตใจ เขตประเวศ เบอร์โทรศัพท์ 02-329-1353
  • โครงการ To Be Number One สายด่วน 1323
  • ภูฟ้าเรสท์โฮม บ้านพักฟื้นสำหรับผู้ป่วยยาเสพติด เบอร์โทรศัพท์ 063-908-2999
  • สำนักสงฆ์วัดถ้ำกระบอก เบอร์โทรศัพท์ 036-266-292
  • เดอะ เคบิน เบอร์โทร 02-107-2545

ถึงแม้ใบกระท่อมจะดูเหมือนไม่ค่อยอันตราย แต่ก็จัดอยู่ในกลุ่มยาเสพติดประเภทที่ 5 ซึ่งไม่ควรมองข้าม เพราะสามารถเสพติดได้เช่นเดียวกัน 

ดังนั้นหากพบผู้เสพติดใบกระท่อม อย่าลืมติดต่อสายด่วนทันที หรือหากใครที่ต้องการบำบัดยาเสพติด จากการเสพติดใบกระท่อม ก็สามารถติดต่อไปที่สายด่วนและสถานที่บำบัดยาเสพติดเหล่านี้ได้เลย

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสารเสพติด จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
สาวิตรี อัษณางค์กรชัย, การวิจัยพืชกระท่อม : ผลกระทบต่อสุขภาพและสังคม (https://rdo.psu.ac.th/th/index.php/recommend/1255-2018-11-19-07-11-49)
เอกสิทธิ กุมารสิทธิ์, ผลวิจัยทางสมองชี้พืชกระท่อม ช่วยลดอาการลงเเดงจากสารเสพติดในหนูทดลอง (http://www.sc.psu.ac.th/Units/PR/Event55/355_2556/PSUSci%20Magazine.pdf), 4 ธันวาคม 2556
จุไรทิพย์ หวังสินทวีกุล, พืชกระท่อม (Kratom) (https://ccpe.pharmacycouncil.org), 2006

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)