กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

7 สิ่งที่จะเกิดกับร่างกายเมื่อคุณเครียด

เมื่อเกิดความเครียด ร่างกายจะแสดงอาการออกมาอย่างไรบ้าง บางอย่างอาจเป็นอาการทั่วไปที่คุณไม่รู้ตัว
เผยแพร่ครั้งแรก 22 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
7 สิ่งที่จะเกิดกับร่างกายเมื่อคุณเครียด

ความเครียดถือเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยอาจมีสาเหตุมาจากเรื่องครอบครัว การเรียน การงาน หรือเรื่องปัญหาด้านการเงิน ความเครียดไม่เพียงแต่ทำให้คุณมีอารมณ์ขุ่นมัวเศร้าหมองเท่านั้น แต่มันยังส่งผลต่อร่างกายได้อีกหลายทางเลย 

1. ทำให้หมดแรง

นอกจากความเครียดจะทำให้คุณรู้สึกวิตกกังวลแล้ว มันก็ยังไปกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลออกมาในกระแสเลือด ซึ่งฮอร์โมนชนิดนี้จะทำให้หัวใจเต้นเร็ว ทำให้สมองได้รับออกซิเจนมากขึ้น และปล่อยพลังงานส่วนเกินออกมาเพื่อให้ร่างกายรับมือกับความเครียด 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาสุขภาพจิต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 882 บาท ลดสูงสุด 51%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

แต่หากคุณเครียดบ่อยครั้ง ภาวะอารมณ์นี้ก็จะทำให้สมองจำกัดปริมาณของคอร์ติซอลที่ส่งไปยังกระแสเลือด ส่งผลให้คุณรู้สึกอ่อนเพลีย หรือหมดแรงได้ 

2. ส่งผลต่อความต้องการทางเพศ

ความเครียดเรื้อรังสามารถส่งผลกระทบต่อการผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนของร่างกายได้ ซึ่งฮอร์โมนนี้มีส่วนในการทำงานของระบบสืบพันธุ์ หากคุณปล่อยให้ความเครียดอยู่กับคุณนานเกินไป มันก็อาจทำให้คุณมีความต้องการทางเพศลดลง 

ถ้าไม่อยากให้ชีวิตคู่ หรือเกี่ยวกับเรื่องเพศของตนเองมีปัญหา คุณควรลดระดับความเครียดให้น้อยลง ปรึกษาคู่ชีวิตว่า ตนเองกำลังมีปัญหาอะไรอยู่ และมีภาวะอารมณ์อย่างไร หรืออาจไปพบจิตแพทย์เพื่อขอคำปรึกษา เนื่องจากความเครียดได้ลุกลามไปถึงปัญหาเรื่องบนเตียงแล้ว 

3. ทำให้ท้องผูก

สำหรับคนที่มีอาการท้องผูกอยู่แล้ว คุณยิ่งต้องรีบหาทางรับมือกับความเครียด เพราะความรู้สึกเครียดอย่างต่อเนื่องสามารถส่งผลต่อฮอร์โมนที่หลั่งโดยต่อมไทรอยด์ ซึ่งเป็นต่อมที่ควบคุมระบบเผาผลาญ 

หากระดับของฮอร์โมนชนิดนี้ผิดปกติ ก็สามารถทำให้คุณท้องผูกได้ สำหรับวิธีแก้ปัญหาคือ ให้ออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่มีกากไย หรือไฟเบอร์มากๆ รวมถึงดื่มน้ำเยอะๆ แต่หากยังมีอาการท้องผูกอยู่ ก็ควรไปปรึกษาเภสัชเพื่อขอยาระบาย หรือไปพบจิตแพทย์เพื่อขอคำปรึกษา

4. ทำให้สิวมาเยือน

ในขณะที่คุณกำลังเครียด หรือสติแตก ระดับของฮอร์โมนเพศที่ชื่อว่า "แอนโดรเจน (Androgen)" จะหลั่งมากกว่าปกติ ส่งผลให้เกิดปัญหาสิวตามมา รวมถึงยังทำให้เกิดผื่นที่ผิวหนัง 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาสุขภาพจิต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 882 บาท ลดสูงสุด 51%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะความวิตกกังวลจะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันมีปัญหา ซึ่งสามารถทำให้เกิดผื่น หรือทำให้ผิวเกิดการติดเชื้อได้ 

5. ความจำแย่ลง

ความเครียดที่เกิดขึ้นหลังจากที่คุณรู้สึกว่า ชีวิตถูกคุกคาม รู้สึกหวาดกลัวบางสิ่งบางอย่าง หรือรู้สึกหมดหนทางขอความช่วยเหลือนั้นสามารถส่งผลต่อสมองส่วนที่เก็บความทรงจำอย่างฮิปโปแคมปัส (Hippocampus) 

โดยความเครียดจะทำให้สมองส่วนนี้มีขนาดเล็กลง ทำให้คุณจดจำความจริง หรือเหตุการณ์ต่างๆ ได้แย่กว่าเดิม รวมถึงยังทำให้ยากต่อการสร้างความจำใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นได้

6. ผมร่วง

นอกจากความเครียดจะทำให้ฮอร์โมนแอนโดรเจนพุ่งสูงจนทำให้สิวขึ้นแล้ว มันยังสามารถทำให้ผมร่วงได้เช่นกัน อาการนี้มักเกิดขึ้น 3-6 เดือนหลังจากที่คุณเจอสถานการณ์ที่ตึงเครียดมาก 

แต่อาการนี้จะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น การรับประทานอาหารให้สมดุล ร่วมกับการใช้ยาสระผมสำหรับรักษาผมร่วงสามารถช่วยให้เซลล์ต่อมรากผมสามารถกลับคืนสู่สภาพเดิมได้

7. ทำให้ปวดหลัง

ในขณะที่คุณเครียด อัตราการเต้นของหัวใจ และความดันโลหิตจะเพิ่มขึ้น และทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาตอบสนองเมื่อตกอยู่ในอันตราย เพื่อให้ตัวเองมีชีวิตรอด หรือที่เรียกว่า "การตอบสนองแบบต่อสู้ (Fight-or-flight response)" 

การตอบสนองแบบนี้สามารถทำให้กล้ามเนื้อของคุณบีบตัวแน่น และอาการอาจหนักขึ้น หากลักษณะงานที่ทำเป็นงานที่ต้องนั่งอยู่กับโต๊ะทั้งวัน อย่างไรก็ตาม คุณสามารถต่อสู้กับอาการปวดหลังที่เกิดจากความเครียด โดยลุกขึ้นยืนทุกชั่วโมง ลองหาเวลาว่างสัก 5-10 นาทีเพื่อยืดเส้นยืดสาย

ความเครียดสามารถส่งผลกระทบต่อร่างกายได้มากกว่าที่เราคิด ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่คุณควรหาวิธีคลายเครียด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาต่อทั้งสุขภาพจิต หรือสุขภาพกายในภายหลัง


17 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
The Effects of Stress on Your Body. Healthline. (https://www.healthline.com/health/stress/effects-on-body)
Stress symptoms: Effects on your body and behavior - Mayo Clinic (https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/stress-management/in-depth/stress-symptoms/art-20050987)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป