กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

สารสื่อประสาทคืออะไร?

สารสื่อประสาทคืออะไร มีกลไกการทำงานและความสัมพันธ์กับโรคทางระบบประสาทอย่างไรบ้าง?
เผยแพร่ครั้งแรก 16 ก.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
สารสื่อประสาทคืออะไร?

สารสื่อประสาท เป็นสารเคมีชนิดพิเศษที่เกิดขึ้นในร่างกายของมนุษย์ตามธรรมชาติ มีหน้าที่ส่งสัญญาณประสาทจากสมองส่วนหนึ่งไปอีกส่วนหนึ่ง และส่งสัญญาณจากสมองไปสู่ทั่วร่างกาย สารสื่อประสาททำงานโดยการส่งสัญญาณทางเคมีระหว่างเซลล์ประสาทที่เรียกว่านิวรอน (Neuron) ซึ่งพบได้ทั่วสมอง ไขสันหลัง และระบบประสาททั้งหมด ในสมองของมนุษย์มีสารสื่อประสาทหลายสิบตัวที่แตกต่างกัน เช่น

สารสื่อประสาท แบ่งออกเป็น 3 ชนิดหลัก ได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  1. สารสื่อประสาทชนิดกระตุ้น (Excitatory neurotransmitters) เช่น อิพิเนฟริน (Epinephrine) นอร์อิพิเนฟริน (Norepinephrine) มีหน้าที่กระตุ้นให้เกิดการทำงานของเซลล์ประสาท 
  2. สารสื่อประสาทชนิดยับยั้ง (Inhibitory neurotransmitters) เช่น เซโรโทนิน และกาบา มีหน้าที่ยับยั้งหรือลดการทำงานของเซลล์ประสาท
  3. สารสื่อประสาทชนิดเปลี่ยนแปลง (Modulatory neurotransmitters) สารสื่อประสาทประเภทนี้ สามารถส่งผลต่อเซลล์ประสาทหลายๆ เซลล์ในเวลาเดียวกัน และอาจส่งผลต่อสารสื่อประสาทชนิดอื่นๆ ได้ด้วย

ทั้งนี้ สารสื่อประสาทบางชนิดก็มีหน้าที่เป็นทั้งตัวกระตุ้นและตัวยับยั้งได้เช่นกัน เช่น โดปามีน 

ยารักษาโรค กับตัวรับสารสื่อประสาท

มียารักษาอาการเจ็บป่วยทางจิตและระบบประสาทหลายตัวที่ออกฤทธิ์โดยพุ่งเป้าไปที่สารสื่อประสาทในสมอง หรือตัวรับสารสื่อประสาทบนเซลล์ที่มีทำหน้าที่รับสัญญาณทางเคมี 

ยาที่เข้าไปจับกับตัวรับสารสื่อประสาท ซึ่งเป็นการเลียนแบบการทำงานของสารสื่อประสาทนั้นๆ จะเรียกว่าอะโกนิสต์ (Agonist) เช่น ยาแก้ปวดกลุ่มโอปิออยด์ (Opioid) เช่น มอร์ฟีน (Morphine) และโคเคน (Cocaine) ที่มีกลไกออกฤทธิ์โดยเข้าไปจับกับตัวรับสารสื่อประสาทและกระตุ้นให้ความรู้สึกปวดคลายลง

ในขณะที่ยากลุ่มแอนตาโกนิสต์ (Antagonist) จะทำหน้าที่ยับยั้งการตอบสนองทางเคมีของตัวรับสารสื่อประสาท เช่น โคลซาปีน (Clozapine) และฮาโลเพอริดอล (Haloperidol) ที่ออกฤทธิ์โดยยับยั้งการทำงานของตัวรับโดปามีนภายในสมอง

สารสื่อประสาทกับอาการติดยา

ยาเสพติดบางชนิด เช่น โคเคน (Cocaine) เมทแอมเฟตามีน (Methamphetamine) เฮโรอีน (Heroin) กัญชา (Marijuana) นิโคติน (Nicotine) แอลกอฮอล์ และยาแก้ปวดบางชนิดที่มีฤทธิ์รุนแรงสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมหลังใช้ได้ โดยจะไปขัดขวางการทำงานของสารสื่อประสาทและการสื่อสารระหว่างเซลล์ในสมอง


11 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ncbi.nlm.nih.gov, Neurotransmitter (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK539894/)
medicalnewstoday.com, Neurotransmitter (https://www.medicalnewstoday.com/articles/326649.php), October 11, 2019

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อยากมีชีวิตดี “สารเคมีในสมองต้องสมดุล”
อยากมีชีวิตดี “สารเคมีในสมองต้องสมดุล”

เรื่องสำคัญที่คุณต้องรู้ เพราะสารเคมีในสมองสัมพันธ์กับทั้งร่างกายและจิตใจแบบที่คุณอาจคาดไม่ถึง

อ่านเพิ่ม