กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ.ธนู โกมลไสย
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.ธนู โกมลไสย

มะเร็งหลังโพรงจมูก (Nasopharyngeal carcinoma)

เผยแพร่ครั้งแรก 18 ม.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 2 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • โรคมะเร็งโพรงจมูก (Nasopharyngeal carcinoma) เกิดขึ้นหลังโพรงจมูกซึ่งอยู่ด้านหลังของจมูกและบริเวณเหนือช่องคอใต้ฐานของสมอง มีสาเหตุจากกรรมพันธุ์และเชื้อชาติ และเชื้อไวรัสเอ็บสไตบาร์ (Ebstein Barr Virus: EBV) หรือสารไนโตรซามีน (Nitrosamines)
  • อาการเบื้องต้นของผู้ป่วยโรคมะเร็งโพรงจมูกจะคล้ายกับอาการหวัด นั่นคือมีอาการ ไอ เจ็บคอ น้ำมูกไหล ทำให้ผูป่วยเข้าใจผิดว่าไม่ได้เป็นโรคร้ายแรงและไม่ได้เข้าตรวจรับการวินิจฉัยอย่างละเอียด
  • เมื่อก้อนมะเร็งมีขนาดโตขึ้นจนเข้าไปอุดตันภายในจมูก ผู้ป่วยจะมีเสียงที่เปลี่ยนไป รวมทั้งพูดไม่ชัดในบางคำ โดยเฉพาะคำที่ต้องออกเสียงตัวอักษร “ม” “น” “ง” ซึ่งเป็นอักษรที่ออกเสียงต้องผ่านช่องจมูก
  • สำหรับผู้ป่วยที่อยู่ในมะเร็งระยะ 2 และ 3 การใช้รังสีรักษาจะได้ผลดีที่สุด ผู้ป่วยบางรายอาจใช้การฝังแร่ร่วมด้วยหากเป็นในระยะ 3 หรือ 4 หรือมะเร็งลุกลามไปยังบริเวณคอ หรือต่อมน้ำเหลืองโตมากกว่า 6 เซนติเมตรแล้ว
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจคัดกรองมะเร็งทั่วไป

โรคมะเร็งโพรงจมูก (Nasopharyngeal carcinomaเกิดขึ้นหลังโพรงจมูกซึ่งอยู่ด้านหลังของจมูกและบริเวณเหนือช่องคอใต้ฐานของสมอง 

ทั้งนี้โพรงจมูกจะเป็นทางผ่านเข้าออกของสารบางอย่างที่เข้าสู่ร่างกายของเรา เช่น ควันมลพิษ ควันบุหรี่ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

สาเหตุของโรคมะเร็งโพรงจมูก 

  • เกิดจากกรรมพันธุ์และเชื้อชาติ ซึ่งโรคมะเร็งโพรงจมูกมักจะพบมากในคนเอเชีย โดยเฉพาะประเทศจีน ฮ่องกง และจะพบในผู้ป่วยเพศชายมากกว่าผู้ป่วยเพศหญิงถึง 3 เท่า 
  • เกิดจากเชื้อไวรัสเอ็บสไตบาร์ (Ebstein Barr Virus: EBV) หรือสารไนโตรซามีน (Nitrosamines) ซึ่งเป็นสารที่กระตุ้นให้เกิดโรคมะเร็ง พบมากในใบยาสูบในบุหรี่ อาหารหมักดอง อาหารปิ้งย่าง ปลาเค็ม ปลาร้า ฝุ่นจากโรงงานอุตสาหกรรม สารฟอร์มาดีไฮด์ (Formaldehyde) และควันไฟ 

พยาธิสภาพและระยะของโรคมะเร็งโพรงจมูก

พยาธิสภาพ หรือความผิดของร่างกายเมื่อเกิดโรคมะเร็งโพรงจมูกมักจะเป็นชนิดสเควมัสเซลล์ (Squamous cell carcinoma) ซึ่งเป็นมะเร็งผิวหนังที่พบได้เป็นอันดับ 2 ของโรคมะเร็งผิวหนังทั้งหมด 

ส่วนในเด็กและวัยรุ่นมักพบเป็นเนื้อเยื่อที่ไม่สามารจำแนกชนิดได้ (undifferentiated carcinoma)

เชื้อมะเร็งโพรงจมูกจะเริ่มเกิดที่ชั้นใต้เยื่อเมือกบริเวณด้านข้างของหลังจมูกและผนังคอด้านหลังก่อน จากนั้นจึงจะลุกลามออกไปส่วนอื่น 

ระยะของมะเร็งหลังโพรงจมูก

  • ระยะที่ 1 (T1) ก้อนมะเร็งยังอยู่ภายในโพรงจมูกข้างเดียว หรือยังไม่เห็นก้อนเนื้องอก แต่หากมีการตรวจชิ้นเนื้อก็จะได้เป็นผลบวก
  • ระยะที่ 2 (T2) ก้อนมะเร็งอยู่เต็มภายในหลังโพรงจมูกทั้งด้านข้างและด้านหลัง
  • ระยะที่ 3 (T3) ก้อนมะเร็งลุกลามไปถึงช่องจมูกและช่องคอ รวมถึงได้เข้าไปอยู่ภายในโพรงหลังจมูกแล้ว แต่ต่อมน้ำเหลืองข้างคอด้านที่เป็นมะเร็งยังโตไม่เกิน 3 เซนติเมตร
  • ระยะที่ 4 (T4) ก้อนมะเร็งลุกลามไปยังกะโหลกศีรษะ เส้นประสาทสมอง และผู้ป่วยอาจมีภาวะต่อมน้ำเหลืองโตด้วย หรือเชื้อมะเร็งได้กระจายไปสู่อวัยวะอื่นที่อยู่ไกลกว่านั้นแล้ว รวมทั้งกระจายไปยังต่อมข้างคอด้วย

การแบ่งลักษณะและขนาดของโรคมะเร็งโพรงจมูก

  • ระยะ N1 หมายถึง ต่อมน้ำเหลืองโตข้างเดียวกับที่เกิดก้อนมะเร็ง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 3 เซนติเมตร 
  • ระยะ N2 หมายถึง ต่อมน้ำเหลืองโตข้างเดียวกับที่เกิดก้อนมะเร็ง อาจโตเพียงก้อนเดียวหรือหลายก้อน มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเกิน 3 เซนติเมตร แต่ไม่เกิน 6 เซนติเมตร 
  • ระยะ N3 หมายถึง ต่อมน้ำเหลืองโตมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเกิน 6 เซนติเมตรไปแล้ว

อาการของผู้ป่วยโรคมะเร็งโพรงจมูก

อาการเบื้องต้นของผู้ป่วยโรคมะเร็งโพรงจมูกจะคล้ายกับอาการหวัด นั่นคือมีอาการ ไอ เจ็บคอ น้ำมูกไหล ทำให้ผู้ป่วยเข้าใจผิดว่าไม่ได้เป็นโรคร้ายแรงและไม่ได้เข้าตรวจรับการวินิจฉัยอย่างละเอียด 

กว่าจะรู้ตัวว่าเป็นโรคมะเร็งโพรงจมูก เชื้อมะเร็งก็ได้ลุกลามไปไกลจนยากแก่การรักษาแล้ว 

ลำดับการเกิดโรคของผู้ป่วยเมื่อเชื้อมะเร็งลุกลามไปแล้ว จะเป็นดังต่อไปนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • มีอาการคัดจมูกคล้ายกับเป็นหวัดเรื้อรังรักษาไม่หายแต่ไม่มีน้ำมูก ต่อมาอาจมีเลือดกำเดาไหล มีมูกปนหนอง มีเสมหะปนเลือดตามมา
  • เมื่อก้อนมะเร็งมีขนาดโตขึ้นจนเข้าไปอุดตันภายในจมูก ผู้ป่วยจะมีเสียงที่เปลี่ยนไป รวมทั้งพูดไม่ชัดในบางคำ โดยเฉพาะคำที่ต้องออกเสียงตัวอักษร “ม” “น” “ง” ซึ่งเป็นอักษรที่ออกเสียงต้องผ่านช่องจมูก 
  • ผู้ป่วยจะพบต่อมน้ำเหลืองใต้กกหูโต ต่อมน้ำเหลืองหลังติ่งหูโต มีลักษณะเป็นก้อนแข็ง กดไม่เจ็บ และจะค่อยๆ โตขึ้นเรื่อยๆ อีก 
  • เมื่อก้อนมะเร็งโตมากขึ้นอีก จะทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการข้างเคียงหนักขึ้น เช่น
    • รู้สึกปวดร้าวไปที่หู อาจมีอาการหูอื้อข้างเดียวด้วย รวมถึงฟังเสียงไม่ชัด เนื่องจากก้อนมะเร็งที่โตขึ้นได้ไปกดทับรูเปิดของท่อยูสเตเชียน (Eustachian tube) จนทำให้ผู้ป่วยสูญเสียการได้ยิน 
    • มีน้ำในหูชั้นกลาง ทำให้หูชั้นกลางอักเสบ 
    • อาจมีอาการปวดศีรษะร่วมด้วย เนื่องจากก้อนมะเร็งได้ลุกลามไปกดเส้นประสาทที่ 6 ใต้ฐานสมอง และทำให้ผู้ป่วยมองเห็นภาพซ้อน
    • หนังตาผู้ป่วยตก มีอาการปวดฟัน เป็นอัมพาตในส่วนของกล้ามเนื้อหน้า
    • มีอาการอื่นๆ ตามอวัยวะต่างๆ เช่น อ่อนเพลีย น้ำหนักลด เป็นไข้ ปวดบริเวณบั้นเอว มีอาการไอ หอบ ท้องอืด ตัวเหลือง ตาเหลือง

นอกจากควรหมั่นสังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับตนเองบ่อยๆ แล้ว วิธีที่ทุกคนสามารถทำได้ง่ายๆ คือการตรวจสุขภาพประจำปี ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้หญิง หรือผู้ชายวัยใดก็ตามก็ล้วนมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคมะเร็งได้ 

หรือหากต้องการลงลึกในรายละเอียดการตรวจเกี่ยวกับการคัดกรองโรคมะเร็งโดยตรง โรงพยาบาลหลายแห่งก็มีบริการตรวจคัดกรองมะเร็งด้วยเช่นกัน ทั้งตรวจคัดกรองมะเร็งมะเร็งทั่วไป ตรวจคัดกรองมะเร็งมะเร็งในผู้หญิง และตรวจคัดกรองมะเร็งมะเร็งในผู้ชาย 

การวินิจฉัยโรคมะเร็งโพรงจมูก

  • แพทย์จะมีการซักประวัติผู้ป่วยว่ามีอาการปวดศีรษะ คัดจมูก อ่อนเพลีย มีน้ำมูกและมีเลือดกำเดาไหลหรือไม่ หรือผู้ป่วยมีปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็นและการได้ยินร่วมด้วยหรือไม่
  • มีการตรวจพบก้อนมะเร็ง ต่อมน้ำเหลืองโต น้ำหนักตัวลดลง 
  • ตรวจดูขนาดของก้อนมะเร็งและการลุกลามของมะเร็งโดยการถ่ายภาพรังสี เช่น 
    • การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือ CT Scan (Computerised Tomography)
    • การถ่ายภาพด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ MRI Scan (Magnetic Resonance Imaging) 
    • ตรวจดูชนิดของเซลล์มะเร็งโดยตรวจชิ้นเนื้อ (Biopsy) 
    • ตรวจประเมินดูภาวะซีด เช่น ตรวจเลือดดูระดับฮีโมโกลบิน (Hb) เม็ดเลือดขาว (White Blood Cell: WBC) เม็ดเลือดแดง (Red Blood Cell: RBC) เกล็ดเลือด (Platelets)

การรักษา 

สำหรับผู้ป่วยที่อยู่ในมะเร็งระยะ 2 และ 3 การใช้รังสีรักษาจะได้ผลดีที่สุด และจะครอบคลุมทั้งก้อนมะเร็งต้นกำเนิดและต่อมน้ำเหลืองที่โต ผู้ป่วยบางรายอาจใช้การฝังแร่ร่วมด้วยหากเป็นในระยะ 3 หรือ 4 หรือมะเร็งลุกลามไปยังบริเวณคอ หรือต่อมน้ำเหลืองโตมากกว่า 6 เซนติเมตรแล้ว 

นอกจากการใช้รังสีบำบัดแล้ว แพทย์มักนิยมใช้ยาเคมีบำบัดร่วมกับการใช้รังสีรักษา หรือให้ก่อน หรือหลังการใช้รังสีรักษาก็ได้ เช่น ซิสพลาทิน (Cisplatin) ฟลูออโรยูราซิล 5 (5-Fluouracil: 5-FU) 

แต่หากผู้ป่วยบางรายเมื่อรักษาด้วยการฉายรังสีแล้วต่อมน้ำเหลืองไม่ยุบลง แพทย์จะรักษาโดยการผ่าตัดเอาต่อมน้ำเหลืองออกทั้งหมด

นอกจากนี้ยังมีการรักษาโดยใช้แสงเลเซอร์พีดีที (Photodynamic Therapy: PDT) โดยแพทย์จะฉีดสารไวแสง (Photesensitizer) เข้าทางหลอดเลือดดำ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

จากนั้นเซลล์ในร่างกายที่เป็นเซลล์มะเร็งก็จะจับกับสารไวแสงไว้และเรืองแสงเป็นสีแดง (Red flurorescent) ส่วนเซลล์ในร่างกายที่เป็นปกติจะขับสารไวแสงออกไปภายใน 2-3 วัน 

หลังจากนั้นแพทย์จึงจะยิงแสงเลเซอร์ไปยังเซลล์มะเร็งที่จับกับสารไวแสง ทำให้เซลล์มะเร็งถูกทำลาย ซึ่งข้อควรระวังของการรักษาแบบนี้คือ หลังจากฉีดสารไวแสงแล้ว ผู้ป่วยจะต้องไม่ถูกแสงแดดเป็นเวลาประมาณ 4-6 สัปดาห์

การพยาบาล 

ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งโพรงจมูกจะต้องคำนึงถึงการช่วยเหลือให้ผู้ป่วยปรับตัวต่อการวินิจฉัยโรคได้ รวมทั้งรู้จักวิธีดูแลผู้ป่วย ในระหว่างที่ผู้ป่วยกำลังได้รับรังสีรักษาและเคมีบำบัด ตลอดจนช่วยเหลือในการปรับตัวต่ออาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากการรักษา เช่น 

  • ให้ยาแก้ปวด 
  • ให้อมน้ำยาที่มียาชาไซโลเคน วิสเชียส (Xylocaine viscous) เพื่อบรรเทาอาการปวดบริเวณช่องปากและคอ
  • งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ 
  • รักษาความสะอาดในช่องปากโดยให้กลั้วปากและคอด้วยน้ำเกลือ 
  • แนะนำให้ผู้ป่วยจิบน้ำบ่อยๆ หรือใช้น้ำลายเทียมเพื่อลดอาการปากแห้ง ซึ่งอาการปากแห้งจะเกิดได้ตั้งแต่ 2-3 สัปดาห์แรกของการฉายรังสีและหลังหยุดฉายรังสีอีกหลายสัปดาห์ 
  • ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับน้ำอย่างเพียงพอเพื่อขับเอาเซลล์ที่ถูกทำลายจากการฉายรังสีหรือใช้เคมีบำบัดออกมา 
  • ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับอาหารอย่างเพียงพอ หากผู้ป่วยรับประทานอาหารไม่ได้เพราะเจ็บแผนในปากมาก ควรให้อาหารอ่อน รสไม่จัด และให้ยาแก้ปวดกับผู้ป่วยก่อนรับประทานอาหารประมาณครึ่งชั่วโมง หากผู้ป่วยมีอาการคลื่นไส้อาเจียน หรือเบื่ออาหาร อาจต้องให้อาหารทางสายยาง หรือทางหลอดเลือดดำแทน

มะเร็งเป็นเหมือนภัยเงียบ ไม่ค่อยแสดงอาการใดๆ เราจึงมักพบว่า มะเร็งหลายชนิดกว่าจะตรวจพบก็มักเข้าสู่ระยะกลางๆ เกือบท้ายแล้ว ซึ่งโรคมักจะมีอาการรุนแรงและลุกลามไปยังอวัยวะและเนื้อเยื่อข้างเคียงมากแล้ว

นั่นทำให้การรักษามักไม่ได้ผลเท่าที่ควร และทำให้โอกาสหายเป็นปกติลดน้อยลงจนแทบจะเป็นศูนย์

ด้วยเหตุนี้ทุกคนจึงควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง หากมีอาการผิดปกติที่เรื้อรัง รักษาไม่หายเสียที ก็ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย 

หรือหากเป็นผู้มีข้อบ่งชี้ว่า "เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง" เช่น มีคนในครอบครัวเป็นมะเร็ง ทำงาน หรืออยู่ในสภาพแวดล้อมที่สัมผัสกับสารก่อมะเร็ง ก็ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งบ้าง

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจคัดกรองมะเร็งทั่วไป จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
WebMD, Nasopharyngeal Cancer: Symptoms, Causes, and Treatment (https://www.webmd.com/cancer/nasopharyngeal-cancer#1), 28 May 2020.
PDQ Adult Treatment Editorial Board (2002), "Nasopharyngeal Cancer Treatment (Adult) (PDQ®): Health Professional Version", PDQ Cancer Information Summaries, National Cancer Institute (US), PMID 26389193, retrieved 2020-04-28.
NHS.UK., Nasopharyngeal cancer (https://www.nhs.uk/conditions/nasopharyngeal-cancer/), 28 May 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
แผลพุงพองตามร่างกายเรื้อรังเกิดจากไขมันในเลือดสูงหรือไม่
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
มียาหรือยาฉีดแก้น้ำเหลืองเสียไหม
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ที่ขาเป็นแผลน้ำเหลืองไม่ดี ควรทำยังไงให้รอยแผลหายหรือจางลงค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
แฟนปวดตรงข้างๆคอคะ แล้วมีอาการบวมเป็นบางครั้ง
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
มีก้อนกลมๆที่ใต้คางด้านขวาค่ะมันกลิ้งไปมาได้ด้วยนะคะ ไม่ทราบว่ามันจะเป็าอะไรหรือไม่ค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
โรคมะเร็ง เต้านมจะอาการเตือนก่อนอย่างไรบ้าง เคยเห็นคนส่วนใหญ่ตรวจเจอจะเป็นระยะใกล้จะสุดท้ายแล้ว อยากให้แนะนำเกี่ยวอาการเริ่มต้นให้หนอยค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)