กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

โพแทสเซียม (Potassium)

เผยแพร่ครั้งแรก 27 ม.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที

ข้อมูลภาพรวมของโพแทสเซียม

โพแทสเซียม (Potassium) คือแร่ธาตุที่มีบทบาทสำคัญต่อร่างกายมากมาย แหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยโพแทสเซียมมีทั้งผลไม้ (โดยเฉพาะผลไม้อบแห้ง), ธัญญาหาร, ถั่ว, นม, และผักต่าง ๆ

โพแทสเซียมออกฤทธิ์อย่างไร?

โพแทสเซียมมีบทบาทต่อการทำงานของร่างกายหลายอย่าง รวมไปถึงกระบวนการส่งสัญญาณประสาท, การบีบรัดตัวของกล้ามเนื้อ, ปรับสมดุลของเหลวร่างกาย, และอยู่ในปฏิกิริยาทางเคมีมากมาย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การใช้และประสิทธิภาพของโพแทสเซียม

ภาวะที่ใช้โพแทสเซียมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • ภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ (hypokalemia) การรับประทานหรือให้โพแทสเซียมเข้าเส้นเลือด (intravenously (by IV)) สามารถป้องกันและรักษาภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำได้

ภาวะที่อาจใช้โพแทสเซียมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) การบริโภคโพแทสเซียมจากอาหารที่สูงนั้นเชื่อมโยงกับการลดลงของความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองถึง 20% การทานอาหารเสริมโพแทสเซียมเองก็อาจมีความเชื่อมโยงกับการลดความเสี่ยงต่อโรคนี้เช่นกัน กระนั้นยังคงต้องการงานวิจัยที่มีคุณภาพสูงมาพิสูจน์สรรพคุณของโพแทสเซียมเช่นนี้อยู่

ภาวะที่ยังคงขาดหลักฐานว่าใช้โพแทสเซียมรักษาได้หรือไม่

จำเป็นต้องรวบรวมหลักฐานให้มากขึ้นเพื่อให้ข้อมูลด้านประสิทธิผลของโพแทสเซียมเพิ่มเติม

ผลข้างเคียงและความปลอดภัยของโพแทสเซียม

โพแทสเซียมถูกจัดว่าค่อนข้างปลอดภัยสำหรับผู้คนส่วนมากเมื่อรับประทานในปริมาณที่สูงถึง 100 mEq หรือเมื่อฉีดเข้าเส้นเลือด (intravenously (by IV)) โดยการกำกับดูแลจากผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ บางคนอาจมีปฏิกิริยาจากโพแทสเซียมอย่างปวดท้อง, คลื่นไส้, ท้องร่วง, อาเจียน, หรือแก๊สในลำไส้

การบริโภคโพแทสเซียมมากเกินจะถูกจัดว่าไม่ปลอดภัยและอาจทำให้เกิดอาการแสบร้อนหรือยุกยิก, อ่อนแรง, อัมพาต, สับสน, ความดันโลหิตต่ำ, หัวใจเต้นผิดจังหวะ, หรือเสียชีวิตได้ ดังนั้นไม่ควรรับประทานโพแทสเซียมเสริมด้วยตัวเองเพราะอาจเกิดอันตรายถึงชีวิตได้

แพ้ยา  aspirin หรือ tartrazine: ควรเลี่ยงการทานอาหารเสริมโพแทสเซียมที่มีส่วนประกอบเป็น tartrazine

ฟอกเลือด: ระดับโพแทสเซียมในเลือดของผู้ที่เข้ารับการฟอกเลือดอาจจะสูงหรือต่ำได้ โดยระดับที่ผันแปรนี้อาจจะขึ้นอยู่กับประเภทของกระบวนการฟอกเลือดที่ผู้ป่วยเข้ารับการรักษา หากคุณกำลังต้องเข้าฟอกเลือด คุณอาจต้องได้รับอาหารเสริมหรือจำกัดปริมาณโพแทสเซียมตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ

ภาวะผิดปรกติของระบบย่อยอาหารที่อาจเปลี่ยนแปลงความเร็วของการเคลื่อนตัวผ่านลำไส้ของอาหารหรืออาหารเสริม (GI motility conditions): หากคุณมีภาวะที่ทำให้ร่างกายมีความผิดปรกติประเภทนี้ ไม่ควรใช้อาหารเสริมโพแทสเซียมเพราะอาจทำให้มีโพแทสเซียมกักเก็บในร่างกายมาเกินไปจนอาจเป็นอันตรายได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

โรคไต: หากคุณเป็นโรคไตควรใช้โพแทสเซียมตามคำแนะนำหรือการดูแลของแพทย์เท่านั้น

ปลูกถ่ายไต: มีรายงานสองชิ้นที่กล่าวว่ามีผู้ป่วยที่เข้ารับการปลูกถ่ายไตมีระดับโพแทสเซียมที่สูงมากหลังได้รับ potassium citrate ดังนั้นหากคุณเข้ารับการปลูกถ่ายไตมาควรใช้โพแทสเซียมตามคำแนะนำหรือการดูแลของแพทย์เท่านั้น

โรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเองอย่าง multiple sclerosis (MS), โรคพุ่มพวง (lupus (systemic lupus erythematosus, SLE)), โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (rheumatoid arthritis (RA)), หรือภาวะที่เกี่ยวข้องอื่น : อึ่งคี้อาจทำให้ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายของคุณทำงานมากขึ้น และนั่นจะทำให้คุณประสบกับอาการจากโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเองมากขึ้น หากคุณป่วยเป็นโรคในกลุ่มนี้ควรเลี่ยงการใช้อึ่งคี้จะดีที่สุด

