โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
ชื่อผู้สนับสนุน
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

ตรวจคัดกรองโรคหลอดเลือดสมองพร้อมโรคสมองเสื่อม หยุดทุกปัญหาความจำก่อนสายเกินแก้

รู้ทัน 3 โรคที่ก่ออาการหลงลืม พร้อมแนะนำแพ็กเกจคัดกรองโรคหลอดเลือดสมองสุดคุ้ม จ่ายแค่ 1 แต่ตรวจถึง 2 โรค
เผยแพร่ครั้งแรก 23 ส.ค. 2021 อัปเดตล่าสุด 23 ส.ค. 2021 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
ตรวจคัดกรองโรคหลอดเลือดสมองพร้อมโรคสมองเสื่อม หยุดทุกปัญหาความจำก่อนสายเกินแก้

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ที่เรียกกันโดยรวมว่า "อาการหลงลืม" ความจริงยังรวมถึงอาการอื่นๆ ด้วย เช่น สับสน ปล่อยตนเองให้อยู่ในสภาพไม่ปลอดภัย มีความทรงจำเก่าๆ ผิดเพี้ยน ไม่สามารถเรียบเรียงความคิดหรือคำพูดออกมาได้
  • โรคที่มักทำให้เกิดอาการหลงลืม ได้แก่ อัลไซเมอร์ หลอดเลือดสมอง สมองเสื่อม ซึ่งไม่จำเป็นว่าจะเกิดกับผู้สูงวัยเท่านั้น
  • เช็กให้ชัวร์ว่าสมองยังทำงานดีอยู่ ด้วยแพ็กเกจตรวจคัดกรองโรคหลอดเลือดสมอง ที่ รพ. บำรุงราษฎร์ ฟรี! แพ็กเกจตรวจคัดกรองโรคสมองเสื่อมมูลค่า 22,000 บาท

เมื่อพูดถึง “อาการหลงลืม” ทุกคนก็คงจะนึกถึงอาการของผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยโรคจิตเวชบางรายที่ไม่อาจนึกออกว่า ตนเองอยากจะพูดอะไรหรืออยากไปที่ไหนกันแน่ แต่ความจริงแล้วอาการหลงลืมเป็นอาการที่พบได้กับคนทุกเพศทุกวัย และยังสามารถเกิดได้จากปัจจัยเล็กๆ เช่น

  • พักผ่อนไม่เพียงพอ
  • เครียดและวิตกกังวล
  • รับประทานอาหารไม่มีประโยชน์และไม่มีวิตามินบำรุงสมองเพียงพอ เช่น วิตามินบี 12
  • บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่อย่างต่อเนื่อง
  • รับประทานยาบางชนิดที่ส่งผลต่อการทำงานของสมอง เช่น ยาต้านฮิสตามีน (Antihistamins) ยาคลายกล้ามเนื้อ (Muscle Relaxants)

อาการหลงลืมไม่ได้มีลักษณะอาการแค่ลืมบางสิ่งหรือเหตุการณ์บางอย่างเท่านั้น แต่ยังมีส่วนทำให้พฤติกรรมและความทรงจำหลายอย่างของผู้ป่วยเปลี่ยนแปลงไป จนส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันหลายอย่าง เช่น

  • สับสน ไม่รู้ว่าตนเองกำลังทำอะไรอยู่ รวมถึงอาจไม่รู้ว่าตนเองอยู่ที่ไหนหรือกำลังเดินทางไปไหน
  • ปล่อยเนื้อปล่อยตัว ไม่ดูแลตนเอง เช่น ไม่อาบน้ำ ไม่แปรงฟัน ไม่กินข้าว ไม่เก็บของให้เข้าที่
  • มักปล่อยให้ตนเองอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่ปลอดภัย เช่น ไม่รัดเข็มขัดขณะขับรถ ไม่เก็บของมีคมให้เข้าที่
  • หลงเชื่อเรื่องบางอย่างที่ไม่เป็นจริง โดยอาจเป็นเรื่องเล่า ตำนานบางอย่างที่ฟังต่อๆ กันมา
  • ความทรงจำเก่าๆ ผิดเพี้ยนไปจากเดิม และฝังใจเชื่อว่าตนเองจำสิ่งนั้นได้อย่างถูกต้องแล้ว
  • ไม่สามารถตอบคำถามบางอย่างได้เนื่องจากคิดคำตอบไม่ออก หรือรู้สึกว่าตอบได้ แต่ไม่สามารถพูดคำตอบออกมาเป็นประโยคได้ตามที่คิดไว้
  • หลงลืมสิ่งของเมื่อต้องหันไปสนใจสิ่งอื่นชั่วคราว เช่น วางกุญแจบ้านไว้บนโต๊ะเพื่อหันไปคุยกับเพื่อนบ้าน แต่เมื่อคุยเสร็จแล้วก็ลืมว่าเอากุญแจไปวางไว้ไหน

3 โรคยอดฮิตที่ทำให้เกิดอาการหลงลืม

เมื่อพูดถึงโรคที่มักทำให้เกิดอาการหลงลืม โรคอัลไซเมอร์ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคสมองเสื่อม จัดเป็นโรคอันดับต้นๆ ที่ทำให้เกิดอาการนี้ขึ้น

