ประเภทของยารักษาตกขาว ข้อดีข้อเสีย และวิธีการใช้

รู้จักยารักษาตกขาวแบบเจาะลึกเพื่อการใช้งานอย่างถูกต้องและได้ผลดีที่สุด
เผยแพร่ครั้งแรก 13 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 15 ก.พ. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ประเภทของยารักษาตกขาว ข้อดีข้อเสีย และวิธีการใช้

ตกขาวเกิดจากอะไร?

อาการตกขาวกับผู้หญิงเป็นเรื่องที่แยกออกจากกันได้ยากเพราะเป็นอาการธรรมชาติที่เกิดขึ้นได้กับผู้หญิงเริ่มเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ทุกคน มีสาเหตุเกิดจากมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่ก่อให้เกิดอาการตกขาวตามมา แต่บางรายก็อาจมีอาการตกขาวที่ผิดปกติได้เช่นกัน โดยมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อภายในช่องคลอด  มีโรคต่างๆ เกิดขึ้นกับระบบอวัยวะสืบพันธุ์ หรือจากการแพ้สารเคมี เหล่านี้จึงทำให้ต้องใช้ยารักษาตกขาวในที่สุด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ยารักษาตกขาวมีกี่ประเภท

สำหรับยารักษาตกขาวที่ใช้ในตำรับแพทย์แผนปัจจุบันสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

1. ยารักษาตกขาวในรูปแบบ ยาปฏิชีวนะ

เป็นยารักษาตกขาวชนิดรับประทานเพื่อฆ่าเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุของอาการตกขาว หรือลดปริมาณเชื้อโรคให้น้อยลงเพื่อให้ร่างกายเข้าสู่สภาพปกติโดยเร็วที่สุด แต่การรับประทานยารักษาตกขาวประเภทนี้ควรผ่านการตรวจและวินิจฉัยโรค พร้อมกับได้รับใบสั่งยาจากแพทย์ก่อนเพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพมากที่สุด

2. ยารักษาตกขาวในรูปแบบ ยาเหน็บช่องคลอด

หรือที่เรียกอีกชื่อว่า “ยาสอดช่องคลอด” เป็นยารักษาตกขาวอีกประเภทหนึ่งที่จะช่วยให้อาการตกขาวหายเร็วขึ้น โดยมีวิธีใช้ดังต่อไปนี้

  • ควรล้างมือให้สะอาด ปัสสาวะ และล้างทำความสะอาดบริเวณภายในช่องคลอดด้วยน้ำสบู่อ่อนๆ ให้เรียบร้อย
  • แกะเม็ดยาออกจากห่อแล้วจุ่มลงในน้ำสะอาดนาน 1 – 2 วินาที แค่พอให้เม็ดยาชื้น และช่วยให้เม็ดยารักษาตกขาวลื่น สามารถสอดเข้าได้ง่าย
  • นอนหงายราบกับพื้นแล้วชันเข่าขึ้นมา จับเม็ดยาสอดเข้าไปในช่องคลอดโดยให้ด้านปลายเรียวเข้าไปก่อน ค่อยๆ ใช้นิ้วชี้ดันเม็ดยาเข้าไป หรือถ้ามีอุปกรณ์ช่วยสอดที่เรียกว่า “แอปพลิเคเตอร์” จะช่วยให้สอดยาได้สะดวกยิ่งขึ้น เพียงแค่ใส่เม็ดยาไว้ตรงปลายแล้วสอดแท่งแอปพลิเคเตอร์เข้าไปให้ลึกที่สุด จากนั้นกดปลายพลาสติกเพื่อให้เม็ดยาหล่นเข้าไปในช่องคลอดแล้วค่อย
    ดึงแท่งแอปพลิเคเตอร์ออกมา
  • สำหรับยารักษาตกขาวที่ต้องสอดครั้งละ 2 เม็ด ให้สอดยาทีละเม็ด แต่ต้องทำติดต่อกัน
  • สอดยารักษาตกขาวให้ครบจำนวนตามที่แพทย์ หรือเภสัชกรแนะนำ ถึงแม้ว่าจะมีอาการดีขึ้นแล้วก็ไม่ควรหยุดยาเองจนกว่าจะใช้ยาให้ครบ  ขณะมีประจำเดือนก็ควรสอดยาด้วย เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพมากที่สุดและป้องกันอาการดื้อยา อีกทั้งควรงดการมีเพศสัมพันธ์ หรือหากเลี่ยงไม่ได้ควรใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง
  • หลังจากที่สอดยารักษาตกขาวแล้วควรนอนท่าเดิมนิ่งๆ โดยอาจใช้ทิชชู หรือแผ่นรองซับอนามัยรองที่กางเกงชั้นในไว้ เพื่อรองรับเม็ดยาที่ละลายแล้วอาจจะไหลออกมาได้

ข้อดีข้อเสียของยารักษาตกขาวแต่ละประเภท

1. ยารักษาตกขาวในรูปแบบยาปฏิชีวนะ 

ข้อดี :  เป็นยารักษาตกขาวที่มีสรรพคุณในการฆ่าเชื้อโรคได้ดี หากรับประทานครบอย่างต่อเนื่องตามคำแนะนำของแพทย์ หรือเภสัชกร จะช่วยให้ผลลัพธ์การรักษารวดเร็วยิ่งขึ้น 

ข้อเสีย :

  • มีผลต่อภูมิต้านทาน ตัวยาที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียจะส่งผลกระทบต่อภูมิต้านทาน หรือภูมิคุ้มกันโรคในร่างกาย อาจทำให้เกิดการสูญเสียแบคทีเรียประจำถิ่น (แลคโตบาซิลไล) ซึ่งเป็นแบคทีเรียตัวดี ไปกับแบคทีเรียไม่ดีด้วยทำให้ไม่มีแบคทีเรียตัวดีคอยควบคุมความสมดุลในช่องคลอด
  • เมื่อกินบ่อยๆ เข้าจะทำให้เชื้อโรคดื้อยา เนื่องจากเชื้อโรคมีการพัฒนาตัวเองจนสามารถต้านฤทธิ์ยาได้กลายเป็นโรคเรื้อรังที่รักษาไม่หาย แม้ว่าจะมีอาการดีขึ้นแล้วก็ตาม
  • มีปฏิกิริยาต่อยาชนิดอื่น ยาปฏิชีวนะบางกลุ่มสามารถเข้าไปรบกวนการทำงานของยาชนิดอื่นได้ 
  • มีผลข้างเคียงต่อร่างกายขึ้นอยู่กับชนิดของยา  ขนาดรับประทาน และวิธีรับประทาน รวมถึงความไวของอาการที่มีต่อยาปฏิชีวนะ เช่น คลื่นไส้อาเจียน ลมพิษ ผื่นคัน หรือท้องเสีย เป็นต้น

2. ยารักษาตกขาวในรูปแบบยาเหน็บช่องคลอด 

ข้อดี:  

  • ใช้ในการรักษากรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถรับประทานยารักษาตกขาว หรือใช้วิธีการรักษาด้วยรูปแบบอื่นได้
  • ออกฤทธิ์ได้เร็วกว่ายารับประทานเพราะตัวยาจะละลายและซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้อย่างรวดเร็ว ไม่ต้องผ่านการย่อยในกระเพาะอาหารเหมือนยารับประทาน
  • สามารถรักษาอาการเฉพาะที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพราะตัวยาจะเข้าไปบำบัดได้ตรงจุด

ข้อเสีย:

  • วิธีใช้งานยุ่งยาก ผู้ป่วยบางรายไม่สามารถทำได้ด้วยตัวเอง 
  • ตัวยาเหน็บอาจจะละลาย หรือไหลซึมออกมาจากช่องคลอดทำให้เปื้อนที่กางเกงชั้นในได้
  • ไม่เหมาะกับผู้ป่วยบางโรค เช่น ผู้เคยได้รับการผ่าตัดบริเวณช่องคลอด ผู้เคยได้รับการรักษาด้วยวิธีฉายแสงบริเวณช่องคลอด หรือมีปัญหาหัวใจเต้นผิดจังหวะ 
  • อาจมีอาการข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ เช่น รู้สึกปวดแสบร้อน หรือระคายเคืองบริเวณช่องคลอด มีอาการคลื่นไส้ และปวดท้องร่วมด้วย  หากอาการเหล่านี้รุนแรงขึ้นควรรีบไปพบแพทย์

อาการตกขาวผิดปกติเป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายได้ด้วยการดูแลตัวเองตามหลักสุขอนามัยที่ดี  การปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด และใช้ยารักษาตกขาวที่สั่งจ่ายจากแพทย์ หรือเภสัชกรให้ครบถ้วน เพียงเท่านี้ก็จะช่วยให้น้องสาวของคุณมีสุขภาพดีได้เหมือนเดิม  อย่างไรก็ดี ตกขาวจากเชื้อโรคบางชนิดจำเป็นต้องรักษาคู่นอนด้วย


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
นางขวัญจิตร เหล่าทอง และ นางเพียงเพ็ญ ธัญญะตุลย์, โรคช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย (http://www.si.mahidol.ac.th/si...), 14 ก.พ. 2562
รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.ศรีจันทร์ พรจิราศิลป์, ตกขาว .. รักษาอย่างไร (https://www.pharmacy.mahidol.a...), 14 ก.พ. 2562

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ตกขาวสีน้ําตาล บอกอะไร? ปกติไหม? อันตรายหรือไม่ อย่างไร?
ตกขาวสีน้ําตาล บอกอะไร? ปกติไหม? อันตรายหรือไม่ อย่างไร?

ไขข้อข้องใจ ตกขาวสีน้ำตาลอันตรายหรือไม่ เกิดจากสาเหตุอะไร มีอาการบ่งชี้ใดที่บอกว่าควรไปพบแพทย์ได้แล้ว

อ่านเพิ่ม
ตกขาวมีกลิ่น...อันตรายไหม หากเป็นแล้วทำอย่างไรดี?
ตกขาวมีกลิ่น...อันตรายไหม หากเป็นแล้วทำอย่างไรดี?

สาเหตุ อาการ วิธีวินิจฉัยและรักษาตกขาวมีกลิ่น ปัญหาหญิงๆ ที่เกิดได้บ่อย

อ่านเพิ่ม
ทำอย่างไรเมื่อมีตกขาวสีเขียว?
ทำอย่างไรเมื่อมีตกขาวสีเขียว?

สาเหตุที่อาจเป็นไปได้ และแนวทางปฏิบัติตัว เมื่อพบตกขาวสีเขียว

อ่านเพิ่ม