กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

วิธีการกินยาแก้แพ้ที่ถูกต้อง เพื่อป้องกันอันตรายจากผลข้างเคียง

ยาแก้แพ้ไม่ใช่ยานอนหลับ ใช้ถูกจะเป็นประโยชน์ แต่หากใช้ผิดจะเป็นภัย
เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 28 ม.ค. 2021 ตรวจสอบความถูกต้อง 23 เม.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
วิธีการกินยาแก้แพ้ที่ถูกต้อง เพื่อป้องกันอันตรายจากผลข้างเคียง

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ยาแก้แพ้ จะมีคุณสมบัติหลักๆ คือ ต้านการหลั่งสารฮิสตามีน ซึ่งเป็นสารที่ทำให้ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้เกิดอาการแพ้ต่างๆ ขึ้น ซึ่งหากอาการผู้ป่วยไม่ดีขึ้น แพทย์อาจเปลี่ยนเป็นให้ฉีดวัคซีนแทน
  • ยาแก้แพ้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มดั้งเดิม และกลุ่มใหม่ ความแตกต่างจะอยู่ที่ฤทธิ์ยาของกลุ่มยาตัวใหม่จะไม่ทำให้ผู้ป่วยง่วงซึมเหมือนยากลุ่มดั้งเดิม
  • ห้ามรับประทานยาแก้แพ้ร่วมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เด็ดขาด รวมถึงห้ามเคี้ยว หรือบดยาเพื่อรับประทาน และในผู้ป่วยแต่ละช่วงวัย จะมีปริมาณการรับประทานยาที่ต่างกันด้วย
  • คุณควรหลีกเลี่ยงการขับขี่ยานพาหนะ อยู่กับเครื่องจักรอันตราย หรือสารเคมีหลังจากรับประทานยาแก้แพ้ เพราะอาการง่วงซึม ตาพร่ามัว หรืออ่อนเพลียจากยาอาจทำให้คุณไม่มีสติในการทำงาน และอาจเกิดอันตรายในภายหลังได้
  • เพื่อความปลอดภัย ก่อนจะรับประทานยาชนิดใดก็ตาม คุณควรเข้ารับการตรวจสุขภาพ และปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับอาการภูมิแพ้เสียก่อน (ดูแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้ และภาวะแพ้ได้ที่นี่)

ยาแก้แพ้ หรือ ยาต้านฮีสตามีน (Antihistamine) นับเป็นยาที่หลายคนคุ้นเคย ไม่แพ้ยาพาราเซตามอลที่ช่วยแก้ปวดลดไข้ ยาธาตุน้ำแดงที่ช่วยแก้ปวดท้อง แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ

หนึ่งในยาแก้แพ้ยอดนิยม คงหนีไม่พ้น "คลอร์เฟนิรามีน (Chlorpheniramine)" หรืออาจจะเรียกสั้นๆ ว่า "ซีพีเอ็ม (CPM)" หรือ "คลอเฟน" นั่นเอง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

เหตุผลที่ต้องรับประทานยาแก้แพ้

โรคภูมิแพ้ หรืออาการแพ้เกิดจากร่างกายหลั่งฮีสตามีน (Histamines) ออกมา หลังจากได้รับสารก่อภูมิแพ้ ทำให้บางคนเกิดอาการแพ้ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย 

เช่น หากเกิดที่ทางเดินหายใจ มักเกิดอาการหลอดลมตีบ หายใจไม่ออก หากเป็นผิวหนังมักเกิดอาการคัน มีผดผื่นขึ้น หากเกิดที่ทางเดินอาหารมักเกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง 

วิธีบรรเทาอาการแพ้ที่นิยมในระยะแรก ได้แก่ การรับประทานยาแก้แพ้ แต่หากอาการรุนแรง แพทย์อาจพิจารณาให้ใช้วัคซีนภูมิแพ้แทน

ประเภทของยาแก้แพ้

ยาแก้แพ้ที่เป็นที่รู้จักกันในปัจจุบัน มีด้วยกันหลักๆ 2 ประเภท ดังนี้

1. ยาต้านฮีสตามีน (Antihistamine) 

