ประเภทของโยคะ

เผยแพร่ครั้งแรก 4 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ประเภทของโยคะ

ถ้าหากว่าคุณกำลังมีความเครียด ปวดหัว ไมเกรน สุขภาพไม่ค่อยเข็งแรง หรือแม้แต่ต้องการลดความอ้วน แต่ไม่รู้ว่าจะจัดการกับปัญหาเหล่านี้อย่างไร ถ้าจะให้ไปเข้ายืมก็ดูเกร็ง ๆ ยังไงชอบกล แต่ขืนปล่อยปัญหาเอาก็ไว้ไม่ดีแน่ แนะนำให้เล่นโยคะดูไหมคะ เป็นทั้งการออกกำลังกายพร้อมทั้งฝึกลมหายใจ อีกทั้งยังช่วยฝึกสมาธิได้ด้วย และยังมีหลากหลายศาสตร์ให้เลือกตามปัญหาสุขภาพด้วยนะ

ทำไมต้องเป็นโยคะ

หลายคนชอบพูดกันว่า “หากเล่นโยคะบ่อย ๆ จะทำให้เราได้ฝึกสติและสมาธิไปด้วย” คำกล่าวนี้ไม่ผิดแต่อย่างใด แต่ท่วงท่าและการเคลื่อนไหวต่าง ๆ จะต้องมีการฝึกจิตให้มีความจดจ่อกับเรื่องลมหายใจเข้าออก จึงเป็นการบริหารและพัฒนาจิตไปในตัว ได้สร้างสมดุลของร่างกายใหม่ ได้ฝึกสมาธิ โยคะ จึงไม่ใช่แค่การออกกำลังกาย แต่เป็นรวมกาย ใจ จิต และวิญญาณ ให้เป็นหนึ่งเดียวนั่นเอง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

โยคะมีกี่ประเภท

หากพูดถึงโยคะ หลายคนมักจะถามว่ามีกี่ท่า แต่น้อยคนนักที่จะรู้ว่าโยคะนั้นมีมากกว่า 30 ประเภททั่วโลกเลยทีเดียว ทั้งนี้ไม่ได้หมายถึงเลเวลหรือระดับของการฝึกเท่านั้น แต่ถูกแบ่งออกไปตามของประโยชน์ที่จะได้รับ อาทิ บางประเภทช่วยในการฝึกสติ ลดความอ้วน รูปร่างกระชับ คลายเครียด เป็นต้น โดยที่แกนหลักก็ยังใช้ท่วงท่าที่คล้ายกัน บทความนี้จะขอยกตัวอย่างโยคะ 5 คลาสที่ได้รับความนิยมมากเป็นอันดับ ซึ่งข้อดีคือคุณสามารถเลือกประเภทของโยคะที่เหมาะกับคุณได้โดยตรง

  1. Hatha Yoga (หฐโยคะ) เน้นการรักษาความสมดุลของร่างกาย สำหรับผู้ที่ไม่เคยฝึกโยคะมาก่อนควรฝึกโยคะประเภทนี้ เพราะถือว่าเป็นต้นกำเนินของโยคะอีกหลายแขนงก็ว่าได้ หฐโยคะ เน้นการรักษาความสมดุลของร่างกาย สมดุลระกว่างพลังบวกและพลังลบการฝึกจะเน้นการหายใจ การบริหารร่างกายภายใต้การควบคุมของจิตใจ เน้นให้เกิดเกิดความผ่อนคลายมากกว่าความแข็งแรง
  2. Vinyasa Yoga (วินยาสะโยคะ) ลมหายใจประกอบกับการเคลื่อนไหว คือหลักสำคัญ โดยเน้นการเคลื่อนไหวอย่างช้า ๆ และต่อเนื่อง ถึงท่วงท่าจะอ่อนโยนแต่บอกเลยว่าผลลัพธ์นั้นไม่เบา วินยาสะ สามารถช่วยลดน้ำหนัก มีรูปร่างกระชับ ร่างกายแข็งแรง ยังช่วยลดความเครียด ฝึกสติและสมาธิได้อย่างดีทีเดียว
  3. Ashtanga Yoga (อัษฎางค์โยคะ) เหมาะสำหรับผู้ที่เล่นโยคะมานาน เพราะอัษฎางค์โยคะ ขึ้นชื่อของเรื่องท่ายากพอตัว เป็นการฝึกกระบวนท่าที่ใช้ทั้งร่างกาย ลมหายใจ  และดริชตี้ (การกำหนดจุดมองของสายตา) เคลื่อนไหวพร้อมควบคุมลมหายใจไปตลอดการฝึก
  4. Anusara yoga (อนุสราโยคะ) จุดเด่นของอนุสราโยคะคือมีความสามารถในการบำบัดรักษาโรค จึงเหมาะสำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัวต่าง ๆ ที่อาจมีอุปสรรค์ต่อการออกกำลังกายหนัก รวมทั้งผู้สูงอายุ เป็นการเน้นให้ผู้เรียนช่วยตัวเอง เน้นการใช้ทุกส่วนของร่างกาย จิตใจ และความรู้สึก ในการฝึกปฏิบัติทุกท่วงท่า พัฒนาจิตใจและความมุ่งมั่นของผู้ป่วย และอาศัยท่วงท่าในการสร้างความแข็งแรงให้กับร่างกาย
  5. Bikram Yoga (โยคะร้อน) หลายคนคงคุ้นเคยชื่อนี้ดี โยคะร้อนคือการฝึกโยคะในที่ที่มีอุณหภูมิสูง ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่ใกล้เคียงกับร่างกายหรือสูงกว่า ข้อดีคือความร้อนจะทำให้กล้ามเนื้อยืดหยุ่นได้มากกว่าเดิม ช่วยกระชับกล้ามเนื้อ เหมาะกับคนที่เหงื่อไม่ค่อยออก รับรองว่าเล่นโยคะร้อนนี้ร่างกายของคุณจะขับของเสียได้ดีเลยทีเดียว แน่นอนว่าเหมาะสำหรับคนที่ต้องการลดความอ้วนด้วย

การฝึกโยคะ ถึงแม้จะมีหลายคลาสหลายวัตถุประสงค์ แต่ทั้งหมดล้วนมาจากต้นกำเนิดเดียวกันคือ การเคลื่อนไหวอย่างช้า ไปพร้อมกับการฝึกจิต ใจ สมาธิ ความรู้สึก และความคิด ให้ค่อย ๆ สัมผัสไปกับท่วงท่าต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป การที่ร่างกายได้จดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งจึงส่งผลทั้งต่อภายในคือการมีสมาธิและจิตใจดีขึ้น และต่อภายนอกไม่ว่าจะเป็นกล้ามเนื้อ เลือด เนื้อเยื่อ และร่างกายโดยรวม ศาสตร์เหล่านี้เองที่มีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ ที่หาไม่ได้จากการออกกำลังกายประเภท

 

 


6 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Types of Yoga: Hatha, Ashtanga, Yin, and More. Everyday Health. (https://www.everydayhealth.com/yoga/types-hatha-ashtanga-yin-more/)
Types of Yoga: A Complete Guide. Healthline. (https://www.healthline.com/health/fitness-exercises/types-of-yoga)
Which Style of Yoga Is Best for You?. WebMD. (https://www.webmd.com/balance/guide/which-style-of-yoga-is-best-for-you#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป