กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs
นพ.ธนู โกมลไสย
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.ธนู โกมลไสย

Cyclothymia (ไบโพลาร์ชนิดอ่อน)

เผยแพร่ครั้งแรก 14 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 20 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 20 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • โรคไซโคลไทเมีย (Cyclothymia) เป็นโรคอารมณ์ 2 ขั้วชนิดอ่อน หรือเรียกอีกชื่อว่า "โรคไบโพลาร์ชนิดอ่อน (Cyclothymic disorder)"
  • โรคไบโพลาร์ชนิดอ่อนมีอาการคล้ายกับโรคไบโพลาร์ทั่วไป คือ ผู้ป่วยจะมีอารมณ์แปรปรวนขึ้นๆ ลงๆ สลับกันระหว่างภาวะที่มีอารมณ์ร่าเริงเกินปกติ หรือภาวะอารมณ์ซึมเศร้า แต่จะมีช่วงเวลาสั้นๆ ที่มีอารมณ์เป็นปกติบ้าง
  • ผู้ป่วยโรคไบโพลาร์ชนิดอ่อน มีโอกาสที่จะพัฒนาเป็นโรคไบโพลาร์ทั่วไปได้มากกว่าผู้ป่วยกลุ่มอื่น
  • โรคไบโพลาร์ชนิดอ่อน สามารถรักษาได้ด้วยการรับประทานยา หรือเข้ารับการพูดคุยเพื่อการบำบัดกับนักจิตวิทยา (Talk Therapy)
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจปรึกษาสุขภาพจิต

โรคไซโคลไทเมีย (Cyclothymia) เป็นโรคอารมณ์ 2 ขั้วชนิดอ่อน หรือเรียกอีกชื่อว่า "โรคไบโพลาร์ชนิดอ่อน (Cyclothymic disorder)" 

มีลักษณะอาการคล้ายๆ กับโรคไบโพลาร์ทั่วไปคือ ผู้ป่วยจะมีอารมณ์แปรปรวนขึ้นๆ ลงๆ สลับกันระหว่างภาวะที่มีอารมณ์ร่าเริงเกินปกติ กับภาวะอารมณ์ซึมเศร้า แต่จะมีช่วงเวลาสั้นๆ ที่มีอารมณ์เป็นปกติบ้าง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ความแตกต่างระหว่างโรคไบโพลาร์ชนิดอ่อนกับโรคไบโพลาร์ทั่วไป

โรคไบโพลาร์ชนิดอ่อน กับโรคไบโพลาร์ทั่วไปจะแตกต่างกันที่ความรุนแรงของอาการ ดังต่อไปนี้

  • ผู้ป่วยโรคไบโพลาร์ทั่วไปจะมีอาการที่รุนแรงกว่า ในขณะที่ผู้ป่วยโรคไบโพลาร์ชนิดอ่อนนั้นจะมีภาวะซึมเศร้า และเมื่ออยู่ในช่วงอารมณ์ดี (Mania) ก็จะไม่มีความสุข หรือกระฉับกระเฉงเท่าผู้ป่วยไบโพลาร์ทั่วไป 
  • ผู้ป่วยโรคไบโพลาร์ทั่วไปจะมีอาการระยะยาวนานกว่าและอาจไม่นอนติดต่อกันถึง 2 วัน ส่วนผู้ป่วยโรคไบโพลาร์ชนิดอ่อนจะมีระยะอาการสั้นกว่า 
  • ผู้ป่วยโรคไบโพลาร์ทั่วไปจะมีอาการแสดงเห็นชัดเจนกว่าผู้ป่วยโรคไบโพลาร์ชนิดอ่อน เพราะผู้ป่วยโรคไบโพลาร์ชนิดอ่อนนั้นหากไม่สังเกตอาการดีๆ ก็จะเหมือนกับคนปกติทั่วไปที่แค่มีอารมณ์แปรปรวนขึ้นๆ ลงๆ สลับกันบ้าง อาจมีอาการนอนน้อย หรือคุยมากขึ้นบ้างบางเวลา แต่ยังไม่จัดอยู่ในกลุ่มอาการที่เห็นได้ชัด

