ก่อนจะจ้างพี่เลี้ยงเด็ก: คุณควรรู้อะไรบ้าง

เลือกให้เป็น เลือกให้ถูก เพราะพี่เลี้ยงคืออีกคนที่จะอยู่ใกล้ชิดกับลูกของคุณตลอดเวลา
เผยแพร่ครั้งแรก 7 ต.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 28 มิ.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ก่อนจะจ้างพี่เลี้ยงเด็ก: คุณควรรู้อะไรบ้าง

การหาพี่เลี้ยงเด็กที่ไว้ใจได้และเชื่อถือได้ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ บทความนี้จะแนะนำเคล็ดลับช่วยหาพี่เลี้ยงเด็กที่อาจช่วยให้คุณค้นพบพี่เลี้ยงเด็กที่มีคุณสมบัติตรงตามความต้องการได้มากที่สุด เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนแรกจะหาพี่เลี้ยงเด็กได้จากที่ไหน 

แนะนำให้เริ่มค้นหาจากชุมชนที่รู้จัก โบสถ์ที่คุณไป โรงเรียนในพื้นที่ ที่ทำงาน เมื่อได้รายชื่อพี่เลี้ยงที่น่าสนใจมาแล้ว ขั้นต่อมาคือต้องตรวจสอบประวัติพี่เลี้ยงเด็กให้ละเอียดก่อน เช่น สอบถามจากครอบครัวอื่นที่เคยจ้างมาก่อน สอบถามจากพี่เลี้ยงเด็กคนอื่นๆ เพื่อค้นหาว่า พวกเขาเคยมีปัญหากับแนวทางที่พี่เลี้ยงปฏิบัติต่อลูกๆ ของพวกเขาบ้างไหม มีอะไรบ้างที่เพื่อนร่วมอาชีพเดียวกันเห็นว่าเป็นปัญหา หรือควรแก้ไข ทั้งนี้เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นก่อนที่คุณจะได้เจอ "ว่าที่พี่เลี้ยงเด็กคนนั้น" จริงๆ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ขั้นตอนต่อไปเป็นสิ่งสำคัญมากและห้ามละเลย  

สังเกตปฏิกิริยาระหว่างพี่เลี้ยงและลูกของคุณ

เชิญว่าที่พี่เลี้ยงมาเพื่อสัมภาษณ์และให้เจอกับเด็กที่ต้องดูแลจริงๆ เพื่อดูว่า เขา หรือเธอมีปฏิกิริยากับลูกของคุณอย่างไรบ้าง ข้อนี้จะแสดงให้เห็นว่าพี่เลี้ยงมีความสบายใจที่ได้อยู่กับเด็กแค่ไหน เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องเลือกพี่เลี้ยงที่สนับสนุนแนวทางการเลี้ยงลูกของคุณและควรสอบต้องถามเรื่องการแก้ปัญหา การตัดสินใจในสถานการณ์ฉุกเฉิน  พี่เลี้ยงที่ดีจะสามารถตอบคำถามเหล่านี้ได้ นั่นพิสูจน์ว่า เขา หรือเธอสามารถรับงานนี้ได้

เขา หรือเธอมีคุณสมบัติเหมาะสมกับการเป็นพี่เลี้ยงเด็กหรือเปล่า?

ตรวจสอบคุณสมบัติการเป็นพี่เลี้ยงจากสิ่งที่ทาง American red cross babysitter’s training program ได้แนะนำไว้ ได้แก่ 

  • ฝึกการปฐมพยาบาล หรือการช่วยฟื้นคืนชีพ 
  • ความเป็นผู้ใหญ่ 
  • การตัดสินใจที่ดี 
  • สามัญสำนึก 
  • บุคลิกเป็นมิตร 
  • ความรับผิดชอบ 
  • ไม่สูบบุหรี่ 
  • สุขภาพดี แข็งแรง ไม่มีโรคติดต่อ
  • อายุและการศึกษา ควรมีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป เพื่อให้มีวุฒิภาวะทางอารมณ์และมีวิจารณญาณ  
  • มีประสบการณ์ในการดูแลเด็กมาก่อน

วางแผนให้พี่เลี้ยงมาถึงบ้านเร็วหน่อย

หลังจากตัดสินใจจ้างพี่เลี้ยงแล้ว ตั้งแต่วันแรกที่เริ่มงานควรให้เขา หรือเธอมาถึงบ้านของคุณอย่างน้อยครึ่งชั่วโมงก่อนที่คุณจะออกจากบ้านเพื่อคุยเกี่ยวกับประเด็นฉุกเฉินต่างๆ เช่น เบอร์โทรศัพท์ ช่องทางการขอความช่วยเหลือด่วน  เนื่องจากมีรายงานว่า “มากกว่าครึ่งของพ่อแม่ที่ปล่อยให้ลูกอยู่กับพี่เลี้ยงอายุน้อยกว่า 16 ปี ไม่ได้ให้เบอร์โทรศัพท์ฉุกเฉินไว้” ดร. Keener กล่าว

พูดคุยเรื่องกฎของบ้านและทิ้งข้อมูลสำหรับการติดต่อไว้

คุณต้องพูดคุยเรื่องกฎของคุณกับพี่เลี้ยง และทิ้งเบอร์โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อคุณได้ตลอดเวลาไว้ให้ ผู้เชี่ยวชาญกล่าวไว้ว่า ในกรณีที่เกิดเหตุอันตรายถึงชีวิต ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์จะได้รับอนุญาตให้รักษาลูกของคุณได้ แต่หากไม่ใช่เหตุร้ายแรงถึงชีวิต พวกเขาจะต้องได้รับคำยินยอมรับการรักษาจากพ่อแม่เสียก่อน

โทรกลับมาที่บ้านเพื่อตรวจดูลูกๆ และพี่เลี้ยง(อย่างน้อยก็ในครั้งแรก)

ในช่วงเย็นคุณควรโทรกลับไปที่บ้านบ้างโดยเฉพาะหากคุณต้องทำงานที่อยู่ในสถานการณ์ที่ไม่อาจติดต่อได้ง่ายๆ เผื่อทางบ้านต้องการความช่วยเหลือ เช่น ครึ่งชั่วโมงก่อนเวลาเข้านอน ซึ่งลูกๆ อาจงอแงไม่ยอมเข้านอน คุณอาจแนะนำวิธีการเกลี้ยกล่อมเด็กๆ ให้เข้านอนแก่พี่เลี้ยงเด็กได้ 

สอบถามอย่างละเอียดหลังจากคุณกลับบ้านแล้ว

เมื่อกลับถึงบ้านทุกครั้งควรสอบถามพี่เลี้ยงอย่างละเอียดเกี่ยวกับการดูแลลูกๆ ของคุณ ปัญหาที่อาจเกิดขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องที่คุณคิดว่าพี่เลี้ยงอาจจะมีปัญหา

บ่อยครั้งที่พี่เลี้ยงคิดว่า พฤติกรรมของเด็กเป็นตัวสะท้อนพวกเขาและอาจลังเลที่จะยอมรับว่า มีปัญหาทางพฤติกรรมจนกว่าจะถูกถาม ดังนั้นการเลือกพี่เลี้ยงที่ได้รับการฝึกเพื่อรับมือสถานการณ์ฉุกเฉินและการตรวจสอบประวัติพี่เลี้ยงอย่างละเอียดก่อนตัดสินใจรับเข้ามาทำงานอาจทำให้คุณรู้สึกสบายใจมากกว่าและปลอดภัยกับลูกของคุณมากกว่าด้วย


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
เลือกพี่เลี้ยงอย่างไรดี? (https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=762&id=762)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)