กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

อยากผ่าฟันคุด ควรไปผ่าที่ไหน? ราคาประมาณเท่าไร การใช้สิทธิประกันสังคม

ไขข้อข้องใจ ถ้าต้องผ่าฟันคุดไปที่ไหนดี ใช้สิทธิ์ประกันสังคมได้หรือไม่ เช็กสิทธิ์ได้ที่ไหน และตัวอย่างราคาค่าผ่าฟันคุดตามโรงพยาบาลต่างๆ
เผยแพร่ครั้งแรก 22 มี.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 13 ม.ค. 2021 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
อยากผ่าฟันคุด ควรไปผ่าที่ไหน? ราคาประมาณเท่าไร การใช้สิทธิประกันสังคม

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ฟันคุด คือ ฟันที่ไม่สามารถโผล่พ้นเหงือกได้ หากปล่อยทิ้งไว้จะทำให้เกิดอาการปวด เหงือกอักเสบ บวมแดง ฟันซ้อนเก หรือฟันข้างเคียงผุได้
  • ผ่าฟันคุดจะมีราคาแตกต่างกันไปตามความยาก-ง่าย และสถานพยาบาล หรือคลินิกทันตกรรมที่ให้บริการ โดยราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 1,500-5,000 บาท
  • ผ่าฟันคุด สามารถใช้สิทธิประกันสังคมได้ และสถานพยาบาลบางแห่งก็สามารถเข้ารับบริการได้เลยโดยไม่ต้องสำรองจ่าย โดยราคาการผ่าฟันคุดที่สามารถเบิกจ่ายได้ตามสิทธิประกันสังคมปีละ 900 บาท
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจถอน หรือผ่าฟันคุด

เมื่อฟันกรามที่ขึ้นไม่สามารถโผล่พ้นเหงือกได้ตามรูปแบบปกติของฟันซี่ทั่วไป จนทำให้เกิดอาการปวดเหงือก เราจะเรียกฟันแบบนี้ว่า "ฟันคุด" ซึ่งเป็นฟันที่จะต้องได้รับการผ่า หรือถอนออก ก่อนที่ฟันซี่นี้จะไปทำความเสียหายต่อฟันซี่ข้างๆ 

การผ่าฟันคุดเป็นการผ่าตัดที่สามารถเบิกประกันสังคมได้ ไม่ต้องสำรองจ่าย โดยคุณสามารถเช็กสิทธิ์โรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการทำฟันไม่ต้องสำรองจ่ายทั่วประเทศ พร้อมตัวอย่างตารางเปรียบเทียบราคาผ่าฟันคุดของโรงพยาบาลได้ที่บทความนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ราคาโดยประมาณในการผ่าฟันคุด

การผ่าฟันคุดในสถานพยาบาล และคลินิกทันตกรรมจะมีราคาที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับความยากง่ายในกระบวนการผ่า โดยราคาจะปรับเพิ่มขึ้นตามระดับความยาก 

แต่หากจะเปรียบเทียบอัตราค่าบริการระหว่างโรงพยาบาลรัฐ กับคลินิกทันตกรรมเอกชนในปัจจุบัน พบว่า ราคาไม่แตกต่างกันมากนัก 

ยกเว้นศูนย์ทันตกรรมของโรงพยาบาลในมหาวิทยาลัยบางแห่งที่จะมีราคาพิเศษสำหรับนิสิตนักศึกษาของสถาบันนั้นๆ เช่น

  • โรงพยาบาลคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีราคาพิเศษสำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี สามารถผ่าฟันคุดได้ในราคาเพียง 250-400 บาท/ซี่ และราคา 500-2,000 บาท/ซี่ สำหรับนิสิตปริญญาโท 
  • โรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นิสิตปริญญาตรีสามารถผ่าฟันคุดได้ในราคาเพียง 200 บาท/ซี่ และ 300-500 บาท/ซี่ สำหรับศิษย์เก่า

ทั้งนี้ ราคาเฉลี่ยในการผ่าฟันคุดทั้งโรงพยาบาลรัฐ และคลินิกเอกชนจะอยู่ที่ 1,500-5,000 บาทโดยประมาณ

ผ่าฟันคุดใช้สิทธิประกันสังคมได้หรือไม่?

ผู้ประกันตนประกันสังคมสามารถใช้สิทธิ์เบิกค่าทำฟัน รวมถึงค่าใช้จ่ายในการผ่าฟันคุดได้ ทั้งจากโรงพยาบาลรัฐ โรงพยาบาลเอกชน และคลินิกทันตกรรม ซึ่งเป็นสถานพยาบาลที่ประกันสังคมระบุไว้ 

โดยข้อมูลจากสำนักงานประกันสังคมระบุว่า การถอนฟัน การอุดฟัน การขูดหินปูน และผ่าฟันคุด ให้ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น แต่ต้องไม่เกิน 900 บาทต่อปี 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อย่างไรก็ตาม หากเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลที่มีสติ๊กเกอร์ หรือข้อความแจ้งว่า "สถานพยาบาลแห่งนี้ให้บริการผู้ประกันตนกรณีทันตกรรม ทำฟัน ไม่ต้องสำรองจ่าย" นั่นแปลว่า คุณสามารถเข้ารับการบริการได้ทันที โดยไม่ต้องสำรองจ่ายล่วงหน้า หากอัตราค่าบริการไม่เกิน 900 บาท

โดยสามารถเช็กรายชื่อสถานพยาบาลที่ทำความตกลงกับสำนักงานประกันสังคมในการให้บริการทางการแพทย์กรณีทันตกรรมแก่ผู้ประกันตนได้

เปรียบเทียบอัตราค่าบริการผ่าฟันคุดในสถานพยาบาลต่างๆ?