อาการของโรคไบโพลาร์ชนิดอ่อน

นอกจากอารมณ์ที่แปรปรวนไม่สามารถคาดเดาได้แล้ว ผู้ป่วยโรคไบโพลาร์ชนิดอ่อนยังมีอาการอื่นๆ ในลักษณะต่อไปนี้

  • มีอารมณ์แปรปรวนขึ้นๆ ลงๆ นานอย่างน้อยครึ่งหนึ่งในช่วงเวลา 2 ปีที่ผ่านมาสำหรับผู้ใหญ่ และ 1 ปีในเด็ก หรือวัยรุ่น
  • มีช่วงเวลาที่อารมณ์ปกติไม่เกินกว่า 2 เดือน
  • อาการไม่รุนแรงถึงขั้นเข้าเกณฑ์โรคไบโพลาร์ทั่วไป หรือเข้าเกณฑ์การวินิจฉัยโรคทางจิตเวชอื่น
  • สาเหตุไม่ได้เกิดจากการใช้ยา หรือ สารเคมี หรือภาวะโรคอื่น
  • อาการส่งผลกระทบต่อการทำงาน หรือความสัมพันธ์กับคนรอบข้างอย่างน้อย 1 ครั้งในช่วง 2 ปี
  • นอนไม่หลับ หรือนอนมากเกินไป
  • น้ำหนักลด หรือน้ำหนักขึ้นมากผิดปกติ
  • สมรรถภาพทางเพศลดลง
  • เหนื่อยง่าย หรืออ่อนเพลียกว่าปกติ
  • มีอาการหลงลืมง่าย ไม่มีสมาธิ ไม่สามารถให้ความสนใจกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้
  • มีอาการวิตกกังวลมากขึ้นกว่าเดิม

หากไม่แน่ใจว่า อาการของตนเองเข้าข่ายโรคไบโพล่าร์ชนิดอ่อนหรือไม่  หรือแค่เกิดจากความเครียดจึงส่งผลต่อจิตใจและการนอนไม่หลับ คุณสามารถไปปรึกษาจิตแพทย์เรื่องปัญหาความเครียด หรือตรวจวิเคราะห์ความเครียด (Stress) รวมทั้งตรวจ sleep test ก่อน

หากเป็นปัญหาเรื่องความเครียดจริงๆ ไม่เกี่ยวกับโรคไบโพล่าร์ชนิดอ่อน จะได้หาทางแก้ไขปัญหานี้อย่างถูกต้องต่อไป 

การรักษาโรคไบโพลาร์ชนิดอ่อน

มีผู้ป่วยโรคไบโพลาร์ชนิดอ่อนหลายรายที่ไม่ต้องทำการรักษาก็สามารถกลับไปใช้ชีวิตตามปกติได้ แต่ในระหว่างนั้น ผู้อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยก็ต้องคอยสังเกตอาการของผู้ป่วยไปด้วย โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีคนในครอบครัวเป็นโรคไบโพลาร์มาก่อน 

เนื่องจากผู้ป่วยกลุ่มนี้มีโอกาสที่จะพัฒนาจากโรคไบโพลาร์ชนิดอ่อนมาเป็นโรคไบโพลาร์ทั่วไปได้มากกว่าผู้ป่วยกลุ่มอื่น ซึ่งวิธีป้องกันก็คือ ต้องรีบรักษาโรคไบโพลาร์ชนิดอ่อนให้หายโดยเร็วที่สุด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาโรคไบโพลาร์ชนิดอ่อนได้อย่างแน่ชัด แต่ก็มีกลุ่มยาเกี่ยวกับโรคทางจิตเวชบางชนิดที่ช่วยรักษาโรคไบโพลาร์ชนิดอ่อนได้ เช่น  

  • ยาต้านอาการวิตกกังวล เช่น เบนโซไดอะซีปีน (Benzodiazepine)
  • ยารักษาอาการผิดปกติทางจิต เช่น ลิเทียม (Lithium)
  • ยากันชัก เช่น Divalproex sodium (Depakote), Lamotrigine (Lamictal), Valproic acid (Depakene)
  • ยาระงับอาการทางจิตกลุ่มใหม่ เช่น Olanzapine (Zyprexa), Quetiapine (Seroquel), Risperidone (Risperdal) โดยตัวยากลุ่มนี้จะช่วยในกรณีที่ผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อการรักษาโดยใช้ยากันชัก

นอกจากนี้ยังมีอีกวิธีรักษาสำหรับโรคไบโพลาร์ชนิดอ่อนที่ในปัจจุบันมักนิยมใช้กัน นั่นก็คือ การพูดคุยเพื่อการบำบัดกับนักจิตวิทยา (Talk Therapy) 

เป้าหมายสำหรับการรักษาด้วยวิธีนี้คือ ให้ผู้ป่วยได้รู้จักวิธีจัดการกับอารมณ์ของตนเองมากขึ้น และเข้าใจว่า ปัจจัยอะไรในชีวิตที่มีส่วนทำให้อาการของผู้ป่วยแย่ลง เช่น 

  • นอนหลับไม่เพียงพอ 
  • การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 
  • การเดินทางข้ามโซนเวลาบ่อยๆ 

การดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วย Cyclothymia

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และหันมาดูแลตนเองมากขึ้นเป็นส่วนสำคัญของการรักษาให้อาการของโรคดีขึ้นได้ โดยมีคำแนะนำดังต่อไปนี้

  • รับประทานยาอย่าสม่ำเสมอตามคำแนะนำของแพทย์
  • หมั่นสังเกตอาการของตัวเองว่า "ดีขึ้น หรือแย่ลงอย่างไร" และมีปัจจัยอะไรมากระตุ้นให้อาการแย่ลงบ้าง
  • หลีกเลี่ยงการบริโภคแอลกอฮอล์และการใช้สารเสพติด
  • ปรึกษาแพทย์ก่อนตัดสินใจใช้ยา สมุนไพร หรืออาหารเสริมทุกชนิดอยู่เสมอ เพราะยาบางชนิดอาจทำปฏิกิริยาต่อกัน จนก่อให้เกิดผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์ หรือทำให้ยาที่ใช้รักษาโรคอยู่ออกฤทธิ์ได้ไม่ดีพอ
  • ออกกำลังกาย และหมั่นทำกิจกรรมเพื่อเพิ่มความแข็งแรง และความรู้สึกกระฉับกระเฉงต่อตัวคุณเอง
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ 

แม้ว่า โรคไบโพลาร์ชนิดอ่อนสามารถพัฒนาไปเป็นโรคไบโพลาร์ทั่วไปได้ อย่างไรก็ตาม โรคนี้สามารถรักษาให้หายได้ด้วยรับการรักษาจากจิตแพทย์ รับประทานยาที่จิตแพทย์อย่างต่อเนื่อง ไปพบจิตแพทย์ตามนัด หรือเข้ารับการพูดคุยเพื่อบำบัดกับนักจิตวิทยา

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจปรึกษาสุขภาพจิต จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


10 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
WebMD, Cyclothymia (Cyclothymic Disorder) Symptoms, Treatments, Causes, and More (https://www.webmd.com/bipolar-disorder/guide/cyclothymia-cyclothymic-disorder#1), 27 March 2020.
PSYCOM.NET, Cyclothymia Personality, Symptoms, Causes, and Treatment ( https://www.psycom.net/depression.central.cyclothymia.html), 26 March 2020.
Psychology Today, Cyclothymic Disorder (https://www.psychologytoday.com/us/conditions/cyclothymic-disorder), 25 March 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
อยากทราบวิธีป้องกันอาการปวดก่อนมีประจำเดือน
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
อาการของโรคซึมเศร้าข้างต้นเริ่มแบบไหน
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
โรคซึมเศร้า มีอาการยังไงค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
เสื่อมสมรรถถาพทสงเพศ พื้นฟูได้กรือไม่
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
โรคซึมเศร้ารึกษาให้หายขาดได้หรือไม่
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
การลดลงของฮอโมนหลังหมดประจำเดือน ในผู้หญิงวัย 50 ปีขึ้นไป ทำให้เกิดอาการ แสบร้อน ในร่างกาย วูบวาบ เหนื่อย เมื่อย อ่อนเพลีย หนาวภายในร่างกาย ควรจะเริ่มตรวจจากตรงไหนคับ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)