กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

รู้จักโรคมะเร็งเต้านมระยะ 1

รู้ไหมว่า...โรคมะเร็งเต้านมระยะ 0 และ 1 สามารถตรวจพบได้ด้วยการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม สามารถรักษาให้หายได้ และมีอัตราการรอดชีวิตสูงสุด 100%
เผยแพร่ครั้งแรก 1 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
รู้จักโรคมะเร็งเต้านมระยะ 1

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • โรคมะเร็งเต้านมระยะ 0 เป็นระยะเริ่มต้นของเซลล์มะเร็งที่ยังไม่มีการลุกลามไปยังเนื้อเต้านม
  • โรคมะเร็งเต้านมระยะ 1 แบ่งเป็น 2 แบบ คือ 1A มีก้อนขนาดเล็กกว่า 2 เซนติเมตร และ 1B มีก้อนขนาดเล็กกว่า 2 เซนติเมตร ร่วมกับมีกลุ่มเซลล์มะเร็งเล็กๆ ในต่อมน้ำเหลือง หรือไม่มีก้อนในเต้านม แต่มีกลุ่มเซลล์มะเร็งไม่เกิน 2 เซนติเมตรในต่อมน้ำเหลือง
  • โรคมะเร็งเต้านมระยะแรกสามารถตรวจพบได้ด้วยการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม และหากเข้ารับการการรักษาอย่างครบถ้วน จะมีอัตราการรอดชีวิตสูงสุดถึง 100%
  • แนวทางการรักษามะเร็งเต้านมจะพิจารณาจากหลายปัจจัย เช่น ประเภท ความรุนแรง การลุกลาม หรือฮอร์โมน โดยแพทย์จะเป็นผู้ประเมินและเลือกวิธีรักษาที่เหมาะสม
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม

โรคมะเร็งเต้านม (Breast cancer) เป็นหนึ่งในชนิดของโรคมะเร็งที่พบมากในผู้หญิง ซึ่งอาจทำให้เกิดความกลัว หรือกังวลใจได้

อย่างไรก็ตาม การดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ และเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านมเป็นประจำทุกปี จะช่วยลดความรุนแรงที่อาจเกิดจากโรคมะเร็งชนิดนี้ได้ เพราะโรคมะเร็งเต้านมในระยะแรกๆ มีโอกาสรักษาหายสูงมาก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ระยะของโรคมะเร็งเต้านม (Stage of Cancer) คืออะไร?

ก่อนที่จะไปทำความรู้จักโรคมะเร็งเต้านมระยะ 1 ควรทำความเข้าใจการแบ่งระยะของโรคมะเร็งเสียก่อน โดยโรคมะเร็งส่วนใหญ่จะแบ่งระยะของโรคด้วยระบบ TNM มีรายละเอียดดังนี้

  • T (Tumor) หมายถึง ขนาดก้อน
  • N (Lymph nodes) หมายถึง ต่อมน้ำเหลืองที่มะเร็งลุกลามไป
  • M (Metastasis) หมายถึง การแพร่กระจายของโรคไปยังอวัยวะอื่น

ผลที่ได้จากการแบ่งระยะโรคด้วยระบบ TNM จะถูกนำมาจัดอีกครั้งเป็นระยะ 0, 1, 2, 3 และ 4 นั่นเอง

รู้จักกับมะเร็งเต้านมระยะ 0 และ 1

โดยทั่วไปแล้ว มะเร็งเต้านมระยะ 0 จะถูกจัดเป็น T0N0M0 คือ เป็นระยะเริ่มต้นของเซลล์มะเร็งที่ยังไม่มีการลุกลามไปยังเนื้อเต้านม

ในขณะที่มะเร็งเต้านมระยะ 1 หากมีค่าเป็น T1 จะหมายความว่า มีก้อนขนาดเล็กกว่า หรือเท่ากับ 2 เซนติเมตร และอาจมีการแพร่กระจายในระดับที่ตามองไม่เห็นน้อยกว่า หรือเท่ากับ 0.1 เซนติเมตร

แต่หากมีค่าเป็น N1 จะหมายความว่า ไม่พบก้อนในเต้านม แต่พบเซลล์มะเร็งในต่อมน้ำเหลืองข้างเคียง

มะเร็งเต้านมระยะ 1 แบบ 1A และ 1B คืออะไร?

มะเร็งเต้านมระยะที่ 1 ยังสามารถแบ่งย่อยเป็นแบบ 1A และ 1B ได้อีกด้วย โดยพิจารณาจากขนาดของเนื้องอก และการตรวจพบเซลล์มะเร็งในต่อมน้ำเหลือง มีรายละเอียดดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจมะเร็งสำหรับผู้หญิงวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 495 บาท ลดสูงสุด 79%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • มะเร็งเต้านมระยะ 1A มีก้อนขนาดเล็กกว่า 2 เซนติเมตร และไม่มีก้อน หรือเซลล์มะเร็งในต่อมน้ำเหลือง
  • มะเร็งเต้านมระยะ 1B มีก้อนขนาดเล็กกว่า 2 เซนติเมตร มีกลุ่มเซลล์มะเร็งเล็กๆ ในต่อมน้ำเหลือง หรือไม่มีก้อนในเต้านม แต่มีกลุ่มเซลล์มะเร็งขนาดใหญ่กว่า 2 มิลลิเมตร แต่ไม่เกิน 2 เซนติเมตรในต่อมน้ำเหลือง

อัตราการรอดชีวิตของมะเร็งเต้านมระยะ 0 และ 1

จากข้อมูลของ National Cancer Database พบว่า มะเร็งเต้านมระยะ 0 และ 1 มีอัตราการรอดชีวิต 5 ปี 100% สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาครบถ้วน ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่า ผู้ป่วยจะมีชีวิตอยู่ได้แค่ 5 ปีหลังจากได้รับการวินิจฉัย

ผู้ป่วยโรคมะเร็งจะได้พบแพทย์ต่อเนื่องเป็นเวลา 5 ปี เพื่อติดตามให้แน่ใจว่า การฟื้นตัวเป็นไปอย่างราบรื่น และไม่จำเป็นต้องมีการรักษาสำหรับการกลับมาเป็นซ้ำ ซึ่งหากสามารถควบคุมโรคได้เป็นเวลานานขนาดนั้นแล้ว โอกาสที่จะกลับมาเป็นอีกก็ลดลงมาก 

อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยอาจต้องเผชิญกับโรค หรือภาวะอื่นๆ ที่เกิดจากการกระบวนการรักษาโรคมะเร็ง แต่ก็แทบเป็นไปไม่ได้เลยที่ผู้ป่วยจะเสียชีวิตจากโรคมะเร็งเต้านมระยะแรก

แนวทางการรักษาโรคมะเร็งเต้านมระยะ 0 และ 1

มีปัจจัยหลายอย่างที่ส่งผลต่อการเลือกวิธีการรักษา เช่น 

  • ลักษณะความรุนแรงของเซลล์มะเร็ง
  • ฮอร์โมน 
  • ผลการทดสอบโปรตีนที่มีส่วนต่อการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง (HER 2/neu status) 
  • การกระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง 
  • ขอบเขตของการผ่าตัด
  • สารบ่งชี้มะเร็ง 

ระยะของโรคเป็นเพียงส่วนหนึ่งในการวินิจฉัยที่แพทย์ผู้รักษาและผู้ป่วยต้องนำมาพิจารณาเพื่อวางแผนการรักษาที่เหมาะสม ซึ่งแนวทางการรักษามีหลายรูปแบบ เช่น 

  • ตัดก้อนมะเร็งออก (Lumpectomy) ร่วมกับการผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองเซ็นติเนล (Centinel node biopsy) ต่อด้วยการฉายแสง และให้ฮอร์โมนบำบัดเป็นระยะเวลา 5 ปี 
  • หากก้อนมะเร็งอยู่ลึก หรือมีประวัติมะเร็งเต้านมในครอบครัวที่ชัดเจน แพทย์อาจใช้วิธีการตัดเนื้อเต้านมออก แล้วเสริมสร้างเต้านมหลังการผ่าตัดร่วมกับการผ่าตัดต่อมน้ำเหลือง เพื่อดูเรื่องการกระจายของโรค

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะผ่าตัดด้วยวิธีใด แพทย์จะแนะนำให้มีการรักษาร่วมเพิ่มเติมเพื่อลดโอกาสการกลับมาเป็นซ้ำ เช่น การฉายแสง การให้ยาเคมีบำบัด ฮอร์โมนบำบัด หรืออาจใช้หลายแบบร่วมกันเพื่อวัตถุประสงค์ในการรักษาในแง่อื่น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจมะเร็งสำหรับผู้หญิงวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 495 บาท ลดสูงสุด 79%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ทำอย่างไรเมื่อเป็นโรคมะเร็งเต้านมระยะ 1

เมื่อได้รับการวินิจฉัยว่า เป็นโรคมะเร็งเต้านมระยะ 1 เป็นเรื่องปกติที่ผู้ป่วยจะเกิดอารมณ์อ่อนไหวมากพอๆ กับผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมในระยะท้ายๆ แม้ว่า ในความจริงแล้วระดับความรุนแรงของโรคจะแตกต่างกันมากก็ตาม

ในเบื้องต้นแนะนำให้มองหากลุ่มช่วยเหลือ หรือผู้ป่วยคนอื่นๆ ที่ได้รับการวินิจฉัยคล้ายๆ กัน เพื่อเรียนรู้วิธีการดูแลตัวเองเบื้องต้นจากผู้มีประสบการณ์ นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้ป่วยได้แบ่งปันอารมณ์ความรู้สึก ซึ่งอาจช่วยให้บรรเทาความเครียด และความกังวลใจลงได้

หลังจากนั้นผู้ป่วยควรเข้ารับการรักษาและดูแลร่างกายตัวเองตามที่แพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด ให้คิดไว้เสมอว่า โรคมะเร็งเต้านมในระยะแรกๆ นั้น สามารถรักษาให้หายได้ และหลังจากรักษาหายแล้วก็อย่าลืมตรวจติดตามอาการ โดยเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเป็นประจำทุกปี

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชันเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android 


21 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
U.S. Breast cancer statistics. (2019). (https://www.breastcancer.org/symptoms/understand_bc/statistics)
U.S. Preventive Services Task Force. (2019). Risk assessment, genetic counseling, and genetic testing for BRCA-related cancer. (https://jamanetwork.com/journals/jama/fullarticle/2748515)
Qaseem, A., et al.. (2019). Screening for breast cancer in average-risk women: A guidance statement from the American College of Physicians. (https://annals.org/aim/fullarticle/2730520/screening-breast-cancer-average-risk-women-guidance-statement-from-american)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
รู้จักกับโรคมะเร็งเต้านม สาเหตุ อาการ การตรวจคัดกรอง แนวทางการรักษา และป้องกัน
รู้จักกับโรคมะเร็งเต้านม สาเหตุ อาการ การตรวจคัดกรอง แนวทางการรักษา และป้องกัน

โรคมะเร็งเต้านม เป็นหนึ่งในมะเร็งที่พบมากในผู้หญิง การรู้จักสังเกตอาการเบื้องต้น และเข้ารับการตรวจคัดกรองทุกปี จะช่วยลดความรุนแรงที่อาจเกิดจากมะเร็งเต้านมได้

อ่านเพิ่ม
โรคมะเร็งที่หัวนม (Paget's disease of the nipple)
โรคมะเร็งที่หัวนม (Paget's disease of the nipple)

รู้เท่าทันโรคมะเร็งหายากที่เกิดขึ้นได้กับเต้านม

อ่านเพิ่ม