โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
ชื่อผู้สนับสนุน
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

โรคไต และวิธีบำบัดทดแทนไตที่ดีต่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วย

โรคไต สาเหตุ 3 แนวทางการรักษาโรคไตในปัจจุบัน เปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสีย พร้อมคำแนะนำ ผ่าตัดปลูกถ่ายไต ที่ไหนดี?
เผยแพร่ครั้งแรก 29 ม.ค. 2021 อัปเดตล่าสุด 29 ม.ค. 2021 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
โรคไต และวิธีบำบัดทดแทนไตที่ดีต่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วย

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ตามปกติแล้ว ไตจะเริ่มเสื่อมเมื่อคนเราอายุ 30 ปี หลังจากนั้นจะค่อยๆ เสื่อมลงต่อช้าๆ
  • มีบางกรณีที่เกิดไตเสื่อมผิดปกติ ได้แก่ ไตวายเฉียบพลัน โรคไตเรื้อรัง ไตวายระยะสุดท้าย
  • วิธีบำบัดทดแทนไตที่ใช้กันในปัจจุบัน ได้แก่ ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ล้างไตทางช่องท้อง และผ่าตัดปลูกถ่ายไต
  • การผ่าตัดปลูกถ่ายไตเป็นวิธีบำบัดทดแทนไตที่ดีต่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วยที่สุด
  • ผู้สนใจสามารถปรึกษาเรื่องการผ่าตัดปลูกถ่ายไต ฟรี ที่ศูนย์โรคไต โรงพยาบาลบำรุงราษฎร

สถานการณ์ผู้ป่วยโรคไตในประเทศไทย พ.ศ. 2563 พบว่า คนไทยป่วยเป็นโรคไตเรื้อรัง 17.6% ของประชากร หรือประมาณ 8 ล้านคน ป่วยเพิ่มปีละกว่า 7,800 คน มีผู้ผ่าตัดเปลี่ยนไตปีละราว 500 คน จัดว่าโรคไตเป็นโรคเรื้อรังที่มีผู้ป่วยจำนวนมาก

โรคไต คืออะไร สาเหตุมาจากอะไร วิธีรักษาโรคไตมีอะไรบ้าง วิธีไหนจะดีต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมากที่สุด หาคำตอบได้จากบทความนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเรื่องการผ่าตัดปลูกถ่ายไต

ที่ศูนย์โรคไต รพ. บำรุงราษฎร์ ฟรี!

โรคไต คืออะไร?

ตามปกติแล้ว เมื่ออายุ 30 ปี ไตจะเริ่มเสื่อมหรือค่อยๆ ทำงานลดลงอย่างช้าๆ แต่สำหรับผู้ป่วยบางคนอาจประสบภาวะไตเสื่อมผิดปกติ ดังนี้

  • ไตวายเฉียบพลัน หมายถึงไตเสื่อมอย่างรวดเร็วหรือหยุดทำงานทันที หลังจากเป็นแล้วอาจกลับมาเป็นปกติได้ ถ้าได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม
  • โรคไตเรื้อรัง หมายถึงไตเสื่อมลงช้าๆ อย่างต่อเนื่อง จนเกิดความผิดปกติถาวร สามารถแบ่งย่อยออกเป็น 5 ระยะตามความรุนแรง ระยะแรกหรือที่เรียกว่า “ระยะตรวจพบความผิดปกติของไต” ไตยังคงทำงานได้ แต่จะตรวจพบตะกอนในปัสสาวะ ซึ่งบ่งชี้ถึงการทำงานที่ผิดปกติของไต ระยะรุนแรงที่สุดคือ “ระยะไตวาย”
  • โรคไตวายระยะสุดท้าย หมายถึงไตเสื่อมมากจนทำงานได้ไม่ถึง 15% ของไตคนที่มีภาวะสุขภาพปกติ ทำให้ไม่สามารถขจัดของเสียออกจากร่างกาย ถ้าไม่ได้รับการรักษาจะเสียชีวิตภายในเวลาไม่นาน

ในประเทศไทยมักพบผู้ป่วยโรคไตที่เริ่มจากเป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง แล้วไม่สามารถควบคุมได้ เมื่อเป็นระยะยาวก็เกิดไตวายในที่สุด

นอกจากนี้โรคไตยังอาจมาจากโรคภูมิคุ้มกันผิดปกติ (SLE) โรคเกาต์ นิ่วในไต ไตอักเสบ ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะซ้ำๆ

การรับประทานยาหรือรับสารเคมีบางอย่างก็ส่งผลต่อไตได้เช่นกัน เช่น ยาแก้ปวด ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ยาสมุนไพร ยาจีน ซึ่งซื้อรับประทานเองโดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์

3 วิธีบำบัดทดแทนไตในปัจจุบัน

เมื่อไตเสียหายจนไม่สามารถทำหน้าที่กำจัดของเสียและน้ำได้ จึงจำเป็นต้องมีการใช้วิธีทางการแพทย์เข้ามาบำบัดทดแทนไตที่เสื่อมไป

3 วิธีบำบัดทดแทนไตที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจคัดกรองความเสี่ยง Stroke รพ. บำรุงราษฎร์

วันนี้ถึง 30 พ.ย. 2563 เพียงใส่ Code "BSTM5000" ลดเลย 5,000 บาท

1. ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม

การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม หรือที่เรียกกันว่า “ฟอกไต” หลักๆ แล้วคือการนำเลือดออกจากร่างกาย แล้วให้ไหลผ่านเครื่อง เครื่องนี้จะทำหน้าที่กรองของเสียแทนไต แล้วส่งเลือดดีกลับคืนเข้าสู่ร่างกาย

โดยทั่วไป การฟอกไตจะทำครั้งละ 4-5 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ทำที่โรงพยาบาลหรือศูนย์ไตเทียม

ก่อนฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ผู้ป่วยต้องรับการผ่าตัดเตรียมเส้นเลือดบริเวณแขนหรือคอ เพื่อให้เลือดมีแรงดันมากพอจะไหลเข้าสู่เครื่องไตเทียม

2. ล้างไตทางช่องท้อง

การล้างไตทางช่องท้อง จะใช้วิธีใส่น้ำยาเข้าในช่องท้องผ่านทางสายยาง (ซึ่งถูกผ่าตัดฝังไว้ที่ช่องท้องเลย) จากนั้นทิ้งไว้ระยะเวลาหนึ่ง แล้วค่อยปล่อยออก

วิธีนี้จะใช้เวลาทำครั้งละ 30 นาที เปลี่ยนน้ำยา 4-5 ครั้งต่อวัน ผู้ป่วยสามารถทำได้เองที่บ้านหรือให้คนใกล้ชิดช่วยเหลือ

วิธีนี้มีข้อดีที่ผู้ป่วยไม่ต้องไปโรงพยาบาลบ่อยๆ เพียงพบแพทย์ประมาณ 2-3 เดือนต่อครั้ง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเรื่องการผ่าตัดปลูกถ่ายไต

ที่ศูนย์โรคไต รพ. บำรุงราษฎร์ ฟรี!

3. ผ่าตัดปลูกถ่ายไต

ปัจจุบันถือว่าการผ่าตัดปลูกถ่ายไตเป็นวิธีรักษาโรคไตที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยไตวายทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ถ้าการปลูกถ่ายสมบูรณ์เรียบร้อย ไตใหม่จะทำหน้าที่ทดแทนไตเดิมที่เสื่อมไป ไม่ต้องฟอกไตหรือล้างไตอีก เพียงแต่ต้องรับยากดภูมิต้านทานและอยู่ในความดูแลของแพทย์ไปตลอด

การผ่าตัดปลูกถ่ายไตไม่ใช่การนำไตเก่าออกแล้วใส่ไตใหม่แทนที่ แต่เป็นการผ่าตัดนำไตใหม่ที่สุขภาพดีและได้รับการประเมินแล้วว่าสามารถเข้ากันได้ มาวางในอุ้งเชิงกรานแถวๆ ท้องน้อยของผู้ป่วย จากนั้นต่อหลอดเลือดและท่อไตใหม่เข้ากับหลอดเลือดและกระเพาะปัสสาวะของผู้ป่วย ตามลำดับ

การผ่าตัดใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง และพักฟื้นประมาณ 1-2 สัปดาห์

ไตที่นำมาปลูกถ่ายจะมาจาก

  • ผู้บริจาคที่ยังมีชีวิต เช่น จากญาติของผู้ป่วย ซึ่งผู้ที่บริจาคไตและเหลือไตเพียงข้างเดียวยังสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ไตอีกข้างทำหน้าที่ได้ตามปกติ
  • ผู้บริจาคที่มีภาวะสมองตาย ผู้ป่วยจะได้รับไตนี้ได้จากการลงทะเบียนรอรับจากศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย

ข้อดีของการบำบัดทดแทนไตด้วยการผ่าตัดปลูกถ่ายไต คือ ผู้ป่วยจะมีคุณภาพชีวิตที่ดี เทียบกับการบำบัดทดแทนไตอีกสองวิธีที่เหลือ ไม่ต้องมีอุปกรณ์ฟอกไตคาไว้ที่ตัวในระยะยาวซึ่งมีความเสี่ยงเรื่องการติดเชื้อ ไม่ต้องใช้เวลาหลายชั่วโมงต่อวันนั่งหรือนอนนิ่งๆ สำหรับฟอกไต

หากการผ่าตัดปลูกถ่ายไตสำเร็จดี ผู้ป่วยจะสามารถรับประทานอาหาร ออกกำลังกาย เดินทาง มีครอบครัวได้เหมือนผู้มีสุขภาพดีทั่วไป

อย่างไรก็ตาม ในผู้ป่วยคนหนึ่งอาจใช้หลายวิธีร่วมกัน ขึ้นอยู่กับระยะของโรคไตที่เป็น รวมถึงปัจจัยอื่นๆ เช่น โรคแทรกซ้อน อายุผู้ป่วย อวัยวะที่มีผู้บริจาคมา ฯลฯ โดยแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาวิธีรักษาตามความเหมาะสม

ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นได้จากการปลูกถ่ายไต

แม้ว่าการผ่าตัดปลูกถ่ายไตจะเป็นวิธีบำบัดรักษาไตที่ดีที่สุดอย่างที่กล่าวไปแล้ว แต่ก็เป็นธรรมดาของการผ่าตัด ไม่ว่า ณ บริเวณใด ที่สามารถเกิดอาการแทรกซ้อนได้

อาการแทรกซ้อนจากการปลูกถ่ายไตที่อาจเกิดขึ้น เช่น

  • เลือดออก
  • ติดเชื้อ
  • เส้นเลือดอุดตัน
  • ท่อไตรั่วหรือมีการอุดตัน
  • ไตใหม่ใช้การไม่ได้ในระยะแรก

ภาวะที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษเมื่อเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ คือ ภาวะร่างกายปฏิเสธอวัยวะใหม่ ซึ่งระบบภูมิคุ้มกันจะเข้าโจมตีอวัยวะใหม่นั้นเหมือนเป็นสิ่งแปลกปลอม แต่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดได้ด้วยการปฏิบัติตามแผนการรักษาของแพทย์เจ้าของไข้อย่างเคร่งครัด

ความสำเร็จของการปลูกถ่ายไต ขึ้นอยู่กับอะไรบ้าง?

การปลูกถ่ายไตจะประสบความสำเร็จหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ได้แก่

  • สภาวะร่างกายของผู้ป่วย
  • ความรุนแรงของโรคที่เป็นมา
  • ภาวะหรือโรคแทรกซ้อน
  • ไตที่จะนำมาปลูกถ่าย (ว่ามาจากผู้ที่ยังมีชีวิตหรือเสียชีวิตไปแล้ว)
  • ความชำนาญ ประสบการณ์ของแพทย์ผู้ทำการปลูกถ่ายไต ความพร้อมของสถานพยาบาลที่ทำการปลูกถ่ายไต

ปลูกถ่ายไต ที่ไหนดี?

เนื่องจากปัจจุบัน ผู้บริจาคอวัยวะมีจำนวนมากกว่าเมื่อก่อน ทำให้ไม่ต้องรอไตบริจาคนานอย่างที่แล้วมา ประกอบกับเทคโนโลยีทางการแพทย์ก็ก้าวหน้าขึ้น การปลูกถ่ายไตจึงเป็นวิธีรักษาโรคไตที่ค่อนข้างได้ประสิทธิภาพ

บำรุงราษฎร์ เป็นอีกโรงพยาบาลที่ทำการผ่าตัดปลูกถ่ายไตมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 และยังเป็นโรงพยาบาลสมาชิกสามัญของศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย มีผู้ป่วยรับการปลูกถ่ายไตแล้วกว่าร้อยราย

จากสถิติผู้ป่วยปลูกถ่ายไตในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาพบว่า อัตราการรอดของไตที่ทำการปลูกถ่ายใน 1 ปี สูงถึง 96% 5 ปีอยู่ที่ 83% และ 10 ปีอยู่ที่ 78%

หากคุณหรือคนใกล้ชิดอยู่ระหว่างการรักษาโรคไต ซึ่งต้องรับการบำบัดทดแทนไตด้วยวิธีอื่นอยู่ แต่อยากพิจารณาการผ่าตัดปลูกถ่ายไตเป็นอีกทางเลือก คุณสามารถปรึกษาศูนย์โรคไต โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ได้ฟรี! เพียงโทร. 08 1834 3439

ส่วนผู้ที่เพิ่งตรวจพบภาวะไตเสื่อมระยะแรก ควรดูแลตัวเองเพื่อชะลอไม่ให้ไตเสื่อมรวดเร็วเกินไป โดยงดรับประทานอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็มจัด เพื่อลดความเสี่ยงความดันโลหิตสูง เบาหวาน ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ งดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไม่กลั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน เนื่องจากเป็นสาเหตุให้เชื้อโรคแทรกซึมสู่กระเพาะปัสสาวะได้

ใครที่ไม่เคยตรวจสุขภาพที่มีการตรวจปัสสาวะมาก่อน ควรเริ่มสังเกตตนเอง โดยเฉพาะเมื่ออายุ 30 ปีขึ้นไป อาการที่อาจบ่งชี้ถึงโรคไต ได้แก่ ปัสสาวะขัด ปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ ปัสสาวะมีสีเข้มหรือขุ่นผิดปกติ มีอาการบวมหน้า รอบตา หน้าแข้ง หรือหลังเท้า มีอาการปวดหลัง ปวดเอว

หากมีอาการเหล่านี้ โดยเฉพาะร่วมกับมีภาวะความดันโลหิตสูงหรือเบาหวานอยู่ก่อน ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัย หากเป็นโรคไตจริงจะได้รีบรับการรักษาเพื่อชะลอความเสื่อมของไตโดยเร็ว


7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ฟอกไตเจ็บไหม ระยะไหน เตรียมตัวอย่างไร อ่านที่นี่, (https://hdmall.co.th/c/kidney-dialysis).
ตรวจไต ต้องอดอาหารไหม ตรวจยังไง อ่านผลยังไง? , (https://hdmall.co.th/c/kidney-screening).

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)