ราคาการผ่าฟันคุดที่นำมาเปรียบเทียบต่อไปนี้ เป็นราคาโดยประมาณ ซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ ขึ้นอยู่กับสถานพยาบาลที่ให้บริการ 

และนอกจากบริการผ่าฟันคุดแล้ว คุณยังสามารถเข้ารับการตรวจสุขภาพฟันทั้งเด็ก และผู้ใหญ่ เข้ารับการรักษาโรคเกี่ยวกับฟัน เช่น อุดฟันผุ รักษารากฟัน หรือเข้ารับบริการจัดฟัน ฟอกฟันขาว หรือทำรีเทนเนอร์ ได้อีกด้วย

โดยรายการสถานบริการที่มีบริการผ่าฟันคุดที่จะนำมาเปรียบเทียบ มีดังต่อไปนี้

1. โรงพยาบาลคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

หากใช้บริการคลินิกทันตกรรมทั่วไปหรือแบบพิเศษ จะมีราคาอยู่ระหว่าง 1,500-5,000 บาท

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ถอนหรือผ่าฟันคุดวันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 594 บาท ลดสูงสุด 67%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

แต่หากใช้บริการคลินิกทันตกรรมนิสิต

  • ระดับปริญญาบัณฑิต จะมีราคาอยู่ระหว่าง 250-400 บาท
  • ระดับบัณฑิตศึกษา จะมีราคาอยู่ระหว่าง 500-2,000 บาท

2. โรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

หากใช้บริการคลินิกทันตกรรมทั่วไปหรือแบบพิเศษ จะมีราคาอยู่ระหว่าง 2,500-4,000 บาท

แต่หากใช้บริการคลินิกทันตกรรมนิสิต

  • ระดับปริญญาบัณฑิต จะราคาอยู่ที่ 200 บาท
  • ระดับบัณฑิตศึกษา จะราคาอยู่ที่ 300-500 บาท

3. ศูนย์ทันตกรรมครบวงจร 24 ชั่วโมง โรงพยาบาลยันฮี 

ราคาอยู่ที่ประมาณ 2,500-5,000 บาท

4. งานทันตกรรม โรงพยาบาลศิริราช 

ราคาอยู่ที่ประมาณ 1,500-2,000 บาท

5. งานทันตกรรม โรงพยาบาลศิริราช (นอกเวลาราชการ) 

ราคาอยู่ที่ประมาณ 3,500-4,500 บาท

6. คลินิกคณะทันตแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ราคาอยู่ที่ประมาณ 1,700-5,000 บาท

7. iDentist Clinic (ไอเดนทิส คลีนิก)

ราคาอยู่ที่ประมาณ 1,500-4,500 บาท

8. Truth Dental Clinic (ทรูท เดนทัล คลินิก) 

ราคาอยู่ที่ประมาณ 3,500-7,500 บาท

9. ศูนย์ทันตกรรม MDC โรงพยาบาลนวมินทร์ 9 

ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ประมาณ 2,000 บาท

10. คลินิกทันตกรรม โรงพยาบาลรามคำแหง 

ราคาอยู่ที่ประมาณ 3,500-4,500 บาท

เมื่อมีฟันคุดเกิดขึ้น คุณไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ เพราะอาจทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรัง เกิดฟันซ้อนเกไปกระทบฟันข้างเคียง รวมถึงการทำให้ฟันข้างเคียงติดเชื้อ หรือผุได้ 

เมื่อพบว่า มีฟันคุดควรไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย และผ่าฟันคุด ซึ่งมีให้บริการทั้งในโรงพยาบาลรัฐ และคลินิกทันตกรรมเอกชน ขึ้นอยู่กับความสะดวกของแต่ละบุคคล

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจถอน หรือผ่าฟันคุด จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
โรงพยาบาลยันฮี, ศูนย์ทันตกรรม ครบวงจร 24 ชม. ค่ารักษา, (https://th.yanhee.net/ค่ารักษา/ศูนย์ทันตกรรมครบวงจร24ชม/), 2019.
โรงพยาบาลคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ค่ารักษาพยาบาล (http://www.dent.chula.ac.th/hospital/fee.php), 2019.
สำนักงานประกันสังคม, การบริการที่ท่านจะได้รับจากสถานพยาบาล /(13 โรคยกเว้น)/ข้อสังเกต, (https://www.sso.go.th/wpr/), 09 กรกฏาคม 2561.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ผ่าฟันคุด เป็นอย่างไร? คู่มือการผ่าฟันคุดที่ครบถ้วนที่สุด
ผ่าฟันคุด เป็นอย่างไร? คู่มือการผ่าฟันคุดที่ครบถ้วนที่สุด

การถอน หรือผ่าฟันคุด ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด แถมยังป้องกันอาการปวดและลดอาการแทรกซ้อนอื่นๆ ของฟันข้างเคียงได้

อ่านเพิ่ม
ถอนฟันคุด ผ่าฟันคุด เป็นอย่างไร? ตอบทุกข้อสงสัยจากทันตแพทย์
ถอนฟันคุด ผ่าฟันคุด เป็นอย่างไร? ตอบทุกข้อสงสัยจากทันตแพทย์

รวมคำตอบเกี่ยวกับฟันคุด เกิดได้อย่างไร การผ่าตัดหรือถอน แผลกี่วันหาย

อ่านเพิ่ม
รวมขั้นตอนการผ่าฟันคุด ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด
รวมขั้นตอนการผ่าฟันคุด ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด

เตรียมตัวเตรียมใจก่อนผ่าฟันคุด สาเหตุ วิธีการผ่าฟันคุดโดยละเอียด

อ่านเพิ่ม