1. โรคอัลไซเมอร์

โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer) เป็นโรคที่เกิดจากการเสื่อมตัวของสารโปรตีนในสมองชื่อว่า “เบตา-อะไมลอยด์ (Beta-Amyloid) จนส่งผลให้เซลล์สมองเสื่อมตัวและฝ่อลง ทำให้การทำงานองค์รวมของสมองเสื่อมสภาพ เกิดเป็นการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมต่างๆ เช่น

  • พูดจาวนไปวนมา
  • สับสนเรื่องทิศทาง หลงลืมสถานที่ หรือหาจุดหมายปลายทางไม่เจอ
  • อารมณ์แปรปรวนง่าย จากคนที่เคยเงียบขรึมอาจกลายเป็นคนอารมณ์ฉุนเฉียว
  • มีระบบความคิดไม่อยู่กับโลกของความเป็นจริงคล้ายกับอาการประสาทหลอน เช่น คิดว่าในบ้านมีผี มีขโมยขึ้นบ้าน มีคนจะมาทำร้าย คิดว่าคนรักนอกใจ

โรคอัลไซเมอร์เป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่จะเป็นการรักษาเพื่อประคองอาการให้ทรงตัวอยู่ในระยะควบคุมได้ รวมถึงดูแลสุขภาพจิตผู้ป่วยไม่ให้ย่ำแย่ลง เนื่องจากส่วนมากผู้ป่วยโรคนี้มักโทษตัวเองและรู้สึกไม่ดีที่ไม่สามารถจดจำหรือสื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างคล่องแคล่วดังเดิม

2. โรคหลอดเลือดสมอง

โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) มีสาเหตุหลักมาจาก 2 ความผิดปกติของเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงสมอง ได้แก่

  1. เส้นเลือดสมองตีบ ทำให้เลือดไม่ไปเลี้ยงสมอง
  2. เส้นเลือดสมองแตก ทำให้มีเลือดออกในเนื้อสมอง

จากผลกระทบจากความบกพร่องของเลือดที่ควรจะไปไหลเวียนเลี้ยงสมองให้ทำงานได้อย่างสมบูรณ์ จึงทำให้เกิดความเสียหายต่อเซลล์สมองและทำให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมเปลี่ยนไป รวมถึงประสิทธิภาพความทรงจำลดลง เช่น

  • จำสถานที่หรือบุคคลใกล้ตัวไม่ได้ แม้แต่เวลา วันเดือนปี ก็อาจจำไม่ได้ด้วย
  • เคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างเชื่องช้า เนื่องจากสมองที่เสียหายทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • อารมณ์แปรปรวน ฉุนเฉียวง่าย
  • มีอาการพูดซ้ำๆ ถามคำถามซ้ำๆ และเมื่อถูกถามก็จะไม่สามารถตอบคำถามได้ ต้องทวนคำถามอยู่หลายครั้ง

โรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคที่เกิดได้จากโรคอื่นๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับระบบไหลเวียนเลือดด้วย เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน

นอกจากนี้โรคหลอดเลือดสมองยังส่งต่อกันได้ทางพันธุกรรม ผู้ที่มีพ่อแม่หรือผู้ใกล้ชิดทางสายเลือดเป็นผู้ป่วยโรคเกี่ยวกับระบบไหลเวียนเลือดจะต้องระมัดระวังและหมั่นไปตรวจสุขภาพเพื่อหาความเสี่ยงเกิดโรคหลอดเลือดสมองด้วย

3. โรคสมองเสื่อม

โรคสมองเสื่อม (Dementia) คือ โรคที่เกิดจากภาวะความเสื่อมประสิทธิภาพของอวัยวะสมอง จนทำให้ทักษะการจำ การคิด หรือการสื่อสารต่างๆ ที่จำเป็นต้องอาศัยสมองในการสั่งการลดลง

โรคสมองเสื่อมมักเป็นโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคอื่นๆ มาก่อน เช่น โรคพาร์กินสัน (Parkinson's disease) โรคเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์ ภาวะขาดวิตามิน โรคซิฟิลิส (Syphilis) โรคเอดส์ (Acquired Immune Deficiency Syndrome: AIDS) รวมไปถึงโรคอัลไซเมอร์และโรคหลอดเลือดสมองด้วย

อาการหลงลืมของโรคสมองเสื่อมจะคล้ายคลึงกับอาการหลงลืมของโรคอัลไซเมอร์และโรคหลอดเลือดสมอง เช่น สับสนเรื่องทิศทาง สถานที่ หรือผู้คน หลงลืมเหตุการณ์ที่เพิ่งมาไม่นาน ตอบคำถามได้ยาก คิดคำพูดไม่ออก อารมณ์แปรปรวนง่าย

อาการหลงลืมในระยะเริ่มแรกของโรคสมองเสื่อมมักจะเป็นการหลงลืมสิ่งที่ต้องทำในชีวิตประจำวันเพียงเล็กๆ น้อยๆ เช่น ลืมว่าสิ่งต่อไปที่จะทำคืออะไร หัวข้อสนทนาก่อนหน้านี้คุยเรื่องอะไร จากนั้นอาการจะค่อยๆ รุนแรงกว่าเดิมจนพฤติกรรมเริ่มเปลี่ยนไปมากขึ้น

โอกาสหายขาดของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมจะขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดโรค หากผู้ป่วยเป็นโรคสมองเสื่อมที่เกิดจากความเสียหายของโรคอื่น ก็ต้องรักษาโรคต้นตอให้หายดีเสียก่อน เพื่อจะได้เริ่มกระบวนการรักษาส่วนของโรคสมองเสื่อมได้

สรุปง่ายๆ คือ โรคสมองเสื่อมไม่จำเป็นจะต้องเกิดขึ้นในผู้สูงอายุเท่านั้น หากคุณเป็นผู้ป่วยโรคที่อาจส่งผลให้เกิดโรคสมองเสื่อมในภายหลัง ก็มีโอกาสที่จะเกิดอาการหลงลืมเหมือนผู้สูงอายุได้ไม่ต่างกัน

ตรวจคัดกรองโรคหลอดเลือดสมอง แถมฟรี! ตรวจคัดกรองโรคสมองเสื่อม รีเช็กความสมบูรณ์ของสมองในราคาสุดคุ้มค่า ที่ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ที่เดียว

เพื่อให้ทุกคนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงได้ตรวจเช็กความสมบูรณ์ของสมองกันอย่างถ้วนหน้า แต่อยู่ในราคาที่ย่อมเยาและมีรายการตรวจสมองที่ครอบคลุม ทางโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์จึงขอนำเสนอ แพ็กเกจตรวจคัดกรองโรคหลอดเลือดสมองมูลค่า 25,000 บาท

ความพิเศษของการซื้อแพ็กเกจตรวจคัดกรองโรคหลอดเลือดสมองที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ซึ่งหาจากโรงพยาบาลอื่นไม่ได้ ก็คือ เมื่อตัดสินใจซื้อแพ็กเกจนี้ คุณจะได้รับแพ็กเกจตรวจคัดกรองโรคสมองเสื่อมมูลค่า 22,000 บาท เพิ่มฟรีเข้าไปทันทีด้วย!

เพราะโรคหลอดเลือดสมองนั้นเป็นอีกต้นเหตุที่ทำให้เกิดโรคสมองเสื่อมได้ จนแทบจะเรียกได้ว่า ทั้ง 2 โรคนี้เป็นโรคที่มักจะอยู่ควบคู่กันเสมอเมื่อเกิดโรคใดโรคหนึ่ง

ทางโรงพยาบาลจึงเล็งเห็นความสำคัญในการตรวจทั้งโรคหลอดเลือดสมองและโรคสมองเสื่อมไปพร้อมๆ กัน เพื่อจะได้รู้ทันความเสี่ยงของ 2 โรคนี้ได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องกลับมาตรวจเพิ่มอีกในภายหลังอีกให้เสียเวลา

นอกจากนี้ ทางโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ยังเห็นความสำคัญในทุกๆ ความทรงจำอันแสนล้ำค่าของผู้เข้ารับบริการทุกท่าน ไม่มีใครอยากลืมหน้าหรือชื่อของคนที่ตนเองรัก รวมถึงเหตุการณ์สำคัญในชีวิตที่ยังคงจดจำได้ดี แต่อาจต้องเลือนรางหรือผิดไปจากความเป็นจริง เพราะผลข้างเคียงของโรคร้าย

และความจำที่เป็นเลิศยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการทำงานและเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การดำเนินชีวิตของทุกๆ คนสมบูรณ์แบบได้ ถึงแม้ในปัจจุบันจะมีอุปกรณ์ช่วยเตือนความทรงจำอยู่หลายรูปแบบ แต่ก็ไม่อาจทดแทนการได้จดจำทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวด้วยตนเองได้อย่างแน่นอน

หากคุณเป็นผู้ที่ไม่ต้องการให้ “อาการหลงลืม” เข้ามาเป็นอุปสรรคในทุกจังหวะการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะระหว่างประชุมงาน พูดคุยกับเพื่อนๆ หรือกำลังทำกิจกรรมสนุกๆ กับครอบครัว หรือคุณกำลังกังวลใจว่า ตนเองอาจเป็นผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองหรือโรคสมองเสื่อม

อย่ารอช้าที่จะมารับการตรวจคัดกรองโรคหลอดเลือดสมอง พ่วงด้วยการตรวจคัดกรองโรคสมองเสื่อมโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม ผ่านบริการที่เชี่ยวชาญและพร้อมดูแล จากโรงพยาบาลอันดับหนึ่งของประเทศ ที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์แห่งเดียวเท่านั้น


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
โรงพยาบาลเปาโล, สมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือดสมอง (Vascular Dementia) (https://www.paolohospital.com/th-TH/phahol/Article/Details/บทความ-ระบบประสาทและสมอง/สมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือดสมอง-(Vascular-Dementia)), 14 August 2021.
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์, Brain Health Workup (https://www.bumrungrad.com/th/packages/brain-health-workup), 14 August 2021.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)