กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

Otitis Media (หูน้ำหนวก)

เผยแพร่ครั้งแรก 18 ม.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

หูน้ำหนวก (Otitis media) คืออาการอักเสบจากการติดเชื้อในหูชั้นกลาง รวมถึงการอักเสบของเยื่อบุช่องหูชั้นกลาง และโพรงอากาศในกระดูกมาสตอยด์ โรคนี้อาจมีสาเหตุมาจากไข้หวัด อาการเจ็บคอ หรือการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ

สาเหตุของหูน้ำหนวก 

หูน้ำหนวกมักเกิดจากการติดเชื้อบริเวณจมูกและคอ เช่น เชื้อ Beta hemolytic streptococci เชื้อ Pneumococci และเชื้อ Hemophilus influenza ซึ่งเชื้อเหล่านี้ เมื่อลุกลามผ่านทางท่อยูสเตเชียนเข้าสู่หูชั้นกลางจะทำให้เกิดการอักเสบ หรือมีหนองเกิดขึ้นในหูชั้นกลาง โดยเชื้ออาจปนเปื้อนจากการที่น้ำเข้าหู หรือแคะหูด้วยวัสดุที่สกปรกก็ได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ชนิดของหูน้ำหนวก

หูน้ำหนวก แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ

  • หูน้ำหนวกเฉียบพลัน จะเกิดขึ้นในระยะเวลาไม่เกิน 3 สัปดาห์ โดยอาจมีแก้วหูทะลุ หรือไม่ทะลุก็ได้
  • หูน้ำหนวกเรื้อรัง จะอักเสบติดต่อกันนานกว่า 3 เดือน และมีแก้วหูทะลุ

อาการหูน้ำหนวก

  • หูน้ำหนวกชนิดเฉียบพลัน จะทำให้มีไข้สูง เยื่อบุในช่องหูชั้นกลางบวม รู้สึกแน่นในหู หูอื้อ เมื่อตรวจดูจะพบแก้วหูโป่ง เห็นเส้นเลือดที่แก้วหู และมีหนองในหูชั้นกลาง ทำให้มีอาการปวดหูอย่างมาก การได้ยินเสียไปอย่างชัดเจน หลังจากนั้นแก้วหูจะเริ่มทะลุ ทำให้มีหนองไหลออกมา เห็นแก้วหูทะลุเป็นรูเล็กๆ และหลังจากนั้นอาการปวดจะลดลง 
  • หูน้ำหนวกชนิดเรื้อรัง จะส่งผลให้มีน้ำเมือก หรือหนองไหลออกจากหูแบบเป็นๆ หายๆ แต่หากสุขภาพแข็งแรง มีความต้านทานโรคดี น้ำหนวกจะหยุดไหลไปเอง ทั้งนี้ เมื่อเป็นหวัด เจ็บคอ น้ำเข้าหู หรือมีสิ่งสกปรกเข้าหูก็จะอักเสบได้อีก รวมทั้งอาจได้ยินเสียงดังในหูเป็นเสียงต่ำๆ อื้อๆ
    เมื่อตรวจดูจะพบว่าแก้วหูทะลุ ในช่องหูอาจมีหนอง หรือไม่มีก็ได้ และการได้ยินผิดปกติเช่นเดียวกับหูน้ำหนวกเฉียบพลัน

การวินิจฉัยหูน้ำหนวก

แพทย์มักวินิจฉัยหูน้ำหนวกได้จากการได้ยินของผู้ป่วยที่เปลี่ยนไป อาการปวดหู หูอื้อ มีไข้ มีน้ำหรือหนองไหลจากหู ตลอดจนอาการเวียนศีรษะ มีเสียงดังในหู และปวดศรีษะ ซึ่งอาจแสดงถึงภาวะหูน้ำหนวกได้เช่นกัน 

หลังจากสอบถามอาการ แพทย์จะตรวจหูด้วยเครื่องส่องหู ซึ่งมักจะพบน้ำหรือหนองในช่องหู อาจมีกลิ่นเหม็น และสังเกตได้ว่า ช่องหูบวมแดง แก้วหูทะลุ รวมทั้งอาจมีการถ่ายภาพรังสีกระดูกมาสตอยด์ และตรวจการได้ยิน ซึ่งมักพบว่า การได้ยินเสียไปแบบการนำเสียงผิดปกติ (Conduction hearing)

การรักษาหูน้ำหนวก 

หูน้ำหนวกชนิดเฉียบพลัน

ภาวะหูน้ำหนวกชนิดเฉียบพลันต้องได้รับการรักษาเพื่อแก้ไขการติดเชื้อและบรรเทาอาการต่างๆ โดยให้รับประทานยาปฏิชีวนะ และให้ยาแก้ปวด หากอาการไม่ดีขึ้นอาจต้องเจาะแก้วหูเพื่อใส่ท่อระบายของเหลวออกมา ในระหว่างที่แก้วหูยังไม่ปิดต้องระวังไม่ให้น้ำเข้าหูโดยเด็ดขาด ห้ามแคะหู และต้องรักษาโรคหวัดเจ็บคอ หรือโรคเกี่ยวกับการอักเสบของคอและจมูกให้หายด้วย 