ใช้เพื่อบรรเทาอาการแพ้ในระบบต่างๆ ของร่างกายผ่านการยับยั้งการหลั่งสารฮิสตามีน โดยจะแบ่งเป็น 2 กลุ่มตามลักษณะการออกฤทธิ์ 

1.1 ยาต้านฮิสตามีนกลุ่มแรก หรือกลุ่มดั้งเดิม (First Generation Antihistamine)

เป็นยากลุ่มที่สามารถเข้าไปจับตัวรับฮิสตามีนภายในสมองของผู้ป่วยได้อย่างละเอียด จึงทำให้ช่วยลดการหลั่งของสารฮิสตามีนได้ มีประสิทธิภาพรักษาอาการแพ้ได้ดี เหมาะสำหรับการรักษาอาการเยื่อจมูกอักเสบเนื่องจากภูมิแพ้ อาการจาม น้ำมูกไหล อาการคัน ผดผื่น ลมพิษขึ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

อย่างไรก็ตาม ยาต้านฮิสตามีนกลุ่มแรกก็ยังมีผลข้างเคียงที่คุณควรระวัง โดยตัวยาจะเข้าไปรบกวนระบบประสาทส่วนกลาง จึงมักทำให้ผู้ป่วยง่วงซึม อ่อนเพลียมาก ตาพร่าเบลอ ปากแห้ง และคอแห้งได้

และเพราะฤทธิ์ยาที่ทำให้นอนหลับง่าย จึงเป็นสาเหตุให้ยาต้านฮิสตามีนกลุ่มดั้งเดิมมักถูกใช้เป็นยานอนหลับได้ด้วย แต่ยานี้จะต้องถูกจ่ายโดยแพทย์ หรือเภสัชกรเท่านั้น

สำหรับกลุ่มตัวอย่างยาแก้แพ้ในกลุ่มนี้ มีดังนี้

1.2 ยาต้านฮิสตามีนกลุ่มใหม่ (New Generation Antihistamine)

เป็นยาที่ถูกพัฒนามาจากยาต้านฮิสตามีนกลุ่มดั้งเดิม ซึ่งจะไม่เข้าไปจับตัวรับฮิสตามีนข้างในสมองมากเท่ากลุ่มดั้งเดิม โดยจะออกฤทธิ์เข้าไปจับตัวรับฮิสตามีนชนิดเอชหนึ่ง (H-1 Recepter) ที่ระบบประสาทส่วนกลาง ไม่ว่าจะเป็นบริเวณกล้ามเนื้อเรียบ หัวใจ และทางเดินหายใจ

ซึ่งผลจากฤทธิ์ยาที่เปลี่ยนแปลงไป และไม่ได้เข้าไปรบกวนระบบประสาทส่วนกลาง จึงทำให้ยาต้านฮิสตามีนกลุ่มใหม่ไม่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกง่วงนอนมากนัก และทำให้ยากลุ่มนี้ได้รับนิยมในการบรรเทาอาการแพ้อากาศมากกว่าแพ้ผื่นคัน

สำหรับตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ จะได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

2. ยาคลอร์เฟนิรามีน

ยาคลอร์เฟนิรามีน (Chlorpheniramine: C.P.M.) จัดเป็นยาแก้แพ้ที่เราคุ้นเคยกันดีกับการใช้บรรเทาอาการหวัด จาม ลดน้ำมูก ลดอาการคัน โดยรูปแบบของยาคลอร์เฟนิรามีนจะแบ่งออกได้หลายแบบ ซึ่งแต่ละแบบก็จะมีข้อบ่งใช้ที่แตกต่างกัน เช่น

  • ยาแก้แพ้ชนิดน้ำเชื่อม เหมาะสำหรับเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 4 ปีลงไป แต่ไม่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 สัปดาห์ เพราะจะทำให้เสมหะเหนียว ขับออกยาก
  • ยาแก้แพ้ชนิดเม็ด เป็นชนิดที่คุ้นเคยกันเป็นอย่างดี มักอยู่ในรูปแบบเม็ดกลมสีขาว หรือเหลือง