การใช้โพแทสเซียมร่วมกับยาชนิดอื่น

ใช้โพแทสเซียมร่วมกับยาเหล่านี้ด้วยความระมัดระวัง

  • ยาสำหรับความดันโลหิตสูง (ACE inhibitors) กับโพแทสเซียม

ยาสำหรับความดันโลหิตสูงบางตัวอาจเพิ่มระดับโพแทสเซียมในเลือดได้ ดังนั้นการทานโพแทสเซียมร่วมกับยาเหล่านี้อาจทำให้ร่างกายมีโพแทสเซียมมากเกินไป ตัวอย่างยาสำหรับความดันโลหิตสูงมีดังทั้ง captopril (Capoten), enalapril (Vasotec), lisinopril (Prinivil, Zestril), ramipril (Altace), และอื่น ๆ

  • ยาสำหรับความดันโลหิตสูง (Angiotensin receptor blockers (ARBs)) กับโพแทสเซียม

ยาสำหรับความดันโลหิตสูงบางตัวอาจเพิ่มระดับโพแทสเซียมในเลือดได้ ดังนั้นการทานโพแทสเซียมร่วมกับยาเหล่านี้อาจทำให้ร่างกายมีโพแทสเซียมมากเกินไป ตัวอย่างยาสำหรับความดันโลหิตสูงมีดังทั้ง  losartan (Cozaar), valsartan (Diovan), irbesartan (Avapro), candesartan (Atacand), telmisartan (Micardis), eprosartan (Teveten), และอื่น ๆ

  • ยาขับน้ำ (Potassium-sparing diuretics) กับโพแทสเซียม

ยาขับน้ำบางชนิดสามารถเพิ่มระดับโพแทสเซียมในเลือดได้ ดังนั้นการทานยาขับน้ำร่วมกับโพแทสเซียมอาจทำให้ร่างกายมีโพแทสเซียมมากเกินไป ตัวอย่างยาขับน้ำที่เพิ่มโพแทสเซียมในร่างกายมีทั้ง amiloride (Midamor), spironolactone (Aldactone), และ triamterene (Dyrenium)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ปริมาณยาที่ใช้

ปริมาณหรือขนาดยาที่ใช้ดังต่อไปนี้ได้ถูกศึกษาจากงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์

ผู้ใหญ่

รับประทาน:

  • ปริมาณสารอาหารที่เพียงพอ (adequate intake (AI)) ของโพแทสเซียมคือ 4.7 กรัมต่อวันสำหรับผู้ใหญ่, 4.7 กรัมสำหรับสตรีมีครรภ์, และ 5.1 กรัมต่อวันสำหรับผู้หญิงที่ให้นมบุตร
  • สำหรับภาวะโพแทสเซียมต่ำ (hypokalemia): สำหรับป้องกันภาวะระดับโพแทสเซียมต่ำคือ 20 mEq (ธาตุโพแทสเซียมประมาณ 780 mg) มักถูกนำไปรับประทานทุกวัน สำหรับรักษาภาวะระดับโพแทสเซียมต่ำคือ 40-100 mEq (ธาตุโพแทสเซียมประมาณ 1560-3900 mg) โดยแบ่งเป็น 2-5 โดสต่อวัน
  • สำหรับความดันโลหิตสูง (hypertension): สำหรับรักษาความดันโลหิตสูง 3500-5000 mg ต่อวัน โดยควรได้รับจากอาหารจะดีที่สุด
  • สำหรับโรคหลอดเลือดสมอง: สำหรับป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ปริมาณสารอาหารที่แนะนำคือประมาณ 75 mEq (ธาตุโพแทสเซียมประมาณ 3.5 กรัม) ทุกวัน

ฉีดเข้าเส้นเลือด:

  • สำหรับภาวะโพแทสเซียมต่ำ (hypokalemia): ปริมาณและอัตราการให้ potassium chloride ทางเส้นเลือดสำหรับป้องกันหรือรักษาภาวะโพแทสเซียมต่ำจะแตกต่างและขึ้นอยู่กับภาวะของผู้ป่วยแต่ละราย การจัดฉีดยาทุกครั้งต้องถูกตรวจสอบและกำกับดูแลโดยผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพตลอดเวลา

เด็ก

  • ปริมาณสารอาหารที่เพียงพอ (adequate intake (AI)) สำหรับทารกอายุ 6 เดือนลงไปคือ 0.4 กรัมต่อวัน, สำหรับทารกอายุ 6-12 เดือนคือ 0.7 กรัมต่อวัน, สำหรับเด็กอายุ 1-3 ปีคือ 3 กรัม, สำหรับเด็กอายุ 4-8 ปีคือ 3.8 กรัม, และสำหรับเด็กอายุ 9-13 ปีคือ 4.5 กรัม

5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
mayoclinic, Low potassium (hypokalemia) (https://www.mayoclinic.org/symptoms/low-potassium/basics/causes/sym-20050632), 11 January 2018.
Megan Ware, RDN, L.D., Everything you need to know about potassium (https://www.medicalnewstoday.com/articles/287212.php), 10 January 2018.
nrv.gov.au, Potassium (https://www.nrv.gov.au/nutrients/potassium), 9 April 2014.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)