หูน้ำหนวกชนิดเรื้อรัง

  • ต้องระวังไม่ให้น้ำเข้าหู รักษาสุขภาพให้แข็งแรง ไม่ให้มีการติดเชื้อบริเวณคอ จมูก 
  • หากมีน้ำหนวกไหล ต้องรักษาให้แห้งตามสาเหตุของโรค เช่น หากเป็นหวัดจะให้รับประทานยาแก้แพ้ และยาลดบวม 
  • หากมีหูอักเสบเป็นหนอง ต้องหยอดหูด้วยยาปฏิชีวนะ หรือยาปฏิชีวนะที่ผสมเตียรอยด์ เพื่อช่วยลดการอักเสบและบวมของเยื่อบุภายในช่องหู 
  • หากรูหูทะลุ อาจต้องรักษาด้วยยาปฏิชีวนะชนิดขี้ผึ้ง ในระยะนี้ผู้ป่วยห้ามสั่งน้ำมูกแรงๆ และระวังไม่ให้น้ำเข้าหู

เมื่อไหร่ที่ผู้ป่วยหูน้ำหนวกต้องได้รับการผ่าตัด

  • ผู้ป่วยที่มีแก้วหูทะลุจากหูน้ำหนวกและกระดูกหูผิดปกติ อาจต้องผ่าตัดปะแก้วหู (Myringoplasty หรือ Tympanoplasty Type I) เพื่อช่วยลดการอักเสบ และช่วยให้การได้ยินดีขึ้น 
  • ผู้ป่วยที่มีหูน้ำหนวกเรื้อรัง แก้วหูทะลุ และกระดูกหูบางส่วนถูกทำลาย จะต้องผ่าตัดตกแต่งหูชั้นกลางร่วมกับผ่าตัดปะแก้วหู และตกแต่งกระดูกหู เพื่อให้การได้ยินดีขึ้น และรักษาอาการหูอักเสบ 
  • ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นหูน้ำหนวกเรื้อรัง มีขี้ไคลก้อนเล็กๆ และกระดูกสเตียรอยด์อักเสบเล็กน้อย แพทย์จะผ่าตัดกระดูกมาสตอยด์ และปะแก้วหูร่วมกับการตกแต่งกระดูกหู (Tympano-mastoidectomy) เพื่อแก้ไขการอักเสบ และช่วยให้การได้ยินดีขึ้น 
  • ผู้ที่มีเส้นประสาทเฟเชียลเป็นอัมพาต (Facial nerve paralysis) ต้องผ่าตัดเพื่อลดการกดของเส้นประสาทเฟเชียล (Facial nerve decompression) ซึ่งจะช่วยแก้ไขการกดของเส้นประสาทเฟเชียลที่ผ่านหูชั้นกลาง

การดูแลตัวเองเมื่อเป็นหูน้ำหนวก 

หลังการผ่าตัด 1-2 วัน แพทย์จะอนุญาตให้ผู้ป่วยกลับไปดูแลตัวเองที่บ้าน และจะนัดมาตัดไหมเมื่อครบ 1 สัปดาห์ โดยต้องงดสระผมจนกว่าจะตัดไหม และห้ามให้น้ำเข้าหูนานหลายเดือน หรือจนกว่าแก้วหูจะติดดี ขณะอาบน้ำต้องใช้สำลีแห้งใส่ไว้ในช่องหู และใส่หมวกคลุมผมคลุมใบหูไว้ 

หากมีอาการผิดปกติ เช่น มีไข้ เป็นหวัด ปวดศีรษะ เวียนศีรษะมาก ควรไปพบแพทย์ เพราะอาจมีการติดเชื้อเกิดขึ้น รวมทั้งควรระมัดระวังในขณะลุกขึ้นยืน หรือเปลี่ยนท่าทาง เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ เนื่องจากผู้ป่วยอาจมีอาการเวียนศีรษะในระหว่างนี้ นอกจากนี้ ผู้ดูแลควรดูให้แน่ใจว่า ผู้ป่วยได้รับยาปฏิชีวนะครบตามคำแนะนำของแพทย์ 


9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
si.mahidol, ความรู้เกี่ยวกับโรคหูน้ำหนวก (https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=11), 4/10/2553
เกษมสุวรรณ, ลลิดา, โรคหูน้ำหนวก (https://web.ku.ac.th/schoolnet/snet4/anatomy/ear.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
เวลาตื่นนอนมาแล้วลุกขึ้นเดิน ร้สึกปวดส้นเท้ามากเดินแล้วเจ็บ แต่พอเดินไปสักพักก้อหาย อาการนี้มีวิธีรักษามั๊ยคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
นอนแล้วจุกหน้าอกบ่อยๆ สาเหตุมาจากอะไรค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
แผลคีรอยด์จากการผ่าตัด สามารถรักษาได้ไหมค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
โรครูมตอยส์ อาการเป็นอย่างไงบ้างค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ปวดช่วงเข่าหลังข้อพับขาไล่ถึงบริเวณใต้ก้น ไปหาหมอคุณให้เจาะน้ำออกจากเข่าแล้ว แร่ก็ยังไม่หายยังกลับมาเจ็บๆอยู่ค่ะ อยากทราบว่าจะรักษายังไงให้หายขาด
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ถ้าเป็นฝีสามารถก่อให้เกิดเป็นเชื้อมะเร็งได้จริงเหรอป่าวคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)