สาเหตุที่ยาตัวนี้ได้รับความนิยม ก็เพราะมีราคาถูก มีความปลอดภัยสูง มีโอกาสแพ้ยาหรือเกิดผลข้างเคียงน้อย และหาซื้อได้ง่ายตามร้านขายยาทั่วไป 

อย่างไรก็ตาม หากอยู่ระหว่างตั้งครรภ์แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ทุกครั้งก่อนใช้ยาทุกชนิด มีรายงานว่า คลอร์เฟนิรามีนอาจไม่เหมาะกับหญิงที่อยู่ระหว่างให้นมบุตรเพราะตัวยาสามารถขับออกได้ทางน้ำนม

สรรพคุณของยาแก้แพ้

สรรพคุณของยาแก้แพ้มีดังต่อไปนี้

  • บรรเทาอาการหวัดคัดจมูก 
  • ลดน้ำมูก 
  • บรรเทาอาการจาม 
  • บรรเทาอาการแพ้ฝุ่นละออง เกสรดอกไม้
  • บรรเทาอาการคัน และระคายเคืองจากสาเหตุต่างๆ 

วิธีรับประทานยาแก้แพ้ที่ถูกต้อง 

แพทย์หรือเภสัชกรเป็นคนจ่ายยาให้ อาจให้คำแนะนำแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล แต่โดยส่วนมากแล้วจะประกอบไปด้วยข้อดังต่อไปนี้

  • ควรรับประทานยาแก้แพ้ วันละ 2-4 ครั้ง หรือหลังจากรับประทานยาแก้แพ้ครั้งแรกต้องรอให้ผ่านไปอีก 6 ชั่วโมงเป็นอย่างน้อย จึงจะเริ่มรับประทานยาครั้งต่อไป
  • ไม่ควรใช้ยาแก้แพ้เพื่อให้นอนหลับ แม้มีประโยชน์ในผู้ป่วยที่มีอาการคันรุนแรง เช่น ผู้ป่วยที่ต้องการพักผ่อนเพื่อฟื้นฟูร่างกาย แต่ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง
  • หากรับประทานยาแก้แพ้แล้วแต่กลับมีอาการไอเพิ่มขึ้นมาก ควรหยุดรับประทานทันที เพราะอาจทำให้เสมหะมีความเหนียวข้นมากกว่าเดิม
  • ยาแก้แพ้ควรกินตามที่แพทย์หรือเภสัชกรแนะนำ ห้ามเคี้ยว หรือบดตัวยาโดยพลการอย่างเด็ดขาด
  • ห้ามรับประทานยาแก้แพ้ร่วมกันกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือกลุ่มยาระงับประสาทเด็ดขาด เพราะจะทำให้ง่วงเพิ่มขึ้น

ปริมาณการรับประทานยาแก้แพ้ชนิดเม็ด  

ปริมาณยาอาจแตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์และเภสัชกร แต่โดยส่วนมากมักมีปริมาณการกินดังต่อไปนี้

  • เด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 4 ปี ต้องรับประทานยาแก้แพ้ชนิดน้ำเชื่อมเท่านั้น เพราะหากรับประทานยาแก้แพ้เกินขนาดอาจทำให้เกิดอาการชักรุนแรงขึ้นได้
  • เด็กที่มีอายุ 4-7 ปี ควรกินครั้งละ 1 ใน 4 ของเม็ด
  • เด็กที่มีอายุ 7-12 ปี ควรรับประทานครั้งละครึ่งเม็ด
  • วัยผู้ใหญ่และเด็กอายุ 13 ปีขึ้นไป ควรรับประทานยาครั้งละ 1 เม็ด วันละ 2-4 ครั้ง หรือทุก 4-6 ชั่วโมง

