อาการพร่องวิตามินเอและการรับวิตามินเอมากเกินขนาด

รวมข้อมูลสารอาหารในอาหารเสริมวิตามินเอ และผลกระทบหากร่างกายขาดวิตามินเอมากเกินไป
เผยแพร่ครั้งแรก 4 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
อาการพร่องวิตามินเอและการรับวิตามินเอมากเกินขนาด

อาหารที่คุณรับประทานอยู่ทุกวัน จำเป็นที่จะต้องให้สารอาหารที่เพียงพอต่อร่างกาย ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ วิตามินเอ ซึ่งเป็นวิตามินที่ละลายได้ในไขมัน วิตามินเอนั้นคุณมีประโยชน์มากมายต่อร่างกายของเรา ไม่ว่าจะเป็นการบำรุงสายตา การแบ่งตัวของเซลล์ และช่วยเรื่องระบบสืบพันธุ์ เป็นเรื่องไม่ยากที่เราจะรับวิตามินเอให้เพียงพอต่อร่างกายในแต่ละวัน เนื่องจากวิตามินเอสามารถพบได้ในอาหารที่หลากหลายในชีวิตประจำวัน 

วิตามินเอในอาหารมีอะไรบ้าง

วิตามินเอสามารถพบได้ในอาหารหลากหลายชนิด แต่จะมีรูปแบบแตกต่างกันไปในสัตว์และในพืช 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจแร่ธาตุวิตามินวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 97 บาท ลดสูงสุด 68%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

1. รูปแบบของวิตามินเอที่พบในสัตว์ 

วิตามินเอที่พบในสัตว์จะได้แก่ เรตินอล (Retinol) ซึ่งเป็น "วิตามินเอรูปแบบพร้อมออกฤทธิ์" (Preformed vitamin A) รูปแบบหนึ่ง และร่างกายยังสามารถเปลี่ยนวิตามินเอในเนื้อสัตว์ให้เป็นสารอนุพันธ์เรตินาล (Retinal) หรือ กรดเรติโนอิก (Retinoic acid) ซึ่งเป็นวิตามินเอพร้อมออกฤทธิ์อีก 2 รูปแบบได้อีกด้วย โดยแหล่งอาหารที่เต็มไปด้วยเรตินอล ได้แก่ ผลิตภัณฑ์จากนม ตับ และ อาหารเสริมสารอาหาร

2. รูปแบบวิตามินเอที่พบในพืช

ส่วนรูปแบบของวิตามินเอที่พบในพืช จะเรียกว่า "สารแคโรทีนอยด์" (Carotenoids) ซึ่งประกอบไปด้วยสารอาหารกว่า 600 ชนิด แต่ชนิดที่พบได้บ่อยและเป็นสารต้านอนุมูลอิสระชั้นดี จะได้แก่

  • เบตา-แคโรทีน (Beta-carotene) 
  • แอลฟา-แคโรทีน (Alpha-carotene) 
  • เบตา-คริพโตซานทิน (Beta-cryptoxanthin)
  • ไลโคพีน (Lycopene)
  • ลูทีน (Lutein)
  • ซีแซนทีน (Zeaxanthin)

นอกจากนี้ ร่างกายของเรายังสามารถเปลี่ยนสารแคโรทีนอยด์เหล่านี้ให้เป็นเรตินอลได้ด้วย ซึ่งแหล่งอาหารที่เต็มไปด้วยสารแคโรทีนอยด์นั้น ได้แก่ ผักสีสด และผักใบเขียว เช่น แครอท ผักโขม ผักคะน้า และผลไม้ เช่น อินทผาลัม มะละกอ มะม่วง

อาการพร่องวิตามินเอ

โดยปกติแล้วจะไม่ค่อยพบอาการพร่องวิตามินเอในคนปกตินัก เนื่องจากวิตามินเอสามารถพบได้ในอาหารหลากหลายชนิด แต่หากคุณไม่ได้รับวิตามินเอให้เพียงพอมาเป็นระยะเวลานาน ก็สามารถทำให้เกิดโรคตามัวตอนกลางคืน (Night blindness) ซึ่งจะทำให้ไม่สามารถมองภาพได้ชัดเจนในที่ที่แสงสว่างไม่เพียงพอ นอกจากนี้ ยังทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานลดลงและมีประสิทธิภาพในการกำจัดเชื้อโรคได้ยากขึ้น

นอกเหนือจากอาการพร่องวิตามินเอ ซึ่งมีสาเหตุมาจากการได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอแล้ว อาการพร่องวิตามินเอก็สามารถเกิดขึ้นได้จากการอักเสบในส่วนของทางเดินอาหาร และโรคที่ไปขัดขวางการดูดซึมสารอาหาร ซึ่งส่งผลให้ระดับวิตามินเอในร่างกายลดน้อยลง ได้แก่ 

  • โรคโครห์น (Crohn’s disease) 
  • โรคแพ้กลูเตน (Celiac disease) 
  • โรคพิษสุราเรื้อรัง 
  • การขาดธาตุสังกะสี 
  • โรคตับอ่อน

หากคุณมีอาการของโรคที่กล่าวมาข้างต้น คุณควรไปปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจเช็กผลเลือดว่า มีระดับวิตามินเอในร่างกายเป็นปกติหรือไม่ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ภาวะการได้รับวิตามินเอเกินขนาด

ภาวะการได้รับวิตามินเอเกินขนาด (Hypervitaminosis A) คือ ภาวะที่ร่างกายได้รับวิตามินเอมากเกินไปในระยะหนึ่ง จนสามารถทำให้เกิดปัญหาโรคตับ กระดูกอ่อนแอ และทำให้ทารกในครรภ์พิการแต่กำเนิดได้

เราทุกคนมีโอกาสที่จะได้รับวิตามินเอมากเกินไปได้หากไม่ระมัดระวัง ซึ่งวิตามินเอเป็นวิตามินที่ละลายในไขมันได้ จึงสามารถเก็บสะสมอยู่ในร่างกายได้เป็นเวลานาน นอกจากนี้ คุณอาจเผชิญกับการได้รับวิตามินเอมากเกินไปจากการรับประทานอาหารเสริม ซึ่งค่าสูงสุดในผู้บริโภควัยผู้ใหญ่ที่จะรับวิตามินเอได้คือ 10,000 ไมโครกรัม และการรับประทานอาหารเสริมที่มีวิตามินเอเป็นปริมาณมากจะสามารถส่งผลให้มีอาการต่อไปนี้

การรับประทานอาหารเสริมที่มีส่วนประกอบของวิตามินเอ

มีอาหารเสริมหลากหลายยี่ห้อที่อ้างเอาสรรพคุณของวิตามินเอเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอาหารเสริมที่มีส่วนประกอบของสารแคโรทีนอยด์ ซึ่งจะอ้างถึงสรรพคุณมีสารต้านอนุมูลอิสระ และปลอดภัยกว่าอาหารเสริมที่มีส่วนประกอบของวิตามินเอรูปแบบพร้อมออกฤทธิ์

แต่อย่างไรก็ตาม หากร่างกายได้รับสารแคโรทีนอยด์มากเกินไป ก็สามารถส่งผลกระทบต่อร่างกายได้เช่นเดียวกัน โดยจะทำให้ผิวของคุณดูเหลืองส้มขึ้น และยังเพิ่มโอกาสทำให้เป็นโรคมะเร็งปอดมากขึ้นด้วยแทนที่จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคนี้ขึ้น

นอกจากนี้ ความปลอดภัยและประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่มีส่วนประกอบของแคโรทีนอยด์ยังมีข้อสรุปที่แตกต่างกันไป และส่วนมาก ผู้บริโภคมักรับข้อมูลทางโภชนาการของอาหารเสริมผ่านสื่อโฆษณาอย่างเดียว แต่ยังขาดข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ และคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญซึ่งจะช่วยให้ผู้บริโภคเข้าใจว่าควรรับประทานอาหารเสริมในปริมาณเท่าใดจึงจะเหมาะสม

ดังนั้น การรับสารแคโรทีนอยด์ผ่านการรับประทานอาหารทั่วไป จึงเป็นทางเลือกที่ดีกว่าการรับสารแคโรทีนอยด์ผ่านอาหารเสริม เพราะนอกเหนือจากสารแคโรทีนอยด์แล้ว คุณยังจะได้รับสารอาหารอื่นๆ ที่หลากหลาย ทั้งวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์อีกมากมายจากอาหารที่รับประทานด้วย


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Vitamin A deficiency. DermNet NZ. (https://dermnetnz.org/topics/vitamin-a-deficiency/)
Vitamin A Deficiency: Background, Pathophysiology, Epidemiology. Medscape. (https://emedicine.medscape.com/article/126004-overview)
Vitamin A deficiency and its consequences. World Health Organization (WHO). (https://www.who.int/nutrition/publications/micronutrients/vitamin_a_deficiency/9241544783/en/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
วิตามินละลายในไขมัน (A, D, E, K)
วิตามินละลายในไขมัน (A, D, E, K)

ทำความรู้จักวิตามินละลายในไขมัน ประกอบไปด้วยวิตามินอะไรบ้าง มีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไร

อ่านเพิ่ม
แตงโมผลไม้ฉ่ำน้ำที่อุดมด้วยวิตามินและแร่ธาตุ
แตงโมผลไม้ฉ่ำน้ำที่อุดมด้วยวิตามินและแร่ธาตุ

หวาน เย็น ชื่นใจ ดีต่อร่างกายแน่ ถ้ารับประทานอย่างเหมาะสม

อ่านเพิ่ม
10 ประโยชน์ของแครอทกับผู้หญิง
10 ประโยชน์ของแครอทกับผู้หญิง

ผักหัวสีส้มรสหวานกรอบอร่อย ยิ่งกิน ยิ่งสวย และสุขภาพดี

อ่านเพิ่ม