กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ.พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล

การเบื่ออาหาร กับโรคไข้หวัด

ผู้ป่วยโรคไข้หวัดมักเบื่ออาหาร รับประทานอาหารได้น้อย ทำให้ละเลยเรื่องสารอาหารที่ควรได้รับ ทั้งๆ ที่อาหารเป็นปัจจัยสำคัญในการรักษาโรค
เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 15 มิ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
การเบื่ออาหาร กับโรคไข้หวัด

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ในช่วงที่ป่วยเป็นไข้หวัด ระบบเผาผลาญในร่างกายจะทำงานมากกว่าปกติทำให้ต้องการพลังงานเพิ่มมากขึ้น
  • ผู้ป่วยโรคไข้หวัดมักเบื่ออาหาร รับประทานอาหารได้น้อย ทำให้ได้รับพลังงานไม่เพียงพอ ส่งผลให้อ่อนเพลีย ซูบผอม และซีดเซียว
  • ผู้ป่วยโรคไข้หวัดจะต้องรับประทานอาหารมากกว่าปกติ สามารถแบ่งย่อยเป็นหลายๆ มื้อได้ โดยเน้นโปรตีนดี เช่น ไก่ ปลา ไข่ และผักผลไม้ที่มีวิตามินซี อี และเบต้าแคโรทีน เช่น ส้ม แอปเปิล ฟักทอง จะช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายทำงานได้ดีขึ้น
  • ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายเป็นส่วนสำคัญในการรักษาโรคไข้หวัด เพราะช่วยในการกำจัดเชื้อไวรัส ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรค
  • วิธีป้องกันโรคไข้หวัด ทำได้โดยการพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำมากๆ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายเป็นประจำ และฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่เป็นประจำทุกปี 
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่

ในเวลาที่เราป่วย เป็นไข้หวัด ไม่สบาย ก็มักจะเบื่ออาหาร ไม่อยากกินข้าว แม้ว่าจะมีอาหารจากร้านดัง หรือของหวานที่ชื่นชอบมาวางตรงหน้าก็ตาม

อย่างไรก็ตาม ความจริงแล้วในช่วงที่เป็นไข้หวัดร่างกายกลับต้องการสารอาหารมากกว่าปกติ เพื่อฟื้นฟูสุขภาพร่างกายให้กลับมาแข็งแรงเหมือนเดิม เราจึงต้องใส่ใจการรับประทานอาหารในช่วงที่ป่วยให้มากๆ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ทำไมเป็นไข้ ไม่สบาย แล้วอ่อนเพลีย

ในช่วงที่เราป่วย มีไข้ อุณหภูมิในร่างกายจะสูงกว่าปกติ ทำให้ขบวนการเผาผลาญของร่างกายจะทำงานหนักขึ้น ส่งผลให้เพิ่มอัตราการเผาผลาญพลังงาน และใช้พลังงานที่มีอยู่หมดไปอย่างรวดเร็วกว่าปกติ 

ทำให้ร่างกายต้องการพลังงานจากภายนอกไปทดแทนส่วนที่ใช้หมดไป

หากผู้ป่วยมีไข้สูง ร่างกายก็จะยิ่งเผาผลาญพลังงานมากขึ้น ทำให้ต้องรับประทานอาหารเพิ่มมากขึ้นไปด้วย แต่ผู้ป่วยส่วนมากมักเบื่ออาหาร รับประทานอาหารได้น้อยกว่าปกติ ร่างกายจึงต้องเอาพลังงานที่สะสมไว้มาใช้

ไขมันและกล้ามเนื้อที่สะสมไว้จะถูกนำมาใช้เป็นพลังงานแทนอาหาร หากเจ็บไข้ไม่สบายเพียง 2-3 วัน อาจจะไม่มีความเปลี่ยนแปลงอะไร แต่ถ้าเป็นไข้หลายวันย่อมเห็นได้ชัด

การที่ผู้ป่วยไข้หวัดได้รับพลังงานไม่เพียงพอกับที่ใช้ไป จะทำให้รู้สึกอ่อนเพลีย ซูบผอม และซีดเซียวลงนั่นเอง

ระบบภูมิคุ้มกันสำคัญกับโรคไข้หวัดอย่างไร?

ไข้หวัดเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส ไม่สามารถใช้ยาปฏิชีวนะรักษาได้ ต้องให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย หรือที่เรียกกันว่า "ภูมิต้านทานโรค กำจัดเชื้อไวรัสเอง"

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 386 บาท ลดสูงสุด 61%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ขบวนการต้านทานโรคของร่างกายนั้นเป็นเรื่องซับซ้อน แต่พอสรุปได้ว่า เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย ร่างกายจะใช้ทั้งเม็ดเลือดขาวเข้าไปโจมตีและผลิตแอนติบอดี (Antibody) ออกมากำจัดเชื้อโรค

การที่ร่างกายจะแพ้ หรือชนะเชื้อโรคนั้น ขึ้นอยู่กับคุณภาพ หรือประสิทธิภาพของภูมิต้านทานโรคที่ผลิตขึ้น โดยส่วนสำคัญที่ช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพก็คือ สารอาหารต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโปรตีน เกลือแร่ หรือวิตามิน

อาหาร เป็นปัจจัยสำคัญในการรักษาโรค

ในยามที่มีไข้ แม้จะเป็นไข้หวัดธรรมดา ก็ควรพยายามรับประทานอาหารให้ได้มากที่สุด ไม่จำเป็นต้องรับประทานทีละมากๆ อาจจะค่อยๆ รับประทานทีละน้อย วันละหลายๆ มื้อก็ได้

อาหารที่ควรรับประทานนั้นจะต้องหลากหลาย และอุดมไปด้วยสารที่ช่วยกระตุ้นให้ระบบภูมิกันทำงานได้ปกติ เช่น เบต้าแคโรทีน วิตามินซี อี หรือดี

เมื่อร่างกายได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ หรือเมื่อเรามีภาวะโภชนาการที่ดี ก็จะทำให้ระบบต่างๆ ในร่างกายทำงานได้ดีขึ้น โดยเฉพาะระบบภูมิคุ้มกันที่มีส่วนสำคัญในการรักษาโรคไข้หวัด

ข้อดีของการมีภาวะโภชนาการดี

เราควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์อยู่เสมอ ไม่ว่าจะอยู่ในช่วงที่ร่างกายแข็งแรงเป็นปกติ หรือช่วงที่ป่วย ด้วยเหตุผลต่อไปนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 386 บาท ลดสูงสุด 61%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • ผู้ที่มีภาวะโภชนาการดี ได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ จะมีภูมิต้านทานโรคสูงกว่าผุ้ที่ไม่สนใจเรื่องอาหารการกิน หรือผู้ที่มีภาวะทุพโภชนาการ
  • ผู้ที่มีภาวะโภชนาการดีจะมีสารอาหารหลายอย่างสะสมไว้ในร่างกายเพียงพอที่จะใช้ต้านทานโรค เมื่อได้รับเชื้อโรคก็อาจจะไม่มีอาการเจ็บไข้ เพราะสามารถกำจัดเชื้อโรคได้ทันท่วงที
  • ผู้ที่มีภาวะโภชนาการดี เมื่อป่วยเป็นไข้หวัดก็จะหายเร็วกว่าผู้ที่มีภาวะโภชนาการไม่ดีมาก

อาหารที่ย่อยง่ายและมีไขมันดี เป็นอาหารที่เหมาะกับผู้ป่วยไข้หวัดที่สุด

อาหารจำพวกซุป เช่น ข้าวต้มเครื่องที่ไม่เลี่ยนมาก โจ๊ก ซุปไก่ หรือซุป ล้วนคล่องคอ กลืนง่าย เหมาะกับผู้ป่วยไข้หวัดมาก เพราะรับประทานง่าย ย่อยง่าย และอุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการสูง

นอกจากนี้การจิบชาอุ่นๆ เป็นประจำ ก็จะช่วยบรรเทาอาการคัดจมูก น้ำมูกไหลได้

แต่หากผู้ป่วยอยากรับประทานของหวานเพื่อเพิ่มความสดชื่น แนะนำให้ดื่มน้ำผักผลไม้ปั่น นอกจากจะมีรสชาติอร่อยแล้ว ยังอุดมไปด้วยวิตามินต่างๆ เช่น วิตามินซี อี เอ หรือเบต้าแคโรทีน ที่ช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

อ่านเพิ่มเติม: แนะนำเมนูอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไข้หวัด วิธีบรรเทาอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล 

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงในช่วงที่เป็นไข้หวัด

ยังไม่มีการศึกษาที่ชัดเจนนักว่า ควรหลีกเลี่ยงอาหารประเภทใดในช่วงที่ป่วยเป็นโรคไข้หวัด 

อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีผลในภูมิคุ้มกันร่างกายลดต่ำลง ได้แก่ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และพยายามหลีกเลี่ยงอาหารที่มีปริมาณน้ำตาลและไขมันอิ่มตัวสูง(เช่น อาหารตะวันตก) 

เนื่องจากพบว่า อาหารและเครื่องดื่มเหล่านี้มีความสัมพันธ์กับการเพิ่มการอักเสบได้

อ่านเพิ่มเติม: อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงในช่วงที่ป่วยเป็นโรคไข้หวัด

โรคไข้หวัด หรือไข้หวัดใหญ่ ส่วนใหญ่มักเกิดจากการติดเชื้อไวรัส ซึ่งการรักษาระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ จะช่วยให้เราสามารถป้องกันโรคนี้ได้ 

ทำได้โดยการพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำมากๆ รักษาสุขภาพจิตให้ดี รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายเป็นประจำ และฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่เป็นประจำทุกปี

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android

รวมบทความที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตัวเมื่อเป็นไข้หวัด


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Childs CE, Calder PC, Miles EA. Diet and Immune Function. Nutrients. 2019 Aug 16;11(8):1933. doi: 10.3390/nu11081933. PMID: 31426423; PMCID: PMC6723551.
Kristeen Cherney, Flu Diet: 9 Foods to Eat When You Have the Flu and 4 Things to Avoid (https://www.healthline.com/health/what-to-eat-when-you-have-the-flu#to-eat), 21 March 2020.
Starve a fever and feed a cold: feeding and anorexia may be adaptive behavioral modulators of autonomic and T helper balance. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/15823688).

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
โรคไข้สมองอักเสบ
โรคไข้สมองอักเสบ

โรคติดเชื้อที่สมองสุดอันตราย รักษาไม่ทันอาจเสียชีวิต บางรายแม้รักษาหายแต่ก็มีโอกาสพิการสูง

อ่านเพิ่ม
เตือนภัย 6 โรคยอดฮิต! ที่มากับหน้าหนาว
เตือนภัย 6 โรคยอดฮิต! ที่มากับหน้าหนาว

6 โรคพบบ่อยในหน้าหนาว ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ปอดบวม หัด อุจจาระร่วง ไข้สุกใส พร้อมวิธีดูแลรักษาและป้องกัน

อ่านเพิ่ม