ปริมาณการรับประทานยาแก้แพ้ชนิดน้ำเชื่อม

  • เด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี รับประทานครั้งละครึ่งช้อนชา ไม่เกินวันละ 2 ครั้งต่อวันเด็กอายุ 1-4 ปี รับประทานครั้งละครึ่งช้อนชา ไม่เกินวันละ 3-4 ครั้งต่อวัน
  • เด็กอายุ 1-4 ปี รับประทานครั้งละครึ่งช้อนชา ไม่เกินวันละ 3-4 ครั้งต่อวัน 
  • เด็กอายุ 4-7 ปี รับประทานครั้งละครึ่งถึง 1 ช้อนชา วันละ 2-4 ครั้ง

ข้อควรระวังจากการใช้ยาแก้แพ้ 

  • คุณควรแจ้งแพทย์ และเภสัชกรถึงประวัติโรคที่เป็น และประวัติการแพ้ยา เพื่อหลีกเลี่ยงอาการแพ้ยา และผลเสียต่างๆ ที่อาจเกิดจากการใช้ยาแก้แพ้
  • ห้ามขับขี่รถ หรือควบคุมเครื่องจักร หลังรับประทานยาแก้แพ้ที่มีผลทำให้ง่วงซึม เนื่องจากอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุ และเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
  • ควรงดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิดในช่วงที่ใช้ยาแก้แพ้ชนิดง่วง เนื่องจากแอลกอฮอล์จะไปเสริมฤทธิ์ยาแก้แพ้ชนิดง่วง จนอาจมีผลทำให้ยาเข้าไปกดการหายใจทำให้เป็นอันตรายถึงชีวิตได้
  • หากคุณกำลังตั้งครรภ์ ควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรทุกครั้งก่อนใช้ยา เพราะอาจมีผลให้ทารกในครรภ์มีภาวะพิการ หรือผิดปกติแต่กำเนิด
  • หลังใช้ยาสเตียรอยด์พ่นจมูกควรบ้วนปากทุกครั้ง เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดเชื้อราในช่องปาก

บางครั้งการรับประทานยาแก้แพ้เป็นเพียงแค่หนทางในการบรรเทาอาการแพ้ที่เกิดขึ้น เมื่อหมดฤทธิ์ยาไปแล้วอาการก็มีโอกาสกำเริบขึ้นได้อีก ดังนั้นทางออกที่ดีที่สุด คือ การหาสาเหตุ หรือปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ให้เจอก่อน แล้วหลีกเลี่ยงไม่เข้าใกล้ หรือสัมผัสปัจจัยเหล่านั้น

ซึ่งวิธีหลีกเลี่ยงนั้นทำได้ไม่ยาก โดยให้คุณหมั่นสังเกตตนเองว่า มีปฏิกิริยาต่อสารใดรอบตัวเป็นพิเศษหรือไม่ หากมีก็ให้หลีกเลี่ยง หรือกำจัดสารก่อภูมิแพ้นั้นซะ เช่น หากแพ้อาหารทะเล ก็ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารทะเล หากแพ้ฝุ่น ก็ต้องหลีกเลี่ยงการพาตัวเองไปในสถานที่ที่มีฝุ่นละอองมาก

นอกจากนี้ควรหายาที่ดีที่สุดมาไว้กับตัวด้วยการรักษาสุขภาพให้แข็งแรงดังนี้

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ 
  • ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ 
  • ออกกำลังกายให้เหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ

เพราะกุญแจสำคัญของการรักษาโรคที่ดี คือ สุขภาพ และภูมิคุ้มกันร่างกายที่แข็งแรง คุณจึงไม่ควรมองข้ามการใช้ชีวิตประจำวันที่ดีต่อสุขภาพ และหมั่นใส่ใจดูแลตนเองไม่ให้เชื้อโรค หรือสิ่งแปลกปลอมเข้ามาในร่างกายของคุณได้

ดูแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้ และภาวะแพ้ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Fischer, Jnos; Ganellin, C. Robin (2006). Analogue-based Drug Discovery. John Wiley & Sons. p. 546. ISBN 9783527607495.
Yasuda SU, Wellstein A, Likhari P, Barbey JT, Woosley RL (1995). "Chlorpheniramine plasma concentration and histamine H1-receptor occupancy". Clin. Pharmacol. Ther. 58 (2): 210–20. doi:10.1016/0009-9236(95)90199-X. PMID 764877

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)