กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ.ธนู โกมลไสย
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.ธนู โกมลไสย

14 ขั้นตอนการทำ ซีพีอาร์ (CPR) หรือการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน

ซีพีอาร์ ใครๆ ก็ฝึกได้ หากทำได้ถูกวิธีจะสามารถช่วยชีวิตคนใกล้ตัวคุณได้
เผยแพร่ครั้งแรก 18 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 ม.ค. 2023 ตรวจสอบความถูกต้อง 7 เม.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
14 ขั้นตอนการทำ ซีพีอาร์ (CPR) หรือการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • การซีพีอาร์ (CPR) คือ การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานสำหรับผู้ป่วย ด้วยการกระตุ้นระบบไหลเวียนเลือดที่หยุดทำงานไปให้กลับมาทำงานอีกครั้ง
  • การซีพีอาร์ใช้สำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาโรคหัวใจ ผู้ที่มีปัญหาโรคหัวใจแบบเฉียบพลัน หรือผู้ที่เกิดภาวะขาดออกซิเจนเป็นเวลานานจนต้องรีบยื้อชีวิตอย่างเร่งด่วน
  • หากคุณพบคนหมดสติ และเสี่ยงต้องทำซีพีอาร์ อันดับแรกให้ตรวจสอบก่อนว่า รู้สึกตัวหรือไม่ หากผู้ป่วยหมดสติและไม่หายใจ ให้โทรเรียกรถพยาบาล 1669  จากนั้นให้รีบลงมือทำซีพีอาร์ทันที
  • การทำซีพีอาร์ที่ถูกต้อง อันดับแรก ให้วางส้นมือไว้ที่กลางหน้าอก บริเวณหน้าอกกระดูก ประสานมืออีกข้างลงบนมือข้างที่อยู่บนหน้าอกผู้ป่วย ตั้งข้อศอกให้ตรง ไหล่ตั้งตรงกับมือที่ทำซีพีอาร์ กดลงกลางกระดูกหน้าอกประมาณ 5 เซนติเมตรในอัตราความเร็ว 100-120 ครั้งต่อนาที 
  • การทำซีพีอาร์มักจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาฉุกเฉิน และความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตมีสูงมาก เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น คุณควรตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอและดูแลร่างกายให้แข็งแรง (ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพได้ที่นี่)

หากสมองคนเราขาดออกซิเจนไปเลี้ยงเกินกว่า 4 นาที จะทำให้สูญเสียเซลล์สมองบางส่วนไปถาวร การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน หรือการทำซีพีอาร์ (Cardiopulmonary Resuscitation: CPR) เป็นหนึ่งในวิธีการที่จะยื้อชีวิตของผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นกะทันหันเหล่านี้ได้เป็นอย่างดี

ภาวะหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน มักพบในผู้ป่วยที่มีปัญหาโรคหัวใจมาก่อน ผู้ป่วยที่มีปัญหาโรคหัวใจแบบเฉียบพลัน และผู้ที่ขาดออกซิเจนเป็นเวลานาน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การเรียนรู้วิธีการทำซีพีอาร์อย่างถูกต้องจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกคน เพราะหากเจอผู้หมดสติจะได้ช่วยเหลือได้ทันท่วงที

เครื่อง AED คืออะไร สำคัญอย่างไร?

เครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ หรือเครื่องเออีดี (Automated External Defibrillator: AED) เป็นอุปกรณ์ช่วยชีวิตที่สำคัญมาก ตัวเครื่องประกอบไปด้วยแผ่นนำไฟฟ้า หรือเรียกว่า "แผ่นอิเล็กโทรด" และปุ่มสำหรับกดช็อกไฟฟ้าหัวใจ

เครื่องเออีดีนั้นสามารถตรวจวิเคราะห์คลื่นไฟฟ้าหัวใจของผู้ป่วยและช็อกไฟฟ้าหัวใจได้ โดยหลังจากเปิดเครื่องจะมีคำสั่งเสียงให้ผู้ช่วยเหลือสามารถปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง

การใช้เครื่องเออีดีร่วมกับการทำซีพีอาร์จะเพิ่มโอกาสรอดชีวิตของผู้ป่วยได้มากถึง 50%


14 ขั้นตอนการทำซีพีอาร์ร่วมกับการใช้เครื่องเออีดี

  1. เมื่อพบคนหมดสติ ให้ตรวจดูความปลอดภัยก่อนเข้าไปช่วยเหลือ
  2. ประเมินสถานการณ์ของผู้ป่วย โดยการเรียกเสียงดัง และตบไหล่ทั้งสองข้าง
  3. หากผู้ป่วยไม่ตอบสนอง โทรขอความช่วยเหลือที่สายด่วน 1669
  4. ตรวจสอบว่า ผู้ป่วยหายใจหรือไม่ หากไม่หายใจ ให้เริ่มทำซีพีอาร์ทันที
  5. ให้ผู้ช่วยเหลือไปนำเครื่องเออีดีมา ระหว่างนั้นเคลียร์พื้นที่ให้อากาศถ่ายเทสะดวก ปรับตำแหน่งคอของผู้ป่วยให้หายใจได้สะดวกขึ้น และเริ่มทำซีพีอาร์
  6. ขั้นตอนการทำซีพีอาร์ เริ่มจากหาตำแหน่งกึ่งกลางของหน้าอกและราวนม วางส้นมือลงไปที่ตำแหน่งกึ่งกลางนั้น นำมืออีกข้างมาประกบ แขนตึง หลังตรง ตั้งฉากกับทรวงอก 90 องศา และโน้มตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย
  7. กดหน้าอกลึกประมาณ 5 เซนติเมตรด้วยแรงจากน้ำหนักตัว ในอัตราความเร็ว 100-120 ครั้งต่อนาที
  8. ใช้นิ้วปิดจมูกและเป่าลมหายใจเข้าไป 2 ลมหายใจ หลังจากนั้นให้กดหน้าอกต่อ
  9. เมื่อเครื่องเออีดีมาถึง ให้เปิดเครื่อง และปฏิบัติตามคำสั่งเสียง
  10. ถอดเสื้อผู้ป่วยออก เช็ดผิวหนังบริเวณหน้าอกให้แห้ง และติดแผ่นอิเล็กโทรด (เครื่องสั่งว่า ห้ามแตะต้องผู้ป่วยขณะทำการวิเคราะห์)
  11. หากเครื่องแนะนำให้รักษาด้วยการช็อกไฟฟ้าหัวใจ ให้ทุกคนถอยห่างจากผู้ป่วย และกดปุ่มช็อกไฟฟ้า หากไม่สั่งให้ช็อกไฟฟ้าหัวใจ ให้ทำซีพีอาร์ต่อไป
  12. หลังจากกดปุ่มช็อกไฟฟ้า เครื่องจะสั่งว่า “ผู้ป่วยได้รับการช็อก ให้เริ่มซีพีอาร์” ให้กดหน้าอกตามเสียงจังหวะเครื่อง
  13. ทำซีพีอาร์สลับกับช็อกไฟฟ้าหัวใจจนกว่าทีมช่วยเหลือจะมาถึง
  14. ส่งต่อผู้ป่วยให้กับทีมกู้ชีพ เพื่อนำส่งโรงพยาบาล

การเรียนรู้วิธีการทำซีพีอาร์ร่วมกับการใช้เครื่องเออีดีเป็นเรื่องจำเป็น เพราะเมื่อพบผู้ป่วยหมดสติ ยิ่งเราช่วยเหลือได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพเพียงใด โอกาสรอดชีวิตของผู้ป่วยก็ยิ่งเพิ่มขึ้นเท่านั้น

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Hazinski MF, Nolan JP, Billi JE; และคณะ (2010), "Part 1: executive summary: 2010 International Consensus on Cardiopulmonary Resuscitation and Emergency Cardiovascular Care Science With Treatment Recommendations". Circulation. 122 (16 Suppl 2): S250–75.
Berg RA, Hemphill R, Abella BS; และคณะ (2010), "Part 5: adult basic life support: 2010 American Heart Association Guidelines for Cardiopulmonary Resuscitation and Emergency Cardiovascular Care". Circulation. 122 (18 Suppl 3): S685